( VOVworld)- วันที่ ๓๐ เมษายนเมื่อก่อนหน้านี้ ๓๙ ปี ธงของแนวร่วมปลดปล่อยประชาชาติภาคใต้เวียดนามได้โบกสะบัดบนดาดฟ้าทำเนียบดกเหลิบหรือทำเนียบเอกราช อันเป็นเครื่องหมายบ่งบอกถึงการล่มสลายของระบอบการปกครองที่สหรัฐอเมริกาตั้งขึ้นและเปิดศักราชใหม่แห่งการพัฒนาให้แก่นครไซ่ง่อนในอดีตหรือนครโฮจิมินห์ในปัจจุบัน ปัจจุบัน เมื่อถึงเดือนเมษายนของทุกปี ทำเนียบดกเหลิบหรือทำเนียบเอกราชจะมีคนมาเที่ยวชมอย่างไม่ขาดสายโดยเฉพาะทหารผ่านศึกสงครามต่อต้านอเมริกาเพื่อประจักษ์กับตาตนเองถึงความสำเร็จของนครแห่งนี้นับตั้งแต่วันที่ ๓๐ เมษายนก่อนโน้น
ทำเนียบเอกราชทุกวันนี้
เที่ยงวันหนึ่งเดือนเมษาฯ ดวงอาทิตย์ส่องแสงทั่วลานหญ้าในบริเวณทำเนียบดกเหลิบหรือทำเนียบเอกราช ใต้ร่มไม้ใหญ่มีคนนั่งพักหนีร้อนเต็มไปหมดหลังจากเข้าเที่ยวชมทำเนียบเอกราชหลายชั่วโมง นายเล วัน ถว่า ที่อาศัย ณ จังหวัดบิ่นห์ ดิ่นห์ นั่งเหม่อลอยคนเดียวใต้ร่มไม้ปล่อยภวังค์กลับสู่เวลาเที่ยงวันที่แสงแดดอันเจิดจ้าของวันที่ ๓๐ เมษาฯก่อนโน้น นายถว่าเห็นว่า ช่วงเวลานาทีแห่งประวัติศาสตร์นั้นได้นำประชาชาติเวียดนามไปสู่ความปรองดองและเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้นครโฮจิมินห์พัฒนาอย่างรวดเร็วดังเช่นปัจจุบัน นายถว่ากล่าว “ นครโฮจิมินห์เปลี่ยนแปลงรวดเร็วอย่างไม่เคยมีมาก่อน ไม่เพียงแต่ได้รับการตบแต่งด้วยแสงไฟและดอกไม้เท่านั้น หากบริษัท ห้างร้าน โรงงานและอุโมงคมนาคมได้รับการสร้างขึ้นอย่างมากมาย นับเป็นการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจากฝีมือและสติปัญญาของมนุษย์ นายถว่าเคยเข้าร่วมสงครามปลดปล่อยนครโฮจิมินห์จึงให้ความสนใจต่อการพัฒนาของนครในทุกระยะและติดตามข่าวเกี่ยวกับนครฯเป็นประจำ โดยทราบว่า ช่วงปีค.ศ.๑๙๗๕-๑๙๘๕ ทางนครโฮจิมินห์ได้มีนโยบายอำนวยความสะดวกให้แก่การผลิตและค่อยๆลบล้างระบบการบริหารแบบขุนนาง ตลอดจนสร้างการบริหารแบบใหม่ทำให้คุณภาพชีวิตของชาวนครดีขึ้น ช่วงปีค.ศ.๑๙๘๖-๑๙๙๕ ทางนครฯปฏิบัติแนวทางการเปลี่ยนแปลงใหม่ตามมติของการประชุมใหญ่พรรคสมัยที่ ๖ โดยได้ใช้มาตรการต่างๆแบบบูรณาการ ตั้งแต่ปี ๒๐๐๖ หลังจากที่เวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกหรือ WTO นครโฮจิมินห์สามารถรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและยั่งยืนจนกลายเป็นจุดหมายปลายทางอันดับหนึ่งของนักลงทุนของประเทศ ในระยะพัฒนานครเป็นเวลา ๕ ปีคือช่วงปี ๒๐๐๕-๒๐๑๐ นครโฮจิมินห์ได้พัฒนาเป็นตัวเมืองที่มีอรยธรรมและทันสมัย
เวลา ๑๑.๓๐น.วันที่ ๓๐เมษายน ๑๙๗๕ รถถังของกองทัพเวียดนาม
บุกพังประตูทำเนียบเอกราชเข้าไปข้างใน
ส่วนนายเจิ่น แอง เกียต อาศัยที่จังหวัดด่งนายและกำลังนั่งกับบรรดาอดีตเยาวชนอาสาของจังหวัดด่งนายที่เพิ่งเสร็จการเที่ยวชมทำเนียบเอกราชเล่าว่า ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ นครโฮจิมินห์ได้ประสบความสำเร็จในภารกิจการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่เคยมีมาก่อน นายเกียตเปิดเผยว่า “ แต่ละปีผมมาที่นี่หลายครั้ง แต่ละครั้งที่มาล้วนพบเห็นการเปลี่ยนแปลงนครอย่างรวดเร็ว นครโฮจิมินห์มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเร็วกว่านครหลวงฮานอยและนครดานัง โดยพัฒนาในทุกด้านไม่ว่าจะในด้านยุทธศาสตร์ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งถือเป็นอันดับหนึ่งของประเทศและสมกับสถานะเป็นนครศูนย์กลาง ส่วนในด้านผู้บริหารนั้นได้มีการเสริมสร้างและมีความก้าวหน้ามากกว่าไม่ว่าจะในระดับอำเภอหรือนคร คุณภาพชีวิตของชาวนครฯดีขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทั้งนี้ ทำให้กลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ”
นายเกียตเดินทางระหว่างนครโฮจิมินห์และจังหวัดด่งนายบ่อยมาก ดังนั้นจึงเห็นว่า นครโฮจิมินห์ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างรวดเร็ว โดยในช่วง๕ ปีคือ ตั้งแต่ปี ๒๐๐๕-๒๐๑๐ สามารถก่อสร้างถนนได้อีก ๔ ล้านตารางเมตรซึ่งมีกิจการก่อสร้างสำคัญๆเช่น สะพานฟู้หมี สะพานแหรก เจี๊ยกและ องแหลง ถนนวงแหวนจากเติน เซิน เญิ๊ตถึงบิ่นห์ เหล่ย ทางหลวงฮานอย ถนนสายหลักดงและเตย อุโมงถูเทียมลอดใต้แม่น้ำไซ่ง่อน ตลอดจนโครงการปรับปรุงคลองเญียวหลก-ถิ่แหง่ทะลุตัวเมืองที่มีถนนสองสายที่มีชื่อว่า หว่างซาและเจื่องซา ทั้งนี้ทำให้โฉมของบริเวณพื้นที่กว่า ๓๓ ก.ม.มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ส่งผลให้ชีวิตของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเขต ๗ ของนครดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นายเกียตเห็นว่า ผลสำเร็จดังกล่าวเป็นเครื่องหมายบ่งบอกถึงการพัฒนาของนครแห่งนี้
ตลาดเบ๊นแถ่งนครโฮจิมินห์ทุกวันนี้้
สำหรับบรรดาอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และเทคโนโลยีบิ่นห์ เซืองนั้น การโตวันโตคืนและการเป็นหัวรถไฟในการพัฒนาของทั้งประเทศของนครโฮจิมินห์ได้ส่งผลดีต่อชีวิตของพวกเขาโดยตรง และทางนครฯตั้งเป้าไว้ว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีในระยะปี ๒๐๑๑-๒๐๑๕ จะอยู่ที่ร้อยละ ๑๒ ซึ่งสูงกว่าอัตราการขยายตัวของจังหวัดต่างๆทั้งประเทศ นายเจิ่น วัน เบียน อายุ ๓๐ ปี อาจารย์ของมหาวิทยาลัยฯยืนยันว่า “ สำหรับคนรุ่นใหม่อย่างพวกผม การเปลี่ยนแปลงใหม่ของนครจะเห็นได้ในหลายด้าน หนึ่งคือ โครงสร้างพื้นฐานทางวัตถุที่ทันสมัยกว่าก่อน สองคือในด้านงานทำ คนรุ่นใหม่มีโอกาสหางานทำมากขึ้น สามคือ สามารถตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่ในหลายด้านเช่น รสนิยม การเรียนรู้และการพบปะ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงใหม่นี้จะมีประโยชน์และนำมาซึ่งคุณค่าที่แท้จริงให้แก่ชีวิตของคณรุ่นใหม่ดังเช่นพวกผม ”
ทำเนียบเอกราชในอดีต
เรื่องราวของคนบางคนไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุหรือคนรุ่นใหม่ในเที่ยงวันหนึ่งในเดือนเมษายน ณ ทำเนียบดกเหลิบหรือทำเนียบเอกราชที่มีแสงแดดอันเจิดจ้านั้นไม่อาจบรรยายการพัฒนาของท้องถิ่นหนึ่งตลอด ๓๙ ปีที่ผ่านมาได้หมด โดยเฉพาะนครโฮจิมินห์ที่คล่องตัวที่สุดของประเทศ แต่ทำให้เราเข้าใจว่า การพัฒนาอย่างรวดเร็วดังกล่าวเริ่มต้นจากบริเวณนี้คือทำเนียบเอกราชแห่งประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายนก่อนโน้น ทั้งนี้ได้สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ชาวนครโฮจิมินห์ พวกเขามีความหวังว่า นครโฮจิมินห์จะพัฒนาทัดเทียมกับนครอื่นๆในภูมิภาคในอนาคตอันใกล้ๆนี้ ./.