วิหารโหนย |
หมู่บ้านบิ่งด่า ตำบลบิ่งมิง เป็นหมู่บ้านที่มีประวัติเก่าแก่ โดยมีวัด วิหารศาลาประจำหมู่บ้านต่างๆที่ได้รับการก่อสร้างมาตั้งอดีต ซึ่งถูกระบุในหนังสือประวัติศาสตร์ ที่นี่ถูกเรียกว่า แผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์ด้านความเชื่อเนื่องจากเป็นที่ตั้งของวัดพุทธ5แห่งได้แก่ วัดแก๋งถาก วัดเอิม วัดก๋า วัดหงาและวัดบุดหมอกและเป็นสถานที่เก็บรักษาเอกสารของศาสนาคริสต์และลัทธิขงจื๋อ ในหมู่บ้านบิ่งด่า ยังคงเก็บรักษาโบราณวัตถุที่มีอายุกว่า1000ปี เช่น หนังสือเซ่นไหว้ในงานเทศกาลบิ่งด่า คำกลอนคู่ที่เขียนในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์ขายดิ๋งเมื่อปี1919 ระฆังโบราณที่หล่อขึ้นเมื่อปี1007และมีสถาปัตยกรรมต่างๆ เช่น ศิลาจารึกโบราณ สระดอกบัว บ่อน้ำ และสิ่งของที่มีค่าต่างๆ เช่น กลองดงเซินเฮเกอ1 หมู่บ้านบิ่งด่ายังมีโบราณสถานทางประวัติศาสตร์เก่าแก่13แห่งและเป็นหนึ่งในหมู่บ้านเวียดนามที่บูชาเจ้าพ่อหลักเมืองสององค์คือ กษัตริย์หลากลองกวนที่ประดิษฐานที่วิหารโหนยและเจ้าเมืองลิงลางที่ประดิษฐานไว้ที่วิหารหงวาย เมื่อมาเยือนวิหารของหมู่บ้านบิ่งด่า นักท่องเที่ยวจะได้รับฟังตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์หลากลองกวนหรือตำนานของวิหาร วัดและศาลาต่างๆ นาย บุ่ยดังถิง ผู้ดูแลวิหารของหมู่บ้านบิ่งด่าได้เผยว่า “ตามตำนาน หลังจากที่อำลาเจ้าแม่โอวเกอ กษัตริย์หลากลองกวนได้พาลูก50คนไปยังเขตทะเลเพื่อทำการบุกเบิกที่ดิน โดยท่านได้เดินทางไปยังเขตหมู่บ้านบิ่งด่า ตำบลบิ่งมิงหรือหมู่บ้านบ๋าวด่าบ๋าวกื๋วในอดีต หลังจากที่ท่านสวรรคต ชาวบ้านที่นี่ได้ทำการฝังศพท่านบนภูเขาตามทายหรือมีอีกชื่อคือบาก่อ ซึ่งอยู่ห่างจากวิหารบูชาไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ500เมตร เมื่อปี1077 เจ้าชายลิงลาง พระโอรสของกษัตริย์ลี้ท้ายตงมาที่นี่เพื่อรับสมัครทหารและหลังจากที่ท่านพลีชีพเพื่อชาติในการต่อสู้เพื่อขับไล่ศัตรูซุ่ง ราชวงศ์ลี้ก็ได้อสัญเชิญท่านขึ้นเป็นเจ้าเมืองลิงลาง ตั้งแต่วันนั้น ชาวบ้านบิ่งด่าจึงบูชาท่านเป็นเจ้าพ่อหลักเมือง”
ในวิหารโหหย ยังคงเก็บรักษาสิ่งของที่หายาก เช่น หนังสือแต่งตั้งตำแหน่งขุนนาง ระฆัง ศิลาจารึก คำกลอนคู่และเครื่องบูชาในสมัยลี้และเลจุงฮึง โดยเฉพาะ ภาพแกะสลักไม้กษัตริย์หลากลองกวนและบรรดาขุนนางชมการแข่งเรือ ซึ่งถือว่ามีคุณค่าเป็นอย่างมาก เมื่อปี2015 ภาพแกะสลักนี้ได้รับการรับรองเป็นมรดกแห่งชาติ สำหรับความหมายและคุณค่าของภาพแกะสลัก
|
งานเทศกาลบิ่งด่าที่มีขึ้นในวันที่24เดือน2ถึงวันที่6เดือน3ตามจันทรคติมีความผูกพันกับวิหารโหนยและหงวาย โดยเฉพาะวันที่26 เดือน 2 ตามจันทรคติเป็นวันสวรรคตของกษัตริย์ลิงลางด๋ายเวืองและวันที่ 6เดือน3ตามจันทรคติเป็นวันสวรรคตของกษัตริย์หลากลองกวน เมื่อปี ๒๐๑๔ งานเทศกาลบิ่งด่าได้รับการรับรองให้เป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมระดับชาติ นาย ฝามดิ่งฝู่ง ประธานคณะกรรมการประชาชนตำบลบิ่งมิงได้เผยว่า “ ในคืนวันที่5ตามจันทรคติ ผู้สูงอายุในหมู่บ้านทำพิธีเซ่นไหว้ในวิหาร ส่วนในเช้าวันที่6ตามจันทรคติ จะมีการจัดพิธีแห่ขนมแล้วนำไปทิ้งในบ่อน้ำเหงอกเพื่อส่งให้ลูก50คนที่เดินทางไปพร้อม กับกษัตริย์หลากหลองกวนเพื่อบุกเบิกที่ดิน นานมาแล้ว ตระกูลเหงวียนวันได้รับมอบหมายหน้าที่ในการทำขนมบูชา ในบ่ายวันที่5เดือน3ตามจันทรคติทุกๆปี ลูกหลานของตระกูลเหงวียนวันจะเตรียมวัตถุดิบก่อนที่จะทำขนมในวิหาร ซึ่งงานนี้ได้รับการสืบทอดรุ่นสู่รุ่น”
โบราณสถานและวัตถุโบราณต่างๆเป็นความภาคภูมิใจของชาวบ้านบิ่งด่า ดังนั้น ชาวบ้านจึงตระหนักได้ดีเกี่ยวกับการร่วมกันอนุรักษ์และปกป้องคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งลูกหลานของตระกูลในหมู่บ้าน เช่น ฝามดิ่ง เหงวียนวัน เหงวียนหยาน บุ่ยดังและบุ่ยกวางมีความเชื่อมโยงกันเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสังคม มีส่วนร่วมสร้างสรรค์ปิตุภูมิ นาย ฝามดิ่งฝุ่ง ได้เผยต่อไปว่า“ทุกตระกูลต่างก่อสร้างบ้านบูชาตระกูล จัดตั้งกองทุนส่งเสริมการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้ลูกหลานเรียนดี ทุกๆปี จะมีการมอบของขวัญให้แก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดี พวกเรายังจัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมการสร้างฐานะ แม้จะอาศัยและทำงานที่ไหนแต่ชาวบ้านบิ่งด่าต่างกลับบ้านเกิดในงานเทศกาลต่างๆที่จัดขึ้นในวันที่10เดือนอ้ายตามจันทรคติทุกๆปี”
เมื่อเดินทางไปเยือนหมู่บ้านบิ่งด่า นักท่องเที่ยวจะได้รับฟังตำนานเกี่ยวกับประชาชาติเวียดนาม บิ่งด่า ซึ่งเป็นแผ่นดินอันศักสิทธิ์ที่มีความผูกพันกับประวัติศาสตร์แห่งการสร้างสรรค์บ้านเกิด.