สีสันตรุษเต๊ตของชนกลุ่มน้อยต่างๆในเขตเขาของเวียดนาม

Thu Hằng/VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) -เวียดนามมี54ชนเผ่าพี่น้องที่อาศัยร่วมกันในท้องถิ่นต่างๆ แม้แต่ละชนเผ่าจะมีประเพณี ภาษา เครื่องแต่งกาย วิถีชีวิตและวัฒนธรรมอาหารการกิน ตลอดจนกิจกรรมต้อนรับปีใหม่ที่ไม่เหมือนกันแต่ก็ล้วนมีความหลากหลายและมีความหมายที่ดีงามซึ่งได้รับการสืบสานและปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่นด้วยความเป็นเอกลักษณ์ที่สมบูรณ์
สีสันตรุษเต๊ตของชนกลุ่มน้อยต่างๆในเขตเขาของเวียดนาม  - ảnh 1สตรีเผ่าลาหูเตรียมชุดเที่ยวงานปีใหม่ 

ท้องถิ่นเขตเขาทางภาคเหนือของประเทศเป็นถิ่นอาศัยของชนกลุ่มน้อยหลายเผ่าเช่น เหมื่อง ไต เย้า ไท มาแต่เนิ่นนาน โดยแต่ละชนเผ่าจะมีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ที่สะท้อนผ่านวิถีชีวิตประจำวันโดยเฉพาะการฉลองตรุษเต๊ตตามจันทรคติ ซึ่งถือเป็นการเติมแต่งสีสันให้แก่คลังวัฒนธรรมหลากหลายของพี่น้องชนกลุ่มน้อยในเวียดนาม

ชุมชนเผ่าลาหูซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในอำเภอเหมื่องแต่จังหวัดลายโจว์เพียงที่เดียวนั้นมีประชากรประมาณหมื่นคน โดยพวกเขามักจะจัดงานฉลองปีใหม่จันทรคติในช่วงปลายเดือน12และจะเลือกวันจัดงานรับปีใหม่ตามวันเวลาที่เป็นกฤษ์ดีสำหรับเจ้าของบ้าน นายฝ่านฟูโล ชาวบ้านเตินเบียน เผยว่า "ตามตำนานที่ชุมชนเผ่าลาหูได้เล่าขานและสานต่อกันมานั้น ตรุษเต๊ตประเพณีของชนเผ่าลาหูอาจจะจัดขึ้นนานเป็นเดือน โดยแต่ละหมู่บ้านชุมชนจะผลัดเปลี่ยนกันจัดเพื่อเป็นโอกาสไปมาเยี่ยมเยือนและอวยพรกัน เมื่อถึงตรุษเต๊ต ชาวลาหูจะเตรียมของขวัญตรุษเต๊ตเพื่อมอบให้แก่กันและอวยพรให้ประสบแต่สิ่งที่ดีในปีใหม่"

ก่อนตรุษเต๊ต ชาวลาหู จะจัดการห่อขนมแบ๊งจึงโดยแบ๊งจึงของชาวลาหูเป็นรูปทรงกระบอกเหมือนแบ๊งแต๊ตของคนภาคใต้ เมื่อต้มสุกก็แจกให้เด็กถือไปเที่ยวเล่นในช่วงตรุษเต๊ตปีใหม่ด้วยความเชื่อว่า ปีใหม่ที่มาชีวิตจะมีความอิ่มหนำผาสุก

ส่วนชาวเผ่าไย้ จะมีการจัดงานเทศกาลตามประเพณีของชนเผ่าตนมากที่สุดในปีแต่งานเทศกาลเต๊ตรับปีใหม่ที่เผ่าไย้เรียกว่า "เซียงล้าว" ความหมายคืองานใหญ่ก็ถือเป็นตรุษเต๊ตที่สำคัญที่สุดของปี เป็นวันชุมนุมของครอบครัวและเป็นโอกาสพักผ่อนหลังจากที่ต้องทำงานมาเหน็ดเหนื่อยทั้งปี สิ่งที่พิเศษของงานต้อนรับปีใหม่ประเพณีของเผ่าไย้คือชาวบ้านจะทำอาหารพิเศษหลายอย่างโดยเฉพาะขนมกู่ ขนมกาย ข้าวเหนียวสีม่วง เคาหยูก(Khau nhuc)เป็นต้น  นาง หลุกถิหญิน ชาวตำบลต๋าเฝ่ย นครลาวกาย เผยว่า ขนมแบ๊งจึงหรือข้าวต้มมัดของเผ่าไย้นั้นมีลักษณะเป็นขนมที่มีรูปร่างเหมือนสะพานโค้ง ซึ่งยิ่งห่อให้ดูสมดูลเท่ากันก็ยิ่งสวย"ในวันตรุษเต๊ต แบ๊งจึง แบ๊งกู่เป็นสิ่งที่ขาดมิได้ โดยเราจะทำขนมแบบนี้สองครั้งต่อปีคือช่วงก่อนตรุษเต๊ตและหลังตรุษเต๊ต โดยเฉพาะในงานปิดท้ายปีใหม่เราจะมัดขนม3อันไว้ด้วยกันเพื่อนำไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษ"

สีสันตรุษเต๊ตของชนกลุ่มน้อยต่างๆในเขตเขาของเวียดนาม  - ảnh 2 นาง หลุกถิหญิน ชาวตำบลต๋าเฝ่ย นครลาวกาย เผยว่า ขนมแบ๊งจึงหรือข้าวต้มมัดของเผ่าไย้นั้นมีลักษณะเป็นขนมที่มีรูปร่างเหมือนสะพานโค้ง 

สำหรับพี่น้องชนเผ่าต่างๆในเขตภาคกลางและเตยเงวียนประเพณีการต้อนรับปีใหม่ตามจันทรคติก็มีความหลากหลายน่าสนใจโดยชาวเผ่าแหยเจียงที่อาศัยส่วนใหญ่ในจังหวัดกว๋างนามและกอนตุมได้เรียกตรุษเต๊ตปีใหม่ว่า "จาจ๋า" ซึ่งหมายถึงการกินถ่าน เพราะตามความเชื่อของเผ่าเเหยเจียงในช่วงฉลองตรุษเต๊ตถ้าผู้ใดเปื้อนขี้เถ้าไปทั้งตัวก็ยิ่งโชคดีปีใหม่และทำมาค้าขึ้น โดยก่อนถึงวันฉลองตรุษเต๊ต3วัน จะมีการมอบหน้าที่ให้ชายหนุ่มที่แข็งแรงของหมู่บ้านเข้าป่าหาฟืนแล้วเผาเป็นกองถ่านใหญ่และนำกลับหมู่บ้าน ส่วนคนในหมู่บ้านจะนึ่งข้าวเหนียวแล้วปะบนต้นไม้แห้งแล้วก็เผาเป็นถ่านไม้เช่นกัน หลังจากนั้นก็จะนำถ่านไม้สองประเภทนี้ผสมเข้ากันแล้วโยนขึ้นฟ้า ถ้าใครโดนขี้เถ้าถ่านมากที่สุดก็ถือว่าโชคดี 

ส่วนชนเผ่า Hre ที่อาศัยในอำเภอเซินฮ่า บาเตอและมินห์ลองของจังหวัดกว๋างหงาย ตรุษเต๊ตประเพณีจะจัดยาวเป็นเวลาหลายเดือน ดังนั้นชาวบ้านต้องเตรียมขนม เหล้าให้พอและควายหลายตัวสำหรับงานเซ่นไหว้ประจำหมู่บ้าน โดยพวกเขาถือว่า ควายเป็นสัตว์เลี้ยงที่ช่วยมนุษย์ทำงานหนักได้มากดังนั้นงานเซ่นไหว้ควายจึงมีความสำคัญมาก

ปัจจุบันเมื่อสังคมพัฒนา รูปแบบและประเพณีการต้อนรับปีใหม่ที่ล้าสมัยของชนเผ่าต่างๆก็ลดน้อยลงโดยมีการปฏิบัติกิจกรรมสังสรรค์ที่เป็นประโยชน์เพื่อชุมชนแทนแต่ก็ยังคงรักษาไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชนเผ่าอย่างโดดเด่น ดร.เจิ่นฮิวเซิน อดีตหัวหน้าสถาบันวิจัยวัฒนธรรมพื้นเมืองเผยว่า "ปัจจุบันนี้ ชนกลุ่มน้อยต่างๆได้รู้จักเปลี่ยนแปลงการจัดงานตามประเพณีให้สอดคล้องกับยุคสมัยแต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ อย่างในอดีตนั้นช่วงวันแรกของปีใหม่จะมีข้อห้ามหลายข้อเช่น ในวันตรุษเต๊ตจะห้ามคนเข้าบ้านทั้งวันแต่เดี๋ยวนี้หลายชนเผ่าได้ปฏิบัติข้อห้ามนี้แค่ในตอนเช้าและเปิดบ้านรับแขกมาเยี่ยมตั้งแต่เที่ยงวัน  หรือข้อห้ามสตรีเข้าบ้านเป็นคนแรกในวันขึ้นปีใหม่แต่ปัจจุบันเจ้าของบ้านเป็นผู้ปฏิบัติพิธีเข้าบ้านเอาฤกษ์เองแล้วหลังจากนั้นแขกที่มาเยี่ยมบ้านจะเป็นหญิงหรือชายก็เข้าได้ ซึ่งเป็นอันว่าพวกเขาได้มีการปรับปรุงเพื่อให้บรรยากาศของการฉลองปีใหม่มีความอบอุ่นและสิ่งที่เหมือนกันทุกชนเผ่าคือวันตรุษเต๊ตเป็นวันชุมนุมสังสรรค์ที่สนุกสนานชื่นมื่นของครอบครัวของเพื่อนบ้านและของทั้งชุมชน"./.

Feedback