เซินลามุ่งมั่นนำผลิตภัณฑ์การเกษตรจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล

Trấn Long; Vĩnh Phong
Chia sẻ
(VOVWORLD) - เพื่อปฏิบัติเป้าหมายของโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” หรือ OCOP ในช่วงปี 2021-2025 อย่างเป็นรูปธรรม การส่งเสริมกิจกรรมสร้างเครื่องหมายการค้า การแนะนำ ประชาสัมพันธ์และช่วยเหลือการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OCOP บนแพลตฟอร์มดิจิทัลถือเป็นหนึ่งในมาตรการที่สำคัญ ที่สมาชิกกองเยาวชนและเยาวชนเป็นกองกำลังหลักในการนำสินค้าการเกษตรจำหน่ายบนแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อประชาสัมพันธ์และจำหน่ายสินค้าการเกษตรให้แก่ประชาชนเพื่อมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่น
เซินลามุ่งมั่นนำผลิตภัณฑ์การเกษตรจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล - ảnh 1เกษตรกรจังหวัดเซินลามุ่งมั่นที่จะนำผลิตภัณฑ์การเกษตรไปสู่แพลตฟอร์มดิจิทัล
 
 
 

 

เซินลาเป็นสถานที่ปลูกผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ โดยมีพื้นที่ปลูกผลไม้เกือบ 85,000 เฮกตาร์ ซึ่งมีผลผลิตหลายแสนตันต่อปี พื้นที่ปลูกผลไม้ที่ติดรหัส 281 แห่งได้ส่งออกไปยังตลาดต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐ จีนและสหภาพยุโรปหรือ EU ซึ่งในนั้นมีผลไม้หลักที่มีชื่อเสียง เช่น มะม่วงเอียนโจว์ พลัมเซินลา ลำไยซงหมาและน้อยหน่ามายเซิน ฤดูเก็บผลไม้ของเซินลาเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนพฤศจิกายนทุกปี ดังนั้นการส่งเสริมการเชื่อมโยงและการบริโภคผลิตภัณฑ์การเกษตรในท้องถิ่นผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลจึงเป็นมาตาการที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลการเกษตร

เมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ณ อำเภอซงหมา จังหวัดเซินลา กองเยาวชนจังหวัดเซินลาได้จัดการฝึกอบรมเพื่อยกระดับทักษะเยาวชนในเขตชนบทและสมาชิกกองเยาวชนในการขายผลิตภัณฑ์ OCOP ผ่านระบบดิจิทัล ซึ่งผ่านแพลตฟอร์ม Tiktok เยาวชนและครอบครัวได้ livestream ขายผลิตภัณฑ์ OCOP กว่า 20 รายการซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์การเกษตรเฉพาะถิ่นของเซินลา ซึ่งภายในเวลาเพียงแค่ 4 ชั่วโมง ผ่านการ livestream  12 ครั้งก็มียอดวิวกว่า 20 ล้านวิว สามารถขายลำไยซงหมาได้ 5 ตัน พร้อมยอดสั่งซื้อสินค้าการเกษตรกว่า 2,300 ใบ สร้างรายได้เกือบ 470 ล้านด่งให้แก่จังหวัดฯ นาย เหงียนแองดึ๊ก สมาชิกของสหกรณ์ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ในตำบลเวียงล้าน อำเภอเอียนโจว์ จังหวัดเซินลา กล่าวอย่างตื่นเต้นว่า ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังจากขายบนแพลตฟอร์มดิจิทัล สหกรณ์ฯ ได้รับคำสั่งซื้อถึงกว่า 150 ใบ

“นี่คือการเปลี่ยนแปลงวิธีการขายสินค้าของสหกรณ์เพราะ Tiktok สามารถเข้าถึงผู้ที่มีความต้องการเป็นจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาเรายังไม่รู้วิธีการใช้Tiktok จึงยังไม่สามารถเปิดหน้าร้านขายของบนแพลตฟอร์มนี้ วันนี้ ขายสินค้าดีมากโดยไม่เพียงแต่จะช่วยให้สหกรณ์ขายผลิตภัณฑ์กระเทียมดำและสินค้าเกษตรอื่นๆ เท่านั้น หากยังช่วยให้คนรุ่นใหม่หลายคนรู้จักวิธีการใช้แพลตฟอร์มนี้อีกด้วย”

เซินลามุ่งมั่นนำผลิตภัณฑ์การเกษตรจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล - ảnh 2เกษตรกรจังหวัดเซินลาปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลในด้านการผลิต การส่งเสริมและการบริโภคผลิตภัณฑ์การเกษตร

การฝึกอบรมเพื่อยกระดับทักษะความสามารถในการประกอบธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ช่วยให้สถานประกอบการ สหกรณ์และครัวเรือนจำหน่ายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลการเกษตรและชนบท ช่วยเชื่อมโยง ประชาสัมพันธ์ แนะนำผลิตภัณฑ์ เปิดช่องทางการจำหน่ายใหม่ๆ ขยายตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ นาย ห่าวันด่าย ในหมู่บ้านลึง ตำบลเจี่ยงแอน อำเภอซงหมา ที่เข้าร่วมการฝึกอบรมเผยว่า

“ผ่านการเข้าร่วมการฝึกอบรม ผมมีวิธีการใหม่ในการเข้าถึงลูกค้าคือการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพราะการขายสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซไม่ต้องแข่งขันในด้านราคา การจำหน่ายสินค้าก็สะดวกกว่า และไม่ต้องขายผ่านพ่อค้าคนกลาง”

สมาชิกของกองเยาวชนและเยาวชนเป็นกลุ่มที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีความคล่องตัว มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้เดินหน้าในการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล การทำธุรกิจสตาร์ทอัพ การพัฒนาทักษะการขายและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ซึ่งได้ช่วยประชาสัมพันธ์ จำหน่ายผลิตภัณฑ์การเกษตร OCOP ของท้องถิ่น นาง เกิ๋มถิเหี่ยนจาง เลขาธิการกองเยาวชนจังหวัดเซินลา เผยว่า

“ผ่านการฝึกอบรม เราหวังว่า เยาวชนจะมีโอกาสในการเข้าถึงแอปพลิเคชันดิจิทัล โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์ OCOP และสินค้าเกษตรของท้องถิ่นบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ผ่านกิจกรรมนี้ เรายังหวังว่า สมาชิกกองเยาวชนจะมีมุมมองที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น”

ทั้งนี้จังหวัดเซินลากำลังแปรความคาดหวังในการรับและประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ OCOP  เพื่อความมุ่งมั่นที่จะสร้างความร่ำรวยในบ้านเกิดอย่างเป็นรูปธรรม โดยทางจังหวัดเซินลาจะให้การสนับสนุนเยาวชนต่อไปในการจัดฟอรั่ม การสัมมนาและการฝึกอบรมในเชิงลึกมากขึ้นเกี่ยวกับโครงการ OCOP รวมถึงการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล โดยมีเป้าหมายคือส่งเสริมการผลิตและการขายผลิตภัณฑ์ OCOP อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการเข้าร่วมอีคอมเมิร์ซและการขายสินค้าออนไลน์.


คำติชม