พิณติ๋ง เครื่องดนตรีพื้นเมืองของชนเผ่าไตในจังหวัดกว๋างนินห์

Thu Hằng
Chia sẻ
 (VOVWORLD) -ชีวิตวัฒนธรรมสังคมของชุมชนเผ่าไตในจังหวัดกว๋างนินห์นั้นมีความหลากหลายและมีเอกลักษณ์เฉพาะซึ่งสะท้อนให้เห็นผ่านการจัดกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีที่น่าสนใจต่างๆเช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ เทศกาลโหล่งโต่ง เทศกาลขอพรปีใหม่ การแสดงเพลงพื้นเมืองอย่างเพลงทำนองเหลือน โพงสะลือ เหลือนแทน เป็นต้น ซึ่งเป็นการร้องเพลงโต้ตอบเพื่อสานสัมพันธ์และสร้างความรักระหว่างหนุ่มสาวและได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในหลายท้องถิ่น แต่สิ่งหนึ่งที่ถือว่าสร้างเป็นเอกลักษณ์ในลีลาเพลงพื้นเมืองของชนเผ่าไตคือพิณติ๋ง ซึ่งถือเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษ์ในชีวิตจิตใจของชุมชน
พิณติ๋ง เครื่องดนตรีพื้นเมืองของชนเผ่าไตในจังหวัดกว๋างนินห์ - ảnh 1นักเรียนโรงเรียนประถม Hoành Mô อำเภอบิ่งห์เลียวฝึกเล่นพิณติ๋ง (baoquangninh.com.vn

อำเภอบิ่งเลียวในเขตเขาของจังหวัดกว๋างนินห์เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นท้องถิ่นที่มีทัศนียภาพที่สวยงามพร้อมบรรยากาศที่แสนโรแมนติกของลีลาเพลงพื้นเมืองแทนและอาชีพทำพิณติ๋งของเผ่าไต นายโตแองเหียว รองผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบิ่งเลี้ยงเผยว่า"เมื่อพูดถึงชนเผ่าไตทุกคนก็นึกถึงเพลงพื้นเมืองทำนองแทนและพิณติ๋ง เมื่อก่อนนี้การร้องเพลงทำนองแทนนั้นจะใช้แต่ในพิธีกรรมต่างๆ ต่อมาเมื่อชีวิตสังคมพัฒนาเพลงทำนองแทนก็ได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตยุคใหม่และนี่เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของพี่น้องชนกลุ่มน้อยเผ่าไตและของชาวอำเภอบิ่งเลียวด้วย"

พิณติ๋งมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่มีไครรู้ รู้แต่ว่ามีตำนานที่ชาวบ้านได้เล่าขานกันเกี่ยวกับดนตรีชนิดนี้คือ ในอดีตมีหนุ่มที่แข็งแรงผู้หนึ่งชื่อ เซียนเกิ่น ที่มีความสามารถในการเล่นดนตรีและร้องเพลงพื้นเมือง แต่เนื่องด้วยมีฐานะยากจนและแข็งแรงมากจนต้องกินข้าวเยอะเลยทำให้ไม่มีสาวคนไหนสนใจ เขาจึงเอาหินมาสร้างเป็นบันไดขึ้นไปถาม แหมะฮวา บนฟ้า ท่านจึงประทานพิณติ๋ง7สายที่ทำจากเส้นผม7เส้นของนางฟ้าให้ เมื่อหนุ่มเซียนเกิ่นบรรเลงเพลงขึ้นก็มีปราสาทที่ใหญ่โตสวยงามปรากฎขึ้นพร้อมข้าวของเงินทองเต็มบ้านและสาวสวยหนึ่งคนมาเป็นภรรยา แต่เสียงพิณของนายเซียนเกิ่นนั้นเหมือนมีมนต์เสน่ห์เร้าใจมากทำให้ชาวบ้านมัวแต่ดื่มด่ำในเสียงพิณจนละเลยการทำงาน ซึ่งเมื่อรู้ข่าว แหมะฮวา ได้เสด็จลงมาแล้วเปลี่ยนสายพิณที่เคยใช้เส้นผมของนางฟ้าเป็นเส้นไหม3เส้นที่เป็นสัญลักษณ์ให้แก่ความเจริญสวยงามของประเทศ ความเข้มแข็งในการรักษาชาติและความรักระหว่างหนุ่มสาว ซึ่งถือเป็นตำนานความเป็นมาของพิณติ๋งสามสายในปัจจุบัน แม้จะมีแค่สามสายแต่พิณติ๋งยังคงเป็นเครื่องดนตรีที่สร้างลีลาอันไพเราะมากและเข้ากับการร้องเพลงทำนองแทนได้ดีช่วยให้เพลงพื้นเมืองของเผ่าไตมีเอกลักษณ์เพียงหนึ่งเดียว ศิลปินพื้นเมืองเวียดนาม เลืองเทียมฟู้ หัวหน้าสโมสรเพลงแทนและพิณติ๋งของอำเภอบิ่งเลียว จังหวัดกว๋างนิงห์เผยว่า"เมื่อก่อนเราก็ร้องเพลงแทนได้แต่หลงไหลกับเสียงพิณติ๋งมากกว่าจึงศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเครื่องดนตรีนี้และพยายามฟื้นฟูพิณติ๋งโบราณ แม้จะอายุมากแล้วแต่ผมก็จะพยายามทำงานที่ชอบนี้ต่อไปอีกทั้งยังสามารถมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมของพี่น้องเผ่าไตได้ด้วย"

พิณติ๋ง เครื่องดนตรีพื้นเมืองของชนเผ่าไตในจังหวัดกว๋างนินห์ - ảnh 2การแสดงพิธีกรรม แทนโบราณ มรดกวัฒนธรรมนามธรรมแห่งชาติ 

(Nguyễn Trung Hà – Tạp chí du lịch) 

 พิณติ๋งมักจะมีความยาว117เซนติเมตร ส่วนตัวพิณกว้าง16เซนติเมตร ซึ่งส่วนประกอบสำคัญที่สุดของพิณติ๋งคือตัวพิณเพราะต้องหาลูกน้ำเต้าที่มีรูปทรงกลมที่สมบูรณ์เปลือกไม่มีตำหนิและมีขนาดพอดีคือมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๐เซนติเมตร เมื่อตัดลูกน้ำเต้าสดมาต้องแช่น้ำประมาณ๘-๑๐ วันเพื่อให้เนื้อในเน่า ล้างให้สะอาดแล้วนำไปตากแห้ง ต่อจากนั้นก็ผ่าออก1ใน 3 เพื่อปิดแผ่นไม้เป็นหน้าพิณ ส่วนเพื่อให้ได้เสียงดังกังวาลและไพเราะต้องเลือกผลแก่และต้องใช้หนังงูใหญ่ปิดหน้าพิณแต่เนื่องจากเป็นวัสดุที่หายากชาวบ้านจึงคิดค้นใช้กาบหมากและกระดาษชนิดพิเศษที่มีความยืดหยุ่นมาใช้แทน

ด้วยความประสงค์ที่จะทำให้เสียงพิณติ่งเสียงเพลงพื้นเมืองทำนองแทนเข้าถึงชุมชนอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ศิลปินพื้นเมืองเวียดนาม เลืองเทียมฟู้ หัวหน้าสโมสรเพลงแทนและพิณติ๋งของอำเภอบิ่งเลียว จังหวัดกว๋างนิงห์ได้จัดกิจกรรมร้องเพลงแทนและฝึกเล่นพิณติ๋งให้แก่เด็กๆในชุมชนของตนในช่วงวันสุดสัปดาห์ และจากเอกลักษณ์เฉพาะที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมพื้นเมือง พิธีกรรมเกี่ยวกับเพลงแทนได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมแห่งชาติและได้มีการประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินยอดเยี่ยมและศิลปินวัฒนธรรมพื้นเมืองของเวียดนามให้แก่ศิลปินที่ทุ่มเทให้กับเพลงทำนองแทนและพิณติ๋งหลายคน ./.

Feedback