การเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกข้าว-รูปแบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

Thach Hong- VOV
Chia sẻ
(VOVWorld)-ในรอบ๕ปีที่ผ่านมา รูปแบบการเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกข้าวได้พัฒนาอย่างรวดเร็วในจังหวัดต่างๆริมฝั่งทะเลของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง  โดยพื้นที่การเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกข้าวได้เพิ่มขึ้นจากนับหมื่นเฮกตาร์ในปี๒๐๐๕ขึ้นเป็น๑แสน๖หมื่นเฮกตาร์ในปี๒๐๑๑และอาจเพิ่มขึ้นเป็น๒แสนเฮกตาร์ในปี๒๐๒๐  การทดลองการเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกข้าวในท้องถิ่นต่างๆได้แสดงให้เห็นว่า รูปแบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

(VOVWorld)-ในรอบ๕ปีที่ผ่านมา รูปแบบการเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกข้าวได้พัฒนาอย่างรวดเร็วในจังหวัดต่างๆริมฝั่งทะเลของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง  โดยพื้นที่การเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกข้าวได้เพิ่มขึ้นจากนับหมื่นเฮกตาร์ในปี๒๐๐๕ขึ้นเป็น๑แสน๖หมื่นเฮกตาร์ในปี๒๐๑๑และอาจเพิ่มขึ้นเป็น๒แสนเฮกตาร์ในปี๒๐๒๐  การทดลองการเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกข้าวในท้องถิ่นต่างๆได้แสดงให้เห็นว่า รูปแบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
การเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกข้าว-รูปแบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน - ảnh 1รูปแบบการเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกข้าวได้พัฒนาอย่างรวดเร็วในจังหวัดต่างๆริมฝั่งทะเลของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง  

เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเป็นเขตที่มีเงื่อนไขที่สะดวกในการพัฒนารูปแบบการเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกข้าว ซึ่งรูปแบบดังกล่าวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเมื่อเทียบกับรูปแบบการปลูกข้าวหรือเลี้ยงกุ้งเพียงอย่างเดียวเนื่องจากสามารถใช้มาตรการจัดการร่วมกันได้  จำกัดการใช้สารเคมีในการปลูกข้าว ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและตอบสนองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีหรือGAP  ซึ่งรูปแบบดังกล่าวไม่เพียงแต่เลี้ยงกุ้งและปลูกข้าวเท่านั้น หากยังสามารถเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดอื่นๆได้อีกด้วย  ดังนั้น รูปแบบดังกล่าวจึงมีความยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจและสร้างประสิทธิภาพในการลงทุนและเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ผลิตเพื่อรับมือกับความผันผวนของตลาด  นอกจากนี้ รูปแบบการเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกข้าวยังสร้างรายได้สูงกว่าการปลูกข้าวหรือเลี้ยงกุ้งเพียงอย่างเดียวร้อยละ๑๕-๓๐  นาย เห่ยวันถุ  เกษตรกรคนหนึ่งที่ปฏิบัติรูปแบบดังกล่าวในตำบลฟองเติน จังหวัดบากเหลียวได้เผยว่า  “ในรอบ๕ปีที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหาน้ำทะเลซึม น้ำจึงมีระดับความเค็มสูง พวกเราปลูกข้าวไม่ได้ ดังนั้น การปฏิบัติรูปแบบการเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกข้าวได้สร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น”
รูปแบบการปลูกข้าวในพื้นที่เลี้ยงกุ้งเป็นวิธีการกรองน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดในฤดูฝน  จำกัดปัญหาน้ำทะเลซึมและขยายเวลาการใช้ที่ดิน  ปัจจุบัน จังหวัดต่างๆที่มีพื้นที่การปลูกข้าวร่วมกับการเลี้ยงกุ้งมากที่สุด เช่น กาเมาและบากเลียว เป็นต้นได้วางแนวทางและโครงการพัฒนาในช่วงปี๒๐๑๕-๒๐๒๐และมีมาตรการเพื่อพัฒนาระบบดังกล่าวอย่างยั่งยืน  สำหรับจังหวัดซอกจัง เพื่อส่งเสริมความได้เปรียบด้านสภาพธรรมชาติ เทคนิคและเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้รับความนิยมในตลาด  ทางการจังหวัดได้พัฒนาการปลูกข้าวในพื้นที่การเลี้ยงกุ้งที่ได้มาตรฐานGlobal Gap   ส่วนจังหวัดจ่าวิง จากการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกข้าวบนเกาะลองหว่า อำเภอโจวแถ่ง  ทางการจังหวัดได้ขยายพื้นที่เลี้ยงกุ้งและการปลูกข้าวที่ได้ใบรับรองเกี่ยวกับข้าวอินทรีย์เพื่อการส่งออก  ศาสตรจารย์ เจิ่นวันเขย  ผู้อำนวยการสถาบันการส่งเสริมการเกษตรแห่งชาติได้เผยว่า  การปลูกข้าวร่วมกับการเลี้ยงกุ้งเป็นรูปแบบพิเศษในเขตริมฝั่งทะเลในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง  โดยมีความได้เปรียบเพื่อพัฒนาการปลูกข้าวและการเลี้ยงกุ้งอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน   ตอบสนองมาตรฐานที่เข้มงวดเพื่อผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูง สร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงและมีโอกาสการสร้างเครื่องหมายการค้า“ท้องถิ่นต่างๆได้วางแนวทางการวางผังเขตตามแนวทางที่รัฐบาลและกระทรวงการเกษตรกำหนด  ๒คือจากแหล่งพลังที่มี รวมทั้ง การส่งเสริมการเกษตร  ทางการทุกระดับต้องเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยี  โดยเฉพาะ การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะความสามารถในการผลิตให้แก่เกษตรกรเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติรูปแบบดังกล่าวและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ๓คือ ต้องกำหนดแนวทางการสร้างเครื่องหมายการค้า”
รูปแบบการปลูกข้าวร่วมกับการเลี้ยงกุ้งมีความได้เปรียบเพื่อการพัฒนาที่มีเสถียรภาพ  มีศักยภาพมในการขยายผลสูง กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทได้วางแผนการพัฒนาระบบชลประทานเพื่อสนับสนุนเขตเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกข้าวเพื่อผลิตกุ้งและข้าวที่มีคุณภาพสูง  รูปแบบการปลูกข้าวร่วมกับการเลี้ยงกุ้งได้ช่วยให้บรรลุก้าวพัฒนาใหม่ในการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจการเกษตรในจังหวัดริมฝั่งทะเลของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง.

Feedback