ถ่าวทิจั๊ว ผู้รักษาวัฒนธรรมชนเผ่าม้ง

Chia sẻ

(VOVworld)-ที่อ.แหม่วหวากจ.ห่ายาง มีสตรีชนเผ่าม้งคนหนึ่งที่ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจและทรัพย์สินเงินทองเพื่ออนุรักษ์สิ่งของวัตถุต่างๆรวมทั้งวัฒนธรรมพื้นบ้านของชนเผ่าม้งที่จางหายไปและเครื่องดนตรีที่ถือเป็นมรดกของชาวม้ง



(VOVworld)-ที่อ.แหม่วหวากจ.ห่ายาง มีสตรีชนเผ่าม้งคนหนึ่งที่ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจและทรัพย์สินเงินทองเพื่ออนุรักษ์สิ่งของวัตถุต่างๆรวมทั้งวัฒนธรรมพื้นบ้านของชนเผ่าม้งที่จางหายไปและเครื่องดนตรีที่ถือเป็นมรดกของชาวม้ง

ถ่าวทิจั๊ว ผู้รักษาวัฒนธรรมชนเผ่าม้ง - ảnh 1
ความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของนางถ่าวทิจั๊วคือต้องพยายามไม่ให้เอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นบ้านของชนเผ่าม้งหายไปกับกระแสการพัฒนาของยุคสมัย(photo Hong nhat)

นางถ่าวทิจั๊ว คือบุคคลที่เราจะกล่าวถึง โดยสิ่งของที่เธอได้นำมามอบให้แก่หมู่บ้านวัฒนธรรมชนเผ่าต่างๆของเวียดนามที่เขตด่งโมเซินเตย กรุงฮานอยเพื่อเผยแพร่ให้ผู้ที่มาเที่ยวได้รู้จักวัฒนธรรมของชนเผ่าม้งไม่ว่าจะเป็นไหเงินหม้อเงินโบราณไปจนถึงเครื่องใช้ธรรมดาเช่นถ้วยชามก็ล้วนเป็นสิ่งของที่เธอต้องแลกด้วยเงินทองและหยาดเหงื่อเธอเล่าว่า“สำหรับคนเรานั้นเมื่อถึงเวลาก็ต้องจากโลกนี้ไปแต่สิ่งของจะคงอยู่ต่อไป ซึ่งดิฉันคิดว่า หากร่างกายยังมีความแข็งแรงก็จะพยายามเก็บรักษาและมอบให้ทางพิพิธภัณฑ์อนุรักษ์ให้แก่ชนรุ่นหลังสืบไปเพื่อให้ทุกคนรู้จักรากเง่าของชนเผ่าตนได้อย่างสมบูรณ์

จากความภาคภูมิใจและหวงแหนเกียรติประวัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชนเผ่าม้ง นางถ่าวทิจั๊ว ได้เดินทางไปทุกหมู่บ้านทั้งใกล้และไกลเพื่อสืบหาและสะสมข้าวของเครื่องใช้ของชาวม้งโบราณ เมื่อรู้ว่าบ้านไหนมีของน่าสนใจก็จะมาสอบถามและขอของไป ถ้าเป็นของที่มีค่าหน่อยก็ขอซื้อจนชื่อของเธอเป็นที่คุ้นเคยกับชาวม้งที่อ.เขตเขาแหม่วหวาก“ดิฉันไปหาของเก่าทุกวัน รู้จักคนทั้งอ.แล้ว ซึ่งหลายคนบอกว่าเก็บอะไรไม่เก็บ เก็บแต่ของที่ใช้ไม่ได้แล้ว แต่ดิฉันเองชอบทุกชิ้น ทั้งถ้วยไม้ ครกตำพริกหรือแคนและปี่ที่เป็นของโบราณ
ถ่าวทิจั๊ว ผู้รักษาวัฒนธรรมชนเผ่าม้ง - ảnh 2
นางถ่าวทิจั๊วแนะนำวัฒนธรรมของชนเผ่าม้งให้นักท่องเที่ยว(photo Minh Anh)

นอกจากสะสมเครื่องใช้ต่างๆแล้ว นางถ่าวทิจั๊วยังชอบสะสมแคนด้วย โดยเมื่อหาแคนเก่าๆได้สักอันก็ทะนุถนอมอย่างดี เมื่อมีแขกสำคัญที่มาเยี่ยมบ้านเธอถึงจะเอามาอวดให้ชมเท่านั้น เธอบอกว่านี่เป็นของที่มีความสำคัญของชาวม้ง เป็นสายใยเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกแห่งจิตวิญญาณ“แคนเป็นเครื่องดนตรีที่ขาดไม่ได้ในชีวิตของชนเผ่าม้ง แม้จะเป็นงานมงคลรื่นเริงหรืองานที่เศร้าโศก เสียงแคนก็จะดังขึ้นตามบรรยากาศของงาน

ถึงแม้จะมีความผูกพันธ์กับชีวิตมาอย่างต่อเนื่องแต่ปัจจุบันนี้ชาวม้งรุ่นใหม่ไม่ค่อยรู้จักการเป่าแคนรำแคนจนทำให้เสียงแคนเริ่มเลือนลางไปในงานสำคัญของหมู่บ้าน ซึ่งนี่ก็เป็นสาเหตุที่นางถ่าวทิจั๊วได้เปิดสอนการเป่าแคนให้แก่เยาวชนเผ่าม้งเพื่อให้พวกเขามีความหลงไหลในศิลปะที่โดดเด่นนี้ ช่วยให้ลีลาการรำแคนได้รับการสืบสานต่อไป“ตอนแรกไม่มีใครเห็นด้วยและสนับสนุนในสิ่งที่ดิฉันพยายามทำเพราะหลายคนบอกว่าไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่ดิฉันบอกว่าหากเราสอนให้เด็กๆรู้จักวัฒนธรรมแคนของชนเผ่า พวกเขาก็จะนำวัฒนธรรมนี้ไปเผยแพร่ในท้องถิ่นต่างๆและควรอำนวยความสะดวกและลงทุนให้เยาวชนที่ตั้งใจเรียนได้ไปศึกษาเพื่อกลับมาสอนให้แก่เด็กๆรุ่นต่อไป

ในตลอดเกือบ10ปีที่ทุ่มเทให้กับการสะสมของเก่าและเปิดสอนศิลปะการรำแคน นางถ่าวทิจั๊วยังเปิดสอนให้สตรีรุ่นใหม่ในหมู่บ้านรู้จักการปลูกต้นลินินที่ใช้ทอผ้าพื้นเมืองเพื่อตัดชุดประจำชนเผ่า ซึ่งได้ช่วยให้สตรีชนเผ่าม้งจำนวนมากรู้สึกรักงานทอผ้าพื้นเมืองเพื่อตัดชุดให้แก่ตัวเอง โดยความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของนางถ่าวทิจั๊วคือต้องพยายามไม่ให้เอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นบ้านของชนเผ่าม้งหายไปกับกระแสการพัฒนาของยุคสมัย ช่วยให้ลูกหลานของชนเผ่าม้งรู้จักรากเง่าและเกียรติประวัติของชนเผ่าตน ซึ่งแค่นี้ก็ทำให้เธอมีความสุขที่สุดแล้ว./.

Feedback