(VOVWorld)-ปี๒๐๑๖ จังหวัดบั๊กก๋านได้ตั้งเป้าไว้ว่า จะมีตำบล๔แห่งที่ได้มาตรฐานชนบทใหม่ได้แก่ ตำบลเกิ๋มหย่าง กวนบิ่ง อำเภอแบกทงและกาวจิ๋ อำเภอบาเบ๋และตำบลเกื่องเหลย อำเภอนาหรี่ เพื่อปฏิบัติเป้าหมายดังกล่าว ท้องถิ่นต่างๆกำลังเน้นก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาการผลิตควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อเปลี่ยนโฉมใหม่ให้แก่ตำบลเขตเขา
ในช่วงปี๒๐๑๒-๒๐๑๕ ตำบลกวนบิ่งได้ส่งเสริมให้ประชาชนบริจาคที่ดินกว่า๒๒๐๐ตารางเมตรให้แก่การก่อสร้างถนน
|
ปัจจุบัน จังหวัดบั๊กก๋านกำลังเพิ่มความหลากหลายของแหล่งพลังต่างๆ ผสานการปฏิบัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติ โครงการช่วยเหลือของรัฐบาล ระดมแหล่งพลังต่างๆของท้องถิ่นอย่างเต็มที่ ในหลายปีที่ผ่านมา จากการผสานโครงการเป้าหมายแห่งชาติกับโครงการต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ ตำบลกวนบิ่ง อำเภอแบกทงได้เน้นลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาระบบชลประทาน กิจการวัฒนธรรมและโรงเรียนต่างๆเป็นต้น จนถึงขณะนี้ ทางตำบลฯได้บรรลุ๑๕มาตรฐานจากทั้งหมด๑๙มาตรฐานในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ในช่วงปี๒๐๑๒-๒๐๑๕ ตำบลกวนบิ่งได้รณรงค์ให้ประชาชนบริจาคที่ดินกว่า๒๒๐๐ตารางเมตรเพื่อการก่อสร้างถนน พัฒนาระบบชลประทานและบ้านวัฒนธรรม เป็นต้น ในการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมและการแก้ปัญหาความยากจน ประชาชนในตำบลกวนบิ่งได้เป็นฝ่ายรุกในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพันธุ์พืช การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการผลิต ในเวลาที่ผ่านมา ทางตำบลฯได้ปฏิบัติรูปแบบการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์รวม๒๐รูปแบบ ผลักดันการฝึกสอนอาชีพและการแก้ไขปัญหางานทำ อำนวยความสะดวกเพื่อให้ครอบครัวเกษตรกรกู้เงินเพื่อขยายการผลิต ซึ่งมีส่วนร่วมเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร นาย ลี้ท้ายหาย ประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดบั๊กก๋านได้เผยว่า จังหวัดบั๊กก๋านได้เป็นฝ่ายรุกในการปฏิบัติมาตรฐานต่างๆของโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่อย่างคล่องตัวและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริง
“พวกเราได้ปฏิบัติมาตรฐานต่างๆของรัฐบาลอย่างคล่องตัวและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงในท้องถิ่น โดยการก่อสร้างถนนคอนกรีตต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและสถานการณ์ที่เป็นจริงของท้องถิ่น สิ่งที่พวกเราให้ความสนใจที่สุดคือ ต้องช่วยเหลือในการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน”
จังหวัดบั๊กก๋านได้ปฏิบัติรูปแบบการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์๕๓รูปแบบ เช่น การเลี้ยงไก่บนเนินเขา การเลี้ยงควาย หมูและแพะ การปลูกต้นส้ม เป็นต้น
|
ในด้านการพัฒนาการผลิตและการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน จังหวัดบั๊กก๋านได้เน้นถึงการปรับเปลี่ยนอาชีพ ปรับปรุงวิธีการผลิต โครงสร้างพันธุ์พืชและสัตว์เพื่อมีส่วนร่วมยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ในตลอด๕ปีที่ผ่ามา จากแหล่งเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา จังหวัดบั๊กก๋านได้ปฏิบัติรูปแบบการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์๕๓รูปแบบ เช่น การเลี้ยงไก่บนเนินเขา การเลี้ยงควาย หมูและแพะ การปลูกส้ม เป็นต้น ซึ่งรูปแบบดังกล่าวได้สร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงและกำลังได้รับการขยายผล ตำบลบางแห่งได้สร้างเขตผลิตการเกษตรในเชิงสินค้า นาย มาวันเกือง หมู่บ้านหน่าทอย ตำบลกวางถวน อำเภอแบกทง ซึ่งเป็นพื้นที่เฉพาะสำหรับการปลูกส้มได้เผยว่า “เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว ประชาชนดีใจมากเนื่องจากการปลูกส้มสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน ตามการคาดการณ์ ประชาชนหมู่บ้านหน่าทอยมีรายได้กว่า๒๐ล้านด่งต่อปี ครอบครัวของผมก็เช่นกัน ชีวิตของประชาชนได้รับการยกระดับให้ดีขึ้นเพราะนอกจากทำการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์แล้ว ประชาชนก็ยังปลูกส้มด้วย ”
หลังการปฏิบัติโครงการมาเป็นเวลา๕ปี โครงสร้างพื้นฐาน ชีวิตความเป็นอยู่ทั้งด้านวัตถุและจิตใจของประชาชนในเขตชนบทได้รับการยกระดับให้ดีขึ้นและโฉมหน้าชนบทได้รับการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ดี เนื่องจากเป็นจังหวัดเขตเขาที่ยังคงประสบอุปสรรคต่างๆ การปฏิบัติมาตรฐานเกี่ยวกับการก่อสร้างกิจการแห่งวัฒนธรรม เช่น การก่อสร้างบ้านวัฒนธรรมและเขตกีฬายังประสบอุปสรรค ในช่วงปี๒๐๑๖-๒๐๒๐ รวมยอดเงินลงทุนให้แก่โครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ของจังหวัดบั๊กก๋านอยู่ที่๒.๘ล้านล้านด่ง สำหรับแนวทางการพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ชนบทใหม่อย่างยั่งยืน นาย ลี้ท้ายหาย ประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดบั๊กก๋านได้เผยว่า“ทางจังหวัดฯได้เป็นฝ่ายรุกในการปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ด้วยแนวทางดังกล่าว จนถึงปี๒๐๒๐ จะมีตำบล๒๒แห่งที่ได้มาตรฐานการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ โดยเฉพาะ ในปี๒๐๑๗ ทางตำบลฯได้ตั้งเป้าไว้ว่า จะมีตำบล๖แห่งที่ได้มาตรฐานการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ แม้จะประสบอุปสรรคต่างๆแต่จังหวัดบั๊กก๋านยังพยายามระดมแหล่งพลังเพื่อสร้างสรรค์ชนบทใหม่ โดยเรียกร้องการเข้าร่วมของเครือบริษัทและประชาชน”
เป้าหมายที่สำคัญของจังหวัดบั๊กก๋านในปัจจุบันคือ เน้นพัฒนาการผลิต เพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน แก้ปัญหาความยากจนผสานกับการปรับปรุงการเกษตรอย่างยั่งยืน ทางการท้องถิ่นต่างๆผลักดันการสร้างสรรค์และขยายรูปแบบการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูกต่อไป ซึ่งจะมีส่วนช่วยเปลี่ยนโฉมหน้าชนบทและการพัฒนาอย่างยั่งยืน.