เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าเออดู (Ơ Đu) ที่จังหวัดเหงะอาน

Chia sẻ
(VOVWORLD) -ในการมาเยือนจังหวัดเหงะอาน นอกจากแหล่งอนุสรณ์สถานเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์แล้วเราอยากพาท่านไปศึกษาเรื่องของชนเผ่าในท้องถิ่น โดยที่เหงะอานมีกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในห้ากลุ่มที่มีประชากรน้อยที่สุดในเวียดนามคือเผ่า เออดู (Ơ Đu) ที่เขตเตืองเยือง เพื่อที่จะรู้ว่าวิถีชีวิตของพวกเขาเป็นอย่างไรและชุมชนเผ่าเออดูนั้นมีประเพณีที่พิเศษน่าสนใจอะไรกันบ้าง

 

  

เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าเออดู (Ơ Đu) ที่จังหวัดเหงะอาน - ảnh 1ชนเผ่าเออดู (Ơ Đu)  

ในครอบครัวใหญ่รวม 54ชนเผ่าของเวียดนามก็มีบางเผ่าที่มีประชากรเพียงไม่กี่ร้อยคนและมีบางชนเผ่าเพิ่งถูกค้นพบเมื่อปี1985 โดยหลายเผ่าอาศัยแต่ในเขตเขาสูงและยังคงรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมเอาไว้อย่างสมบูรณ์รวมทั้งประเพณีวัฒนธรรมที่แปลกใหม่น่าสนใจน่าศึกษา  ในอดีตนั้น เผ่า เออดู (Ơ Đu) เคยมีประวัติการพัฒนาและการดำเนินชีวิตในพื้นที่เดี่ยวที่เปรียบเสมือนเป็นอณาเขตเฉพาะของตนโดยไม่อาศัยร่วมกับชนเผ่าอื่นใด ซึ่งจากเรื่องที่ชาวบ้านเล่าขานกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่านั้นก็มีการสันนิษฐานกันว่า ชนเผ่าเออดู (Ơ Đu)โบราณเป็นชาวรัฐ Bồn Man ซึ่งเป็นรัฐปกครองตนเองที่รวมแขวงเซียงขวาง หัวพันของลาวรวมถึงอำเภอเขตเขาต่างๆทางทิศตะวันตกของจังหวัดเหงะอาน ปัจจุบัน ในช่วงปลายศตวรรษที่14 ชุมชนเผ่า เออดู (Ơ Đu) ได้ผ่านความผันผวนของการปะทะต่างๆที่รุนแรงทำให้สมาชิกเผ่า เออดู (Ơ Đu)ต้องแตกซ่านกระเซ็น ถูกไล่ถูกจับจนเสี่ยงที่จะไม่เหลือใคร ดังนั้นพวกเขาต้องปรับตัวเข้ากับชุมชนเผ่าอื่นๆและงดใช้ภาษาและประเพณีของชนเผ่าตนเพื่อความอยู่รอด ทำให้วิถีชีวิตของเผ่า เออดู (Ơ Đu) ในปัจจุบันได้รับอิทธิพลอย่างเข้มแข็งจากวัฒนธรรมชุมชนของชนเผ่าอื่นๆในพื้นที่เช่นชนเผ่าไทและเผ่าเคอมู้ โดยเมื่อเวลาผ่านไปเนื่องจากไม่ได้ใช้ภาษาของชนเผ่าตนมานานทำให้ต้องสื่อสารด้วยภาษาของเผ่าอื่นและได้มีการปรับปรุงประยุกต์ใช้ภาษาแบบผสมระหว่างภาษาของเผ่าไทและภาษาของเผ่าเคอมู้

ด้วยฐานะที่เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต้องอพยพย้ายถิ่นฐานมากที่สุดของเวียดนาม เอกลักษณ์ของชนเผ่าเออดู (Ơ Đu)ก็ค่อยๆเลือนหายไป โดยเฉพาะการย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่ไปที่หมู่บ้านวังโมน ตำบลงามี อำเภอเตืองเยืองจังหวัดเงะอานเมื่อปี 2006เพื่อมอบพื้นที่ให้แก่โครงการไฟฟ้าพลังน้ำ บ๋านแว๋ แม้ชีวิตจะยังคงมีความยากลำบากต่อไปแต่พลังชีวิตอันแข็งแกร่งในจิตใจของชาวบ้านยังคงได้รับการหล่อเลี้ยงอย่างต่อเนื่อง โดยจากจำนวนประชากรที่เหลือคือ34คนตามข้อมูลการรวบรวมปี1935จนถึงปัจจุบัน จำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเป็น70ครัวเรือน ซึ่งรวมประชาชนประมาณ 400-500คน

เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าเออดู (Ơ Đu) ที่จังหวัดเหงะอาน - ảnh 2ชาวบ้านนำสิ่งของต่างๆที่หายากที่สุดมาถวายเทพเพื่อที่จะได้รับการประทานพร 

สำหรับวิถีชีวิตและสถาปัตยกรรมบ้านเรือนนั้นก็เป็นแบบบ้านไม้ยกพื้นหลังคา4 ส่วน มุงด้วยหญ้าคาหรือไผ่ป่า หน้าบ้านหันเข้าหาภูเขา เสาบ้านมักมี 4-8ต้นเท่ากับบ้านมี 1หรือ3 ห้อง โดยต้องมีเสาหลักและเสารองและมักจะฝังเสาหลักลงก่อนแล้วตามด้วยเสารองต่างๆตามลำดับ ศ.ดั๋งเงวียมหวาน หัวหน้าหน่วยวิจัยวัฒนธรรมของพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามเผยว่าในด้านสถาปัตยกรรมบ้านเรือนของชาวเออดูนั้นก็มีทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่างเมื่อเทียบกับเผ่าอื่นๆซึ่งมีความผูกพันกับความเลื่อมใสคือการตั้งหิ้งบูชา โดยหิ้งบูชาในบ้านเผ่าเออดูจะต่างกับหิ้งบูชาของเผ่าเคอมู้ตรงที่พื้นที่ตั้งและสิ่งของที่วางบนหิ้งบูชา โดยหิ้งบูชาของเผ่าเคอมู้จะถูกตั้งในห้องสุดท้ายที่มีความลับไม่มีใครมองเห็นได้ แต่หิ้งบูชาของเผ่าเออดูกลับตั้งไว้ด้านบนหัวเตียง”

เนื่องจากไม่มีประสบการณ์และความรู้มากเกี่ยวกับธรรมชาติ ดังนั้นชนเผ่าเออดู (Ơ Đu)จะนับปฏิทินตามปรากฎการณ์ธรรมชาติคือนับจากเสียงฟ้าร้องฟ้าผ่าก็จะเป็นการเข้าปีใหม่ ดังนั้นหนึ่งในประเพณีดั้งเดิมที่ชาวเผ่าเออดู (Ơ Đu)ยังคงรักษาไว้ได้คือความเลื่อมใสในการต้อนรับฟ้าร้องฟ้าผ่าเผ่าเออดูไม่ฉลองตรุษเต๊ตเหมือนชนเผ่าอื่น ดังนั้นงานประเพณีรับฟ้าร้องฟ้าผ่าเริ่มฤดูใหม่ถือว่ามีความสำคัญที่สุด โดยชาวบ้านได้มีการคำนวณเพื่อพยากรณ์กันว่าช่วงเวลาไหนมักจะเกิดฟ้าร้องฟ้าผ่าแล้วจะนำของใช้ต่างๆในบ้านเอาไปล้างให้สะอาดเพื่อต้อนรับเสียงฟ้าร้องครั้งแรกของปี เมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้องแล้วก็จะมีการจัดพิธีเซ่นไหว้ขอพรขอบคุณฟ้าดินที่คอยปกป้องทุกคนในครอบครัวและชีวิตของชาวเออดูนั้นขึ้นอยู่กับการปกป้องดูแลของเทพเจ้าเบื้องบน ชาวบ้านจึงนำสิ่งของต่างๆที่หายากที่สุดมาถวายเทพเพื่อที่จะได้รับการประทานพรด้วยการส่งเสียงฟ้าร้องมาบอกสัญญาณให้รู้ว่าปีใหม่ ฤดูกาลใหม่มาถึงแล้ว”

เมื่อมีเสียงฟ้าร้อง ทั้งเด็กๆและผู้สูงอายุต่างพากันมาอาบน้ำที่ลำธารยามรุ่งเช้าเพื่อที่จะได้ รับพรและรับความโชคดีในปีใหม่ที่เวียนมา./.

Feedback