นาย เหงียนเซินติ๋ง (Photo sokehoaccongnghiepbinhdinh) |
นาย เหงียนเซินติ๋ง จบปริญญาตรีสาขาวิชาการบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยกวีเญิน ได้ตัดสินใจกลับบ้านเกิดที่อำเภอหว่ายเญิน จังหวัดบิ่งดิ๋ง ทำธุรกิจสตาร์ทอัพโดยทำผลิตภัณฑ์จากกาบต้นหมาก โดยเมื่อช่วงต้นปีที่แล้ว เขาได้เปิดบริษัท Equana Vietnam จำกัดเพื่อทำตามความฝันที่ต้องการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อมีส่วนร่วมลดขยะพลาสติก นาย เหงียนเซินติ๋ง ได้นำกาบต้นหมากที่ผู้ปลูกมักจะทิ้งมาผลิตทำเป็นของใช้และสินค้าที่น่ารักต่างๆ เช่น ช้อน ถ้วย ชาม เป็นต้น ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้บริษัทพัฒนาเท่านั้น หากยังมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและแก้ปัญหาความยากจนในท้องถิ่นอีกด้วย นาย เหงียนเซินติ๋ง เผยว่า อยากให้ทางการท้องถิ่นและหน่วยงานทุกระดับอำนวยความสะดวกมากขึ้นให้แก่บริษัทในการซื้อเครื่องจักรกลและเช่าที่ดินปลูกต้นหมาก “จังหวัดบิ่งดิ๋งมีศักยภาพสูงในการปลูกต้นหมาก แต่การลงทุนในด้านเครื่องจักรและโรงงานผลิตของเรายังยากอยู่เนื่องจากขาดแคลนเงินทุนและเครื่องจักรส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ”
จากผลการวิจัยเกี่ยวกับสารโอโซฟลาโวน ที่สกัดจากกวาวเครือหัวกลมของเวียดนามของสถาบันเคมีศาสตร์สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเวียดนาม นางสาว ด่าวแอ๊งเวิน มีความปรารถนาว่า จะนำผลการวิจัยต่างๆของสถาบันฯ มาผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายในตลาด เธอและดร. เหงียนถิงวาน ซึ่งเป็นหัวหน้าของโครงการวิจัยสกัดสารโอโซฟลาโวนดังกล่าวได้ตัดสินใจร่วมกันสร้างสตาร์อัพโดยเปิดบริษัทเภสัชภัณฑ์ไบโอโลจี VIG Biopharm เพื่อผลิตวิตามินปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง นางสาว ด่าวแองเวินกล่าวว่า“ผลการวิจัยหลายด้านของนักวิทยาศาสตร์มีคุณค่าเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเศรษฐกิจ แต่ยังไม่ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ ดังนั้น ดิฉันมีความปรารถนาว่า จะนำผลการวิจัยเหล่านี้มาผลิตสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภครู้จักและนิยมใช้มากขึ้น”
นาย ฝ่ามหว่างหายเสนอโครงการ (Photo thanhnien.vn) |
ส่วนโครงการ AntiMatlab ที่ประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการระบุชื่อบุคคลและเข้าไปแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดกรณีที่สร้างความไม่สงบให้ชุมชนและคอนโด เช่น การล่วงละเมิดทางเพศ การใช้ความรุนแรงและอุบัติเหตุที่วิจัยและพัฒนาโดยนาย ฝ่ามหว่างหาย และกลุ่มเพื่อนร่วมงานก็มีเป้าหมายร่วมสร้างสังคมที่ปลอดภัยมากขึ้น โดยในตอนแรกได้ประยุกต์ใช้ในคอนโดต่างๆ ที่ กรุงฮานอย
นาย ฝ่ามหงอกฮวี ผู้อำนวยการโครงการ Vietnam Silicon Valley ซึ่งเป็นโครงการสนับสนุนสตาร์ทอัพเวียดนามได้ยืนยันว่า “คุณภาพของสตาร์ทอัพเวียดนามนับวันดีขึ้นเพราะว่าคนรุ่นใหม่มีความรู้และเข้าถึงแหล่งข้อมูลพัฒนาบริษัทมากขึ้น นอกจากนี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากทั้งรัฐบาลและกองทุนจากต่างประเทศ”
นาย เหงียนเซินติ๋ง นางสาวด่าวแอ๊งเวินและนาย ฝ่ามหว่างหาย เป็นเพียงส่วนหนึ่งในกลุ่มเยาวชนจำนวนมากของเวียดนามที่มีความมุ่งมั่นสร้างสรรค์กับการสตาร์ทอัพ ขณะนี้ เวียดนามมีสถานประกอบการสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมประมาณ 2,000 แห่ง ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าประทับใจที่สะท้อนความปรารถนาในการสร้างฐานะจากความรู้ ความคิดสร้างสรรค์และจิตใจกล้าคิดกล้าทำของคนรุ่นใหม่เวียดนาม./.