(VOVWorld)-
เป็ดทะเลเป็นพันธุ์สัตว์ใหม่ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพความเค็มของน้ำ โดยอาจเลี้ยงในสภาพแวดล้อมทางทะเลได้ ดังนั้น เมื่อเร็วๆนี้ กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทได้เลือกเป็ดทะเลเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงที่ช่วยปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานการเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดต่างๆริมฝั่งทะเลของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึม
เป็ดทะเล
|
ในช่วงปี๒๐๑๔-๒๐๑๕ ได้มีการทดลองเลี้ยงเป็ดทะเล๓๐๐ตัวบนเกาะต่างๆสังกัดหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรตลีย์ ซึ่งฝูงเป็ดนี้ได้เจริญเติบโต พัฒนาเป็นอย่างดี ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ในเวลาที่ผ่านมา การทดลองเลี้ยงเป็ดทะเลก็ได้บรรลุผลงานเบื้องต้น โดยสามารถปรับตัวเข้ากับปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึมในจังหวัดเกียนยาง เตี่ยนยางและบากเลียว ในจังหวัดก่าเมา ซึ่งเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำทะเลซึม การทดลองเลี้ยงเป็ด๒,๘๐๐ตัวได้ประสบความสำเร็จและมีแนวโน้มขยายฝูงเป็ด นาย เหงวียนวันแจง รองผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและการพัฒนาชนบทใหม่จังหวัดก่าเมาได้เผยว่า จนถึงขณะนี้ ฝูงเป็ดดังกล่าวได้พัฒนาเป็นอย่างดีในเขตน้ำกร่อยและสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ผู้เลี้ยง “จังหวัดก่าเมาเริ่มทดลองรูปแบบการเลี้ยงเป็ดทะเล คาดว่า จำนวนเป็ดจะเพิ่มขึ้นเป็น๖พันตัว ถ้าหากกำหนดว่า นี่เป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความเหมาะสม ต้องมีการแนะนำและเตรียมพันธุ์สัตว์เพื่อจัดสรรให้แก่ท้องถิ่นต่างๆ”
นาย เหงวียนหึวติ๊ง รองผู้อำนวยการสถาบันการเพาะเลี้ยงสัตว์เขตภาคใต้สังกัดสถาบันการเพราะเลี้ยงสัตว์แห่งชาติได้เผยว่า เป็ดทะเลเป็นสัตว์ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ทนโรคและสามารถอาศัยในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อยหรือน้ำเค็มได้”“เป็ดทะเลมีปริมาณไข่จำนวนมาก เนื้อเป็ดอร่อย มีการเจริญเติบโต้อย่างรวดเร็วและง่ายขาย สามารถเลี้ยงเป็ดในทะเลได้ นอกจากนี้ สามารถเลี้ยงเป็ดทะเล บนบกที่มีน้ำจืดหรือเลี้ยงตามสวนปลูกผลไม้และป่าชายเลน เป็นต้น “
การเลี้ยงเป็ดทะเลเป็นรูปแบบที่สร้างรายได้สูงและมีเสถียรภาพให้แก่ประชาชน
|
นาย เหงวียนวันจ๋อง รองอธิบดีสำนักงานการเลี้ยงสัตว์สังกัดกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทได้เผยว่า เขตริมฝั่งทะเลควรมีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดีในการเลี้ยงสัตว์เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นๆ สามารถขยายรูปแบบการเลี้ยงเป็ดทะเลในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะ ในจังหวัดต่างๆริมฝั่งทะเล ซึ่งเป็นเขตที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำทะเลซึม “ปัจจุบัน มีสถาบันสองแห่งที่เก็บพันธุ์เป็ดทะเลได้แก่สถาบันวิจัยเป็ดด๋ายเซวียนและสถาบันวิจัยการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์VIGOVA ปัจจุบัน เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงยังไม่มีหน่วยงานใดๆที่จัดสรรพันธุ์เป็ดทะเล ในเวลาที่จะถึง สถาบันวิจัยพันธุ์สัตว์จะได้รับการก่อสร้างในจังหวัดซอกเพื่อช่วยขยายฝุงเป็ดและจัดสรรพันธุ์เป็ดให้แก่ประชาชนในเขตใกล้เคียงและประเทศเพื่อนบ้านกัมพูชา”
จากประสิทธิภาพในการเลี้ยงเป็ดทะเลในท้องถิ่นต่างๆได้แสดงให้เห็นว่า การเลี้ยงเป็ดทะเลไม่เพียงแต่เป็นรูปแบบที่สร้างรายได้สูงและมีเสถียรภาพให้แก่ประชาชนเท่านั้น หากยังช่วยใช้ศักยภาพที่มีอยู่ของเขตนี้ นอกจากนี้ นี่เป็นสัตว์เลี้ยงที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพความเค็มของน้ำและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้ดีอีกด้วย.