เกษตรกรจังหวัดเซินลาพัฒนาการติดรหัสพื้นที่ปลูกเพื่อผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตร

Vinh Phong
Chia sẻ
(VOVWORLD) - เพื่อสามารถผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรหลักไปยังตลาดโลก ทางการจังหวัดเซินลาจึงเน้นยกระดับคุณภาพของสินค้าและการติดรหัสพื้นที่ปลูกเพื่อพัฒนาเขตผลิตเฉพาะ ตอบสนองความต้องการด้านคุณภาพและมาตรฐาน VietGap ของเวียดนามและ GlobalGap ของโลก ซึ่งการติดรหัสพื้นที่ปลูกนั้นไม่เพียงแต่เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับสินค้าเกษตรส่งออกเท่านั้น หากยังส่งผลดีต่อความคิดและทักษะความสามารถให้แก่เกษตรกรอีกด้วย
 
 
เกษตรกรจังหวัดเซินลาพัฒนาการติดรหัสพื้นที่ปลูกเพื่อผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตร - ảnh 1สมาชิกของสหกรณ์เกษตรกรปลอดสารพิษ เจี่ยงหัก ในอำเภอเอียนโจวดูแลสวนมะม่วง (baosonla.org.vn)


ครอบครัวของนาย เหงียนเตี๊ยนเห่ย สมาชิกสหกรณ์ผลไม้เกวี๊ยดเติม ตำบลตู๊นาง อำเภอเอียนโจว จังหวัดเซินลา มีพื้นที่ปลูกผลไม้กว่า 3 เฮกตาร์ ซึ่งในนั้น มี 2 เฮกตาร์ได้รับการติดรหัสแปลงปลูกตามมาตรฐาน VietGap โดยแต่ละปีเก็บผลไม้สดได้นับสิบตันและไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องการจำหน่าย อีกทั้งสร้างรายได้ที่เสถียรภาพให้แก่ครอบครัว นายเห่ยบอกว่า

“ครอบครัวผมปลูกผลไม้ในพื้นที่กว่า 3 เฮกตาร์ ซึ่งแต่ละปี เฉพาะมะม่วงก็ได้ผลผลิตประมาณ 35 – 50 ตัน ซึ่งในนั้นมีประมาณ 25-30 ตันมีคุณภาพเพียงพอสำหรับการส่งออก ในหลายปีมานี้ เนื่องจากได้ติดรหัสพื้นที่ปลูก การส่งออกของเราสะดวกมาก”

ปัจจุบันนี้ ที่อำเภอเอียนโจว จังหวัดเซินลา มีพื้นที่ปลูกผลไม้กว่า 11,300 เฮกตาร์ ซึ่งในนั้นมีกว่า 770 เฮกตาร์ได้บรรลุมาตรฐาน VietGap ส่วนทางอำเภอก็ควบคุมและเฝ้าติดตามการปลูกในแปลงที่ได้รับการติดรหัส 67 แปลงรวมผลไม้ชนิดต่างๆ กว่า 1,140 ต้น พื้นที่ปลูกที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในอำเภอนับวันได้รับการขยาย ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพให้แก่สินค้าและอำนวยความสะดวกให้แก่การส่งออกมากขึ้น นี่คือความได้เปรียบของสหกรณ์ต่างๆ ในจังหวัดเซินลาในขณะที่ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ นาย เยืองมิงห์ห่า ผู้อำนวยการสหกรณ์ผลไม้ เกวี๊ยดเติม กล่าวว่า

“หลังจากที่รหัสแปลงปลูก เราสามารถควบคุมคุณภาพได้ดีมากขึ้นและสามารถผลิตตามมาตรฐาน VietGap ได้ง่ายขึ้น ผลไม้มีคุณภาพและผลดูสวยกว่าการปลูกแบบเก่า นอกจากนี้ เราก็จดจำข้อมูลในระหว่างการปลูกด้วย”

การติดรหัสพื้นที่ปลูกไม่เพียงแต่ช่วยให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้เท่านั้น หากยังสามารถควบคุมกระบวนการผลิตอย่างเข้มงวดและสร้างความไว้วางใจให้กับผู้บริโภค พร้อมทั้งช่วยให้เกษตรกรเปลี่ยนจากการผลิตแบบรายย่อยมาเป็นการผลิตแบบที่สร้างเครือข่ายระหว่างกันเพื่อจัดตั้งพื้นที่ปลูกเฉพาะที่กว้างใหญ่ โดยเฉพาะเน้นเป็นพิเศษถึงคุณภาพและเครื่องหมายการค้าของผลิตภัณฑ์ ตอบสนองเงื่อนไขที่เข้มงวดของบรรดาประเทศนำเข้าเพื่อขยายตลาด  นาย ห่าวันเซิน ผู้อำนวยการสหกรณ์เกษตรกรปลอดสารพิษ เจี่ยงหัก ในอำเภอเอียนโจว เผยว่า

“นับตั้งแต่ที่ได้รับรหัสแปลงปลูก เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์ต่างผลิตตามมาตรฐานนี้เพื่อจำหน่ายในตลาดต่างๆ นอกจากนี้ เราก็รณรงค์ให้เกษตรกรดูแลสวนผลไม้ ใช้ปุ๋ยและใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลพืชตามมาตรฐานนี้ด้วย”

เกษตรกรจังหวัดเซินลาพัฒนาการติดรหัสพื้นที่ปลูกเพื่อผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตร - ảnh 2แก้วมังกรเป็นหนึ่งในผลไม้ของจังหวัดเซินลาที่ได้ติดรหัสพื้นที่ปลูก (baosonla.org.vn)

ตามข้อมูลสถิติ จังหวัดเซินลามีพื้นที่ปลูก 281 แห่งที่ได้รับรหัส รวมพื้นที่กว่า 4,600 เฮกตาร์ โดยมี 205 แห่งที่ปลูกเพื่อการส่งออก โดยผลไม้ส่วนใหญ่เป็นลำไย มะม่วง กล้วย พลัมและแก้วมังกร ซึ่งได้มาตรฐานตามข้อกำหนดเพื่อส่งออกไปยัง 21 ประเทศและดินแดน นาย เยืองยาดิ๋ง หัวหน้ากรมปลูกและดูแลพืชจังหวัดเซินลา กล่าวว่า

“การติดรหัสพื้นที่ปลูกมีความหมายสำคัญเป็นอย่างมากในการผลิตเกษตร โดยเฉพาะในขณะที่การเกษตรและเศรษฐกิจเวียดนามกำลังผสมผสานเข้ากับกระแสโลกอย่างกว้างลึกและผลิตภัณฑ์การเกษตรก็เป็นสินค้าหลักสำหรับการส่งออก”

ถ้าหากเปรียบเทียบกับศักยภาพของท้องถิ่น พื้นที่ที่ได้รับรหัสในจังหวัดเซินลายังมีไม่มากนัก คือแค่ร้อยละ 5.5 เท่านั้น แต่การได้รับรหัสนี้ได้ช่วยเปลี่ยนแปลงความคิดในการผลิตของเกษตรกร โดยมีการใช้วิธีการปลูกใหม่แทนรูปแบบเก่าและเกษตรกรเป็นฝ่ายรุกในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต เพื่อมีส่วนร่วมยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์และตอบสนองความต้องการในการส่งออก นาย เหงียนดิ่งต๊วน ผู้อำนวยการสหกรณ์ดว่านเก๊ด ตำบล เฉี่ยงมุน อำเภอมายเซิน จังหวัดเซินลา กล่าวว่า

“เราได้ปฏิบัติตามมาตรฐาน VietGap โดยไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าแมลงต้องห้าม พื้นที่ปลูกทั้งหมดของเราใช้ปุ๋ยอินทรีย์และยาฆ่าแมลงที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ”

การมอบรหัสพื้นที่ปลูกให้แก่เกษตรกร สหกรณ์และสถานประกอบการในจังหวัดเซินลาได้มีส่วนร่วมผลักดันการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลในการผลิตเกษตร เพิ่มผลผลิตและลดการใช้แรงงานให้แก่เกษตรกร โดยเฉพาะช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าการเกษตร ช่วยให้การส่งออกสินค้าเกษตรของจังหวัดพัฒนามากขึ้น.

คำติชม