(VOVworld) - การสร้างความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในหมู่ประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อนำไปสู่ ความสำเร็จของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในอำเภอเหียบหว่า จังหวัดบั๊กยาง
ภาพอำเภอเหียบหว่า
|
หมู่บ้านซวนแถ่งเป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ของตำบลโจว์มิงห์ อำเภอเหียบหว่า จังหวัดบั๊กยาง โดยเมื่อ 3 ปีก่อน หลังจากมีแนวทางการปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ทางการหมู่บ้านซวนแถ่งได้จัดการประชุมต่างๆเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงผลประโยชน์จากการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ อีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นและความร่วมแรงร่วมใจในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ให้ประสบความสำเร็จ นาย เยืองวันเหื่อง เจ้าหน้าที่หมู่บ้านซวนแถ่ง ตำบลโจว์มิงห์เล่าว่า จากที่เคยเป็นหมู่บ้านที่ประสบความยากลำบากเป็นอย่างมากในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม จนถึงขณะนี้ หมู่บ้านซวนแถ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งมีถนนคอนกรีตที่เข้าถึงทุกซอกทุกซอยและมีบ้านเรือนสูงขึ้นของชาวบ้าน ศูนย์วัฒนธรรมและโรงเรียนอนุบาลที่โอ่โถงสวยงาม ส่วนชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้รับการยกระดับให้ดีขึ้น นาย เหื่อง กล่าวว่า การสร้างความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในหมู่ประชาชนถือเป็นปัจจัที่สำคัญที่สุดในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ และเผยว่า “ต้องจัดการประชุมครั้งต่างๆเพื่อหารือถึงปัญหาต่างๆ รวมทั้งปัญหาทางการเงินอย่างโปร่งใสและเปิดเผยเพื่อให้ประชาชนรับทราบและแสดงความคิดเห็น สำหรับการก่อสร้างถนนคอนกรีตและถนนชนบทนั้น ต้องจัดการประมูลอย่างเปิดเผยและเป็นประชาธิปไตย”
ในจำนวนมาตรฐานของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ การจัดระเบียบที่นาถือเป็นมาตรฐานที่ยากมาก ดังนั้น หลังจากมีแนวทางการปฏิบัติ เจ้าหน้าที่หมู่บ้านจึงได้ทำการประชาสัมพันธ์และสำรวจความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง และได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมากจากประชาชน จากความสำเร็จของการจัดระเบียบที่นา หมู่บ้านซวนแถ่งได้ปฏิบัติรูปแบบทุ่งนาขนาดใหญ่และใช้เครื่องจักรกลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเกษตร นาย โงต๊วนเหา จากหมู่บ้านซวนแถ่งเผยว่า “ก่อนหน้านั้น ชาวบ้านทำนาบนแปลงนาขนาดเล็กและใช้พันธุ์ข้าวที่มีอยู่เดิม ส่วนราคาขายข้าวอยู่ที่ 5500 ด่งต่อกิโลกรัมเท่านั้น แต่หลังจากมีการจัดระเบียบที่นาและใช้พันธุ์ข้าวจากโรงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวส่วนกลางหมายเลข 1 ทำให้ราคาขายข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นเป็น 7500 ด่งต่อกิโลกรัม”
ส่วนนาย มายเซิน เลขาธิการพรรคสาขาอำเภอเหียบหว่าได้ยืนยันว่า การเข้าร่วมของประชาชนในการปฏิบัติและการตรวจสอบกิจกรรมต่างๆถือเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่อย่างยั่งยืน นาย มายเซิน ผยว่า “พวกเราได้ปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ตั้งแต่ปี 2013 จนถึงปลายปี 2014 มีหมู่บ้าน 18 แห่ง ได้รับการรับรองเป็นหมู่บ้านที่ได้มาตรฐานของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ทั้งนี้ได้ช่วยผลักดันการปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่อย่างยั่งยืนให้แก่ตำบลใกล้เคียง”
จากผลสำเร็จดังกล่าว อำเภอเหียบหว่าตั้งเป้าหมายว่า จนถึงปี 2020 2 ใน 3 จำนวนตำบลจะต้องมีหมู่บ้านร้อยละ 90 บรรลุมาตรฐานของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ พร้อมทั้งยกระดับชีวิตทางวัตถุและจิตใจให้แก่ประชาชนเพื่อการสร้างสรรค์ชนบทใหม่อย่างยั่งยืน.