เตรียมพิธีเซ่นไหว้ในงานแต่งงาน (baothainguyen) |
ตำบลเหิบเตี๊ยน อ.ด่งที จังหวัดท้ายเงวียนมีประชากรสองในสามเป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆโดยเฉพาะชนเผ่าเย้ากลุ่มเย้าโลยาง แม้จะอาศัยร่วมกับชุมชนของชนเผ่าอื่นๆในท้องถิ่นแต่ชาวเย้าโลยางยังคงสามารถรักษาเอกลักษณ์พื้นเมืองเฉพาะของชนเผ่าตนไว้ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นอันดับแรกคือวัฒนธรรมชุดแต่งกาย โดยชุดแต่งกายที่หลากหลายสีสันอย่างสวยงามของชาวเย้าโลยางได้สะท้อนฝีมือการทอผ้าและการเย็บปักลวดลายต่างๆและยังเป็นการส่งเสริมการถ่ายทอดอาชีพพื้นเมืองนี้ให้แก่ชนรุ่นหลัง โดยสตรีเผ่าเย้าโลยางได้ใส่ชุดประจำชนเผ่าทุกวันและถือเป็นพลังจูงใจให้คนรุ่นใหม่สนใจเรียนรู้การทอผ้าพื้นเมืองที่มีการผสมผสานกับยุคสมัยเพื่อใช้ไม่เพียงแต่ในโอกาสสำคัญต่างๆของชุมชน คุณเจี๋ยวถิถวี ชาวเย้าที่หมู่บ้าน หมอซัด เป็นหนึ่งในผู้ที่ทุ่มเทให้กับงานทอผ้าพื้นเมืองเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์และตอบสนองความต้องการของสตรีในท้องถิ่น โดยแต่ละปีเธอสามารถทำชุดแต่งกายประจำชนเผ่าได้หลายสิบชุด“เมื่อก่อนทุกอย่างใช้มือทำหมดตั้งแต่การตัดเย็บและปักร้อย เมื่อมีเครื่องเย็บผ้าก็จะทำให้ผลงานมีความสวยงามมากขึ้นและใช้เวลาเร็วขึ้น ดิฉันก็อยากให้สตรีของชนเผ่าตนร่วมกันอนุรักษ์เอกลักษณ์ของชนเผ่าผ่านการทอผ้าและตัดชุดลายพื้นเมือง”
นอกจากตระหนักได้ดีถึงการอนุรักษ์เอกลักษณ์ของชุดประจำชนเผ่าแล้ว ชาวเย้าโลยางยังรู้จักการรักษาประเพณีและความเลื่อมใสดั้งเดิมของชนเผ่าตนมาจนถึงทุกวันนี้ โดยนอกจากงานเกิ๊บซักสำหรับผู้ชายแล้ว หลายครอบครัวในหมู่บ้านตำบลต่างๆยังจัดงานแต่งงานให้ลูกหลานตามขั้นตอนประเพณีเดิมคือก่อนอื่นต้องจัดงาน เตอห่ง หรือขบวนรับเจ้าสาวนั้นต้องใช้ปี่ ปีเล และทุกอย่างต้องจัดขึ้นตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนไปจนถึงรุ่งเช้า เพราะตามความเชื่อของชาวเย้า นั่นเป็นช่วงเวลาที่เป็นฤกษ์ดีสำหรับคู่บ่าวสาว นายเจี๋ยวเต๊ยนแถ่ง ชาวเย้าที่หมู่บ้าน หมอซัด เผยว่า แต่ละครอบครัวจะเลือกเวลารับส่งเจ้าสาวตามประเพณี “ต้องเลือกวันเวลาที่เป็นฤกษ์ดีก่อนวันแต่งงานหลายเดือนเพราะแต่ละวันมีช่วงเวลาที่เป็นมงคลแค่3ช่วงเท่านั้น”
เตรียมส่งเจ้าสาวไปบ้านเจ้าบ่าว(baothainguyen) |
จากจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าตน ชาวเย้าโลยางได้รับเกียรติให้เป็นตัวแทนดีเด่นของชนกลุ่มน้อยเผ่าเย้าในจังหวัดท้ายเงวียนเข้าร่วมแสดงในงานมหกรรมวัฒนธรรมชนกลุ่มน้อยเผ่าเย้าทั่วประเทศครั้งแรกที่จัดขึ้น ณ จังหวัดเตวียนกวางเมื่อเดือนกันยายนปี2017
เอกลักษณ์วัฒนธรรมถือมรดกอันศักดิ์สิทธิ์และมีคุณค่าของทุกชนเผ่า ดังนั้นจากความเอาใจใส่ของรัฐในการกำหนดและปฏิบัตินโยบายต่างๆ ชีวิตความเป็นอยู่ทั้งด้านวัตถุและจิตใจของชาวบ้านนับวันได้รับการพัฒนาดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กันนั้นทางการท้องถิ่นยังผลักดันการประชาสัมพันธ์ถึงผู้ใหญ่บ้านและผู้อาวุโสที่ได้รับความนับถือในชุมชนเกี่ยวกับการรณรงค์ให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมที่โดดเด่นของชนเผ่าตนเพื่อให้กลายเป็นแหล่งวัฒนธรรมชนเผ่าเย้าดีเด่นของจังหวัดท้ายเงวียน.