ซุ้มประตูหมู่บ้านดาสี
|
หนังสือประวัติศาสตร์ระบุว่า เมื่อก่อนนี้ หมู่บ้านดาสีมีอื่นๆอีกหลายชื่อคือหมู่บ้านแส ดานเค เหวี่ยนเคและดานสีและเปลี่ยนชื่อเป็นดาสีนับตั้งแต่กลางศตวรรษที่18 หมู่บ้านดาสีเริ่มประกอบอาชีพตีเหล็กนับตั้งแต่สมัยราชวงศ์กษัตริย์หุ่งรัชกาลที่18 ในตอนนั้น ชาวบ้านผลิตอาวุธแบบง่ายๆ เช่น หอกและดาบเพื่อใช้สำหรับการปกป้องประเทศและเครื่องมือทำการเกษตร จนถึงต้นศตวรรษที่13 สมัยราชวงศ์เจิ่น ดาสีได้กลายเป็นหมู่บ้านศิลปาชีพตีเหล็กหลังจากที่ท่าน เหงวียนถวดและเหงวียนถ่วนจากเมืองแทงหวามาสอนเทคนิคการตีเหล็กให้แก่ชาวบ้าน
ปัจจุบัน หมู่บ้านดาสีเป็นส่วนหนึ่งของแขวงเกี๊ยนฮึง เขตห่าดง กรุงฮานอย ซึ่งแม้โฉมหน้าของหมู่บ้านได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมากแต่ก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของหมู่บ้านศิลปาชีพโบราณไว้ได้และชาวบ้านดาสียังคงอนุรักษ์อาชีพื้นเมืองของหมู่บ้านตราบเท่าทุกวันนี้ นาย ดิงกงด๊วาน รองหัวหน้าสมาคมหมู่บ้านศิลปาชีพดาสีได้เผยว่า“อาชีพตีเหล็กเป็นอาชีพหลักของครอบครัวในหมู่บ้านประมาณร้อยละ80 ช่างตีเหล็กแต่ละคนและแต่ละครอบครัวต่างมีเทคนิคการตีเหล็กที่แตกต่างกันและแต่ละครอบครัวก็จะผลิตผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งช่างคนใดที่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายหรือสามารถทำตามใบสั่งของลูกค้าก็จะได้รับการยกย่องเป็นช่างฝีมือดี ปัจจุบันนี้ หมู่บ้านมีช่างฝีมือดีประมาณ20คน”
นาย เหงวียนห่งเฟิ้น ช่างฝีมือดีคนหนึ่งและเป็นลูกหลานของครอบครัวที่มี5รุ่นประกอบอาชีพตีเหล็ก |
ผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านดาสีมีความหลากหลายทั้งรูปแบบและประเภท โดยมีคุณภาพดีกว่าผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านต่างๆในเขตที่ราบลุ่มภาคเหนือ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านดาสีจึงขึ้นชื่อในทั่วประเทศและได้รับการส่งออกไปยังต่างประเทศด้วย เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศสและสหรัฐ สมัยก่อน 3ประเทศอินโดจีนได้แก่เวียดนาม ลาวและกัมพูชาก็ใช้ผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านดาสี ชาวบ้านที่นี่มีความภาคภูมิใจเนื่องจากสามารถผลิตมีดที่มีคุณภาพสูง นาย เหงวียนห่งเฟิ้น ช่างฝีมือดีคนหนึ่งและเป็นลูกหลานของครอบครัวที่มี5รุ่นประกอบอาชีพตีเหล็กได้เผยว่า“เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของหมู่บ้านดาสีคือเทคนิคการถลุงเหล็กกล้าและเทคนิคการตีมีด ซึ่งเป็นเคล็ดลับที่แม้จะสอนให้ก็ใช่ว่าจะทำได้ การตีมีดที่มีคุณภาพดีเนื่องมาจากขั้นตอนการถลุงเหล็กกล้า เทคนิคการถลุงเหล็กกล้าได้รับการสืบทอดรุ่นสู่รุ่น ไม่ได้ระบุในหนังสือใดๆ การถลุงเหล็กกล้าต้องใช้แค่1/10วินาทีหรือ10วินาทีเท่านั้น”
เมื่อเดินทางมาเยือนหมู่บ้านดาสี นักท่องเที่ยวมีความประทับใจเป็นอย่างมากเมื่อเห็นภาพลักษณ์ของชาวบ้าน รวมทั้ง ผู้สูงอายุและผู้หญิงที่สามารถปฏิบัติขั้นตอนต่างๆของอาชีพตีเหล็กได้ เสียงค้อน เสียงเครื่องบัดกรีและเสียงพูดคุยของช่างตีเหล็กสามารถช่วยบรรเทาความยากลำบากของอาชีพนี้ได้บ้าง ตามแนวโน้มแห่งการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ทันสมัย ปัจจุบันนี้ มีโรงผลิตในหมู่บ้านหลายแห่งได้ลงทุนซื้อเครื่องจักรมาใช้เพื่อแทนแรงคนและเพื่อเพิ่มผลผลิต ทางการกรุงฮานอยก็ได้วางแผนการเพื่ออนุรักษ์อาชีพตีเหล็ก นาย ดิงกงด๊วาน รองหัวหน้าสมาคมหมู่บ้านศิลปาชีพดาสีได้เผยว่า“พวกเราได้จัดตั้งเขตอุตสาหกรรมของหมู่บ้าน โดยโครงการดังกล่าวได้รับการก่อสร้างในพื้นที่13.2เฮกต้าร์ พวกเรากำลังทำการตรวจสอบเพื่อย้ายครอบครัวที่ประกอบอาชีพไปยังเขตนี้เพื่อลดมลภาวะสิ่งแวดล้อมในเขตชุมชนและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทุกปี พวกเราได้เปิดชั้นอบรมยกระดับทักษะความสามารถในการประกอบอาชีพให้แก่ประชาชน”
หมู่บ้านตีเหล็กดาสีได้รับการรับรองจากสมาคมศิลปาชีพเวียดนามเป็นหนึ่งในหมู่บ้านศิลปาชีพดีเด่นของเวียดนาม ชาวบ้านดาสียังทุ่มเทกับอาชีพพื้นเมืองของหมู่บ้าน โดยทุกวันที่27เดือน3และวันที่25เดือน8ตามจันทรคติในปี ชาวบ้านดาสีจะจัดพิธีสักการะบูชาท่าน เหงวียนถวดและท่านเหงวียนถ่วนเพื่อรำลึกในบุญคุณของสองท่านที่สอนอาชีพตีเหล็กให้แก่หมู่บ้าน.