(VOVworld) - รูปแบบกลุ่มเกษตรกรร่วมมือเพื่อผลิตกาแฟอย่างยั่งยืนในท้องถิ่นต่างๆของจัง หวัดดั๊กลั๊กได้เกิดประสิทธิภาพในเบื้องต้น ซึ่งช่วยให้ครอบครัวเกษตรกรชนกลุ่มน้อยจำนวนมากเปลี่ยนวิธีการผลิตกาแฟแบบ เดิมๆ โดยเกษตรกรสามารถเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อลดต้นทุน เพิ่มมูลค่าและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยืนยันถึงชื่อเสียงของกาแฟบวนมาถวดในตลาด
การผลิตกาแฟอย่างยั่งยืนแอ-อา-กมาต (Photo: baodaklak.vn)
|
ถึงแม้กลุ่มเกษตรกรร่วมมือผลิตกาแฟอย่างยั่งยืนแอ-อา-กมาตในตำบลหว่าดง อำเภอกรง-แปกได้รับการจัดตั้งมาเป็นเวลากว่า 1 ปีเท่านั้น แต่จนถึงขณะนี้ ได้มีพื้นที่ปลูกกาแฟ 140 เฮกต้าร์และมีสมาชิกถึง 100 คน โดยส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ การจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรร่วมมือผลิตกาแฟอย่างยั่งยืนแอ-อา-กมาตมาจากความต้องการในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของชาวบ้านในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การสนับสนุนเงินทุน เมล็ดพันธุ์กาแฟ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืชและการจำหน่ายสินค้า กลุ่มเกษตรกรร่วมมือผลิตกาแฟอย่างยั่งยืนแอ-อา-กมาตได้สร้างเครื่องหมายการค้าและได้รับการรับรองเป็นองค์การที่ผลิตกาแฟอย่างยั่งยืนจากองค์กรแฟร์เทรด นาย เลวันเดื่อง จากหมู่บ้านเตินดง ตำบลแอ-อา-เกง อำเภอกรง-แปกเล่าว่า หลังจากที่ได้เข้าร่วมกลุ่มเกษตรกรร่วมมือผลิตกาแฟอย่างยั่งยืนแอ-อา-กมาต เขาสามารถเรียนรู้ประสบการณ์ที่ดีในการปลูกกาแฟ เช่น การรดนํ้าอย่างประหยัด การใช้แมลงและนกเพื่อกำจัดศัตรูพืชและการใช้ปุ๋ยอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิต นาย เดื่องกล่าวว่า “ก่อนการเข้าร่วมกลุ่มเกษตรกรร่วมมือผลิตกาแฟอย่างยั่งยืนแอ-อา-กมาต ครอบครัวผมปลูกกาแฟแบบขยายพื้นที่เพื่อเพิ่มปริมาณ จึงทำให้ได้ผลผลิต 2 ตันต่อเฮกต้าร์เท่านั้น เดี๋ยวนี้ ผลผลิตได้เพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2014 เพิ่มขึ้นเป็น 3.5 ตันต่อเฮกต้าร์ ส่วนในปี 2013 การปลูกกาแฟให้ผลผลิตสูงถึง 4.2 ตันต่อเฮกต้าร์”
เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์กาแฟและยกระดับความรู้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ เมื่อปี 2011 50 ครอบครัวในตำบลแอ-อา-เกี๊ยต อำเภอกือ-เมอ-การ์ จังหวัดดั๊กลั๊กได้จัดตั้งสหกรณ์การเกษตรและการบริการ กงบั่ง แอ-อา-เกี๊ยต พร้อมทั้งผลิตกาแฟตามมาตรฐานสากล เช่น การใช้ปุ๋ย การใช้ยากำจัดศัตรูพืช การตัดแต่งกิ่งและการเก็บเกี่ยวกาแฟ ทั้งนี้ ช่วยให้ผลิตภัณฑ์กาแฟของสหกรณ์ฯได้รับใบรับรองจากองค์กรแฟร์เทรดและทำให้ราคาขายกาแฟสูงกว่าราคาในท้องตลาด ส่วนรายได้ของสมาชิกสหกรณ์ได้เพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านด่งต่อปีเป็น 20 ล้านด่งต่อปี จนถึงขณะนี้ สหกรณ์การเกษตรและการบริการ กงบั่ง แอ-อา-เกี๊ยตมีสมาชิกเกือบ 100 คนและมีพื้นที่ปลูกกาแฟกว่า 180 เฮกต้า เพิ่มขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงที่สหกรณ์ฯได้รับการจัดตั้ง ปัจจุบัน จังหวัดดั๊กลั๊กมีพื้นที่ปลูกกาแฟกว่า 2 แสนเฮกต้าร์ ซึ่งมากที่สุดของประเทศ เพื่อปฏิบัติโครงการพัฒนากาแฟอย่างยั่งยืนระยะปี 2008 – 2015 และแนวทางการพัฒนาจนถึงปี 2020 ทางการจังหวัดดั๊กลั๊กได้ทำการตรวจสอบและวางแผนผังใหม่เขตที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของกาแฟบวนมาถวด รวมพื้นที่ 8 หมื่นเอกต้าร์เพื่อการพัฒนาเครื่องหมายการค้าอย่างยั่งยืนและมีแหล่งกำเนิดที่ชัดเจน นอกจากนี้ ทางการจังหวัดได้มีนโยบายส่งเสริมร่วมมือระหว่าง 4 ฝ่าย คือภาครัฐ-ผู้ประกอบการ-นักวิทยาศาสตร์และเกษตรกร โดยเฉพาะความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและเกษตรกรในการพัฒนากาแฟอย่างยั่งยืน จนถึงขณะนี้ จังหวัดดั๊กลั๊กมีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรร่วมมือกับผู้ประกอบการในการผลิตกาแฟอย่างยั่งยืน รวม 132 แห่งและมีพื้นที่ปลูกกาแฟเกือบ 5400 เฮกต้าร์ นาย หวิ่งก๊วกทิก รองผู้อำนวยการสำนักงานเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดดั๊กลั๊กเผยว่า “นอกเหนือจากโครงการต่างๆของรัฐบาลแล้ว ทางการจังหวัดได้มีโครงการต่างๆเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการลงทุนพัฒนาการเกษตร เกษตรกรและชนบท อีกทั้งอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ เอฟดีไอ รับซื้อกาแฟปริมาณมากจากเกษตรกรและร่วมมือกับเกษตรกรในการจัดตั้งสหกรณ์เพื่อมุ่งสู่การผลิตและจำหน่ายกาแฟอย่างยั่งยืน”
การจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรร่วมมือและสหกรณ์ผลิตกาแฟอย่างยั่งยืนในจังหวัดดั๊กลั๊กได้เกิดประสิทธิภาพในเบื้องต้น ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกษตรกรเปลี่ยนวิธีการผลิตกาแฟแบบเดิมๆ โดยหันมาใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยืนยันถึงชื่อเสียงของกาแฟบวนมาถวดในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ.