การร้องเพลงทำนองกวานเหาะบนเรือ |
ท่านกำลังอยู่ในชั้นเรียนดนตรีของนักเรียนป. 2 โรงเรียนประถมศึกษาลิมในอำเภอเตียนยู จังหวัดบั๊กนิงห์ ซึ่งบรรยากาศคึกคักและสนุกสนานมาก นักเรียนตื่นเต้นที่ได้เรียนการร้องเพลงกวานเหาะกับศิลปินที่ใส่ชุดพื้นเมือง “ตื๊อเทิน” และผ้าโพกหัว “หมอกว๋า”
“หนูได้เรียนวิธีการร้องเพลงกวานเหาะ และการแสดง โดยเฉพาะการใช้เสียง”“ถึงแม้ก่อนที่เรียนการร้องเพลงกวานเหาะในโรงเรียน หนูสามารถร้องได้บางบทแต่ก็จำเนื้อร้องได้ไม่หมด เมื่อได้เรียนในโรงเรียน หนูได้เรียนบทเพลงกวานเหาะที่เป็นพื้นฐานและร้องได้หลายบท”
นอกจากเรียนในโรงเรียน เด็กหลายคนยังเข้าร่วมสโมสรร้องเพลงทำนองกวานเหาะที่จัดโดยโรงเรียน โดยไม่เพียงแต่ได้ศึกษาการร้องเพลงกวานเหาะที่มีเนื้อร้องโบราณและร่วมสมัยเท่านั้น หากยังได้เรียนเกี่ยวกับชุดแต่งกายและและมารยาทของนักร้องเพลงกวานเหาะอีกด้วย ซึ่งเป็นวิธีการที่ศิลปินในตำบลลิมได้ปลูกฝังความรักการร้องเพลงพื้นเมืองกวานเหาะให้แก่คนรุ่นใหม่ในท้องถิ่น
"เราอยากสอนให้เด็กๆ มีทักษะความสามารถในการร้องเพลงกวานเหาะเพื่อสืบทอดเพลงพื้นเมืองให้แก่คนรุ่นหลัง เปิดเวทีการแสดง สอนมารยาทและทักษะการใช้ชีวิต”
"เด็กๆ ในวันนี้กำลังเดินต่อจากเส้นทางของรุ่นเรา โดยจะอนุรักษ์วัฒนธรรมกวานเหาะ ซึ่งเป็นมรดกโลกอีกต่อไป เมื่อ 10 ก่อน ฉันเริ่มการสอนการร้องเพลงทำนองกวานเหาะให้แก่เด็กๆ”
ร้องเพลงทำนองกวานเหาะ บั๊กนิงห์ ในกิจกรรมวัฒนธรรมและการเมืองของจังหวัด (VNA) |
การเรียนร้องเพลงกวานเหาะไม่เพียงแต่ช่วยให้เด็กเข้าใจและตระหนักได้ดีเกี่ยวกับคุณค่าของมรดกนี้เท่านั้น หากยังช่วยให้เด็กมีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับความงดงามของชาวบั๊กนิงห์และวัฒนธรรมนี้ ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพ ปลูกฝังความภาคภูมิใจและความรักบ้านเกิด ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2011 ทางการจังหวัดบั๊กนิงห์ได้นำการร้องเพลงทำนองกวานเหาะเข้าบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนต่างๆ และขณะนี้ ทั่วจังหวัด มีสโมสรร้องเพลงกวานเหาะ 610 แห่ง โดยแต่ละโรงเรียนมีอย่างน้อย 1 สโมสร นาง เหงียนถิหงอก รองผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาและฝึกอบรมจังหวัดบั๊กนิงห์ได้กล่าวถึง 5 แนวทางหลักในการส่งเสริมและเผยแพร่การร้องเพลงพื้นเมืองในโรงเรียนว่า “1คือ ต้องปฏิบัติการเรียนการสอนการร้องเพลงทำนองกวานเหาะในโรงเรียนต่างๆ ต่อไป 2 คือ จัดตั้งสโมสรในโรงเรียน จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ 3 คือจัดการประกวดการร้องเพลงกวานเหาะสำหรับนักเรียนเป็นประจำทุกปี 4 คือจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนที่สนับสนุนการสอนการร้องเพลงกวานเหาะ และ 5 คือ ต้องฝึกอบรมครูอาจารย์ให้สามารถสอน อนุรักษ์และเผยแพร่การร้องเพลงนำนองกวานเหาะ”
ผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนาน การร้องเพลงทำนองกวานเหาะได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งวัฒนธรรมของจังหวัดบั๊กนิงห์ ซึ่งการเรียนการสอนในโรงเรียนต่างๆ ไม่เพียงแต่มีส่วนช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมนี้เท่านั้น หากยังช่วยให้คนรุ่นใหม่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับรากเหง้าของประชาชาติ ปลูกฝังจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าอันดีงามของศิลปะนี้.