ศิลปินชาวหนุ่งแสดงเพลงพื้นเมืองในกิจกรรมชุมชน |
ในอดีตการร้อง ก๋อเหลา มีขึ้นพร้อมกับพิธีแต่งงานเพราะเป็นพิธีกรรมที่สำคัญและมีส่วนทำให้งานแต่งงานสนุกสนานอีกด้วย โดยจะร้องเพลงตั้งแต่ช่วงไปรับเจ้าสาวจนกระทั่งการส่งเจ้าสาวไปยังบ้านสามีและถึงวันรุ่งขึ้นเมื่องานเลี้ยงแต่งงานจบลง โดยในระหว่างดำเนินกระบวนการจะมีการหารือและตัดสินใจผ่านการร้องเพลง ก๋อหลา เช่น ครอบครัวเจ้าบ่าวร้องเพลงขอมาต้อนรับเจ้าสาว ร้องเพลงทักทายแขกทั้งสองฝ่ายและร้องเพลงขออนุญาตดำเนินพิธีกรรมต่างๆในงานแต่งงาน เป็นต้น
การร้องเพลงก๋อเหลาแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ร้องเพลงกลางวันและร้องกลางคืน โดยการร้องเพลงในเวลากลางวันมีลักษณะเป็นพิธีกรรมที่ดำเนินการโดยพ่อสื่อแม่สื่อ เพื่อนเจ้าสาวและเจ้าบ่าว ส่วนการร้องเพลงตอนกลางคืนเป็นทำนอเพลงรักสำหรับทุกคน โดยเฉพาะหนุ่มสาวที่เป็นเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาว
นอกจากมีทำนองเนื้อร้องที่มักจะเน้นบรรยายเรื่องความรักของคู่รัก เพลงทำนอง ก๋อเหลายังถือเป็นแนวเพลงให้ความรู้ด้วยเนื้อเพลงที่สอนให้ผู้คนใช้ชีวิตที่ดี มีคุณธรรมมากขึ้นและสอนให้ลูกสะใภ้และลูกเขยให้รู้จักการทำตัวให้ดีในชีวิตคู่ใหม่ คุณ ลัง ถิ บาย จากหมู่บ้าน นาเม ตำบลกว๋างลาก เมืองหลางเซิน ศิลปินร้องเพลงก๋อเหลาในงานแต่งงานของชาวหนุ่งฝ่านสลินห์ กล่าวว่า"ดิฉันยังจำได้ว่าตอนที่เป็นสาวก็มักจะได้เชิญไปเป็นเพื่อนเจ้าสาว ซึ่งในพิธีแต่งงานหนุ่มสาวร้องเพลงโต้ตอบกันทั้งคืน ดังนั้น ใครที่มีความสามารถในการร้องเพลงและพูดเก่งคุยเก่งถึงจะได้รับเชิญไปร่วมงาน"
เพลงก๋อเหลาส่วนใหญ่เขียนในรูปแบบกลอน 5 ถึง 7 คำ โดยมีหลายประโยคที่มีความหมายถูกใช้กันมารุ่นสู่รุ่นและกลายเป็นตัวอย่างให้หนุ่มสาวเผ่าหนุ่งจำประโยคเพื่อนำมาร้อง ในณะเดียวกันเนื่อจากการร้องก๋อเหลาเป็นสไตล์การร้องสด ดังนั้น บางครั้งเนื้อร้องจึงถูกเรียบเรียงเป็นท่อนอิสระที่สะท้อนความสามารถของผู้ร้องในการร้องโต้ตอบ สะท้อนคุณค่าทางศิลปะเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนเผ่าหนุ่ง ศิลปิน หว่าง จอง ในเมืองลางเซิน ผู้ที่มีความรู้และหลงใหลในการค้นคว้าวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวเผ่าไต-หนุ่ง เผยว่า "ในคลังเพลงพื้นบ้านของชนเผ่า การร้องก๋อเหลาเป็นหนึ่งในศิลปะที่สะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมชาวเผ่าหนุ่ง โดยเป็นการร้องที่ไม่ต้องมีดนตรีประกอบและแต่งในลักษณะของกลอน5คำ เป็นเพลงที่ใช้ร้องในงานมงคลสังสรรค์ของหมู่บ้านเท่านั้น"
ปัจจุบัน จังหวัดหลางเซิน กำลังส่งเสริมงานรวบรวม และจัดทำเอกสารบันทึกเนื้อหาร้องของเพลงทำนองก๋อเหลาเพื่อเอื้อให้แก่การอนุรักษ์ในรูปแบบดั้งเดิมและการแสดง มีกลไก นโยบาย และการลงทุนทางการเงินเพื่อจัดตั้งและส่งเสริมกิจกรรมของสโมสรศิลปะและวัฒนธรรมชนเผ่าในหมู่บ้านต่างๆเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างเข้มแข็ง จัดการแข่งขันและการแสดงเพลงพื้นบ้าน เปิดชั้นเรียนสำหรับคนรุ่นใหม่และผู้รักดนตรีพื้นบ้านเพื่อรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย ศิลปินประชาชน เจี๋ยว ถวี เตียน รองประธานสมาคมอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านจังหวัดหลางเซิน กล่าวว่า "ปัจจุบันที่ตำบลกว๋างหลากในตัวเมืองหลางเซิน ชาวบ้านยังคงธำรงพิธีร้องเพลงก๋อเหลาในงานแต่งงานของเผ่าหนุ่งฝ่านสลินห์ เราหวังว่าทางการท้องถิ่นจะมีแผนการส่งเสริมฟื้นฟูเพลงทำนองนี้มากยิ่งขึ้นเพื่อสอนต่อให้คนรุ่นหลังสืบไป"
ในช่วงหลายปีมานี้ การร้องเพลงทำนองก๋อเหลาเริ่มปรากฎในงานชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์หนุ่งในหลางเซินมากขึ้น ซึ่งด้วยความร่วมมือของทางการ หน่วยงานท้องถิ่นและประชาชน วัฒนธรรมพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นนี้จะได้รับการฟื้นฟูและส่งเสริมต่อไป.