เวียดนามให้ความเคารพและค้ำประกันสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน

Thu Hoa
Chia sẻ
(VOVWORLD) -  ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน  พรรค และรัฐเวียดนามให้ความเคารพ ค้ำประกันและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน รวมถึงสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนตามคำมั่นระหว่างประเทศ โดยการพัฒนาหน่วยงานสื่อสารของเวียดนามในหลายปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัตินโยบายสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ
เวียดนามให้ความเคารพและค้ำประกันสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน - ảnh 1เวียดนามให้ความเคารพและค้ำประกันสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน (Photo: VNA)

สิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนถูกระบุอย่างชัดเจนในกฎหมายสากล โดยมาตราที่ 19 ของอนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิด้านพลเรือนและการเมืองปี1966 หรือ ICCPR ระบุว่า ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ประกอบด้วย การค้นหา การรับและเสนอข้อมูลในทุกด้านและทุกรูปแบบการสื่อสารผ่านกลไกสื่อสารมวลชนต่างๆ แต่การปฏิบัติอาจจะถูกจำกัดบางส่วน

สิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนจากมุมมองของกฎหมายสากล

มาตราที่ 19 ของ ICCPR ระบุว่า การปฏิบัติข้อที่ 2 ของมาตรานี้พร้อมหน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษตามกฎหมายถือเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นเพื่อเป็นการให้ความเคารพสิทธิและชื่อเสียงของผู้อื่น เพื่อรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคม รักษาสุขภาพของประชาชนและจรรยาบรรณในสังคม ส่วนมาตราที่ 29 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระบุว่า ในขณะที่ได้รับประโยชน์จากสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ทุกคนต้องยอมรับข้อจำกัดต่างๆตามกฎหมายเพื่อค้ำประกันการรับรองและให้ความเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น สอดคล้องกับเงื่อนไขด้านจรรยาบรรณ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและผลประโยชน์ร่วมของสังคม

กฎหมายของประเทศต่างๆก็ได้ระบุอย่างชัดเจนถึงสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนว่า การปฏิบัติสิทธินี้ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย  ยกตัวอย่างเช่น มาตราที่  5รัฐธรรมนูญของเยอรมนีได้ระบุว่า "ทุกคนต่างมีสิทธิแสดงความคิดเห็นผ่านภาพถ่าย คำพูด การลงบทความบนหนังสือและหนังสือพิมพ์ รวมถึงการเผยเพร่ผ่านทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์" แต่มาตราที่ 18รัฐธรรมนูญของเยอรมนีก็ระบุว่า "คนที่ฉกฉวยสิทธิเสรีภาพในการพูดและการแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพในการประชาสัมพันธ์เพื่อทำลายความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมแห่งเสรีประชาธิปไตยก็จะต้องถูกจำกัดสิทธิพลเมือง"

แม้แต่ที่ประเทศสหรัฐ ซึ่งถือเป็น ประเทศแห่งเสรีภาพสื่อมวลชนนั้น มาตราที่ 2358ของประมวลกฎหมายอาญาสหรัฐก็ได้ระบุว่า ห้ามการตีพิมพ์ พิมพ์จำหน่าย เรียบเรียง ออกอากาศ เผยแพร่ จัดสรรคและจัดแสดงเอกสารที่เป็นลายมือ หรือ สิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหายุยงปลุกปั่น หรือ อธิบายเกี่ยวกับความรับผิดชอบ ความจำเป็นของความทะเยอทะยาน หรือ ความถูกต้องของพฤติกรรมมุ่งโค่นล้ม หรือ ทำลายทางการปกครองทุกระดับในสหรัฐ โดยใช้กำลังทหาร หรือ ความรุนแรง

ส่วนในรัฐธรรมนูญเวียดนามปี 2013 ก็ได้ระบุถึงสิทธิเสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็นและสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนที่สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิด้านพลเรือนและการเมือง โดยมาตราที่25 ของรัฐธรรมนูญระบุว่า พลเมืองมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การจัดประชุม การจัดตั้งสมาคมและการชุมนุมในกรอบของกฎหมาย นอกจากนี้ กฎหมายสื่อสารมวลชนของเวียดนามได้ระบุถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของพลเมืองและหน้าที่ของหน่วยงานสื่อสารมวลชนที่สอดคล้องกับข้อกำหนดระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

กฎหมายเวียดนามค้ำประกันการพัฒนาหน่วยงานสื่อสารมวลชนอย่างเข้มแข็ง

จากการมีกรอบกฎหมายที่ถูกต้องและสอดคล้องกับกฎหมายสากล ได้ทำให้หน่วยงานสื่อสารมวลชนเวียดนามพัฒนาอย่างข้ามขั้น จนถึงปัจจุบัน เวียดนามมีสำนักงานหนังสือพิมพ์ 859แห่ง หนังสือพิมพ์ออนไลน์ 135แห่ง มี 258 เว็บไซต์ข้อมูล รวมทั้งมีสถานีวิทยุและโทรทัศน์ทั้งหมด 67แห่ง โดยประชาชนเวียดนามและชมรมชาวต่างชาติที่กำลังอาศัยในเวียดนามสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานสื่อสารมวลชนใหญ่ๆเพราะมีสถานีโทรทัศน์ต่างประเทศ 75 แห่ง รวมถึงสถานีโทรทัศน์ระดับโลก เช่น: CNN, BBC, TV5, NHK, DW, Australia Network, KBS, Bloomberg และสำนักงานสื่อสารมวลชนของประเทศต่างๆกว่า20 แห่งมีผู้สื่อข่าวประจำในเวียดนาม ตลอดจนมีสื่อสิ่งพิมพ์หลายฉบับได้ถูกตีพิมพ์เป็นภาษาต่างประเทศ ส่วนประชาชนเวียดนามสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าสารจากสำนักข่าวและหนังสือพิมพ์ใหญ่ๆระดับโลกผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

จนถึงปัจจุบัน เวียดนามได้รับการประเมินว่า เป็นประเทศที่มีการพัฒนาอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างรวดเร็วที่สุดในภูมิภาค เฉพาะผู้ใช้เฟสบุ๊คมากถึง 35 ล้านราย คิดเป็น 1 ใน 3 ของประชากร มีผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 21 ล้านคนต่อวันผ่านสมาร์ทโฟนและมีการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานภาครัฐและองค์การต่างๆกับประชาชนผ่านทางเครือข่ายเฟสบุ๊ค

หนังสือพิมพ์ถือเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาสังคม

หน่วยงานสื่อสารมวลชนในเวียดนามไม่เพียงสามารถพัฒนาได้อย่างเสรีเท่านั้น หากยังเข้าร่วมกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น การเสื่อมถอยด้านแนวคิด การเมือง คุณธรรม การดำเนินชีวิตและการยั่วยุปลุกปั่นในสังคม ในเวลาที่ผ่านมา หน่วยงานสื่อสารมวลชนได้มีส่วนร่วมไม่น้อยต่อความสำเร็จของภารกิจการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นในเวียดนาม ดังนั้น สิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนถือเป็นเงื่อนไขที่สำคัญให้แก่การพัฒนาสังคม

สำหรับพรรคและรัฐเวียดนาม สิทธิเสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็นและสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนไม่เพียงแต่เป็นสิทธิที่ต้องได้รับการค้ำประกันมากขึ้นเท่านั้น หากยังเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาสังคมอีกด้วย โดยความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของเวียดนามในเวลาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า ข้อกล่าวหาว่าเวียดนามไม่ให้ความเคารพสิทธิมนุษยชนและขาดเสรีภาพสื่อมวลชนเป็นข้อกล่าวหาที่ไร้มูลความจริง.

คำติชม