การประชุมจี20 – การเผชิญหน้าระหว่างประเทศมหาอำนาจ

Huyền
Chia sẻ
(VOVWORLD) - การประชุมผู้นำกลุ่มประเทศพัฒนาและเศรษฐกิจเกิดใหม่หรือจี 20 ครั้งที่ 10 ประจำปี 2018 ในระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายนถึงวันที่ 1 ธันวาคม ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา จะหารือถึงนโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหาต่างๆของเศรษฐกิจโลก ในสภาวการณ์ที่โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายต่างๆ การประชุมผู้นำจี20 ซึ่งถือเป็นฟอรั่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดในโลกอาจได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ระหว่างประเทศมหาอำนาจและความแตกร้าวของประชาคมโลกในปัญหาต่างๆ
การประชุมจี20 – การเผชิญหน้าระหว่างประเทศมหาอำนาจ - ảnh 1การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าธนาคารกลุ่มจี 20 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย (AFP) 

การประชุมจี20ปีนี้จะมีการเข้าร่วมของผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำหรือจี 7   ประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและประเทศสมาชิกของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ชั้นนำของโลกหรือ BRICS ที่ประกอบด้วยบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีนและแอฟริกาใต้ ซึ่งกลุ่มประเทศพัฒนาและเศรษฐกิจเกิดใหม่หรือจี 20 มีประชากรคิดเป็นร้อยละ 63 ของประชากรโลกและร้อยละ 84 ของการลงทุนและการค้าโลก

ปัญหาต่างๆที่อาจได้รับการหารือในการประชุมจี20

บรรยากาศก่อนการประชุมผู้นำจี20 ณ ประเทศอาร์เจนตินามีความร้อนระอุเพราะมีปัญหาต่างๆที่ได้รับการหารือและจุดยืนที่แตกต่างระหว่างประเทศมหาอำนาจ โดยก่อนอื่นคือ ปัญหาช่องแคบเคิร์ชระหว่างรัสเซียกับยูเครนกำลังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับรัสเซียตึงเครียดมากขึ้น ซึ่งก่อนประชุมจี 20 นาย  โดนัลด์ ทรัมป์  ประธานาธิบดีสหรัฐได้ขู่ว่า อาจยกเลิกแผนการพบปะกับนาย วลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียนอกรอบการประชุมผู้นำจี 20 ซึ่งคำประกาศดังกล่าวของนาย นาย  โดนัลด์ ทรัมป์ มีขึ้น หลังจากที่เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน กองกำลังรักษาความมั่นคงรัสเซียได้จับเรือของกองทัพเรือยูเครน 3 ลำพร้อมลูกเรือ 24 นายในข้อหารุกล้ำเขตน่านน้ำของรัสเซียที่ช่องแคบเคิร์ชใกล้คาบสมุทรไครเมียในทะเลดำ ซึ่งรัสเซียถือปฏิบัติการดังกล่าวของยูเครนคือปฏิบัติการยั่วยุ ส่วนสหรัฐมองว่า การกระทำของรัสเซียเป็นสิ่งที่อันตรายและละเมิดกฎหมายสากล พร้อมทั้งเรียกร้องให้ดำเนินมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย แต่ทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี ซึ่งมีบทบาทเป็นหัวเรือของสหภาพยุโรป หรือ อียูได้คัดค้านการใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย และเสนอให้ใช้มาตรการทางการทูตเพื่อแก้ไขปัญหาระหว่างรัสเซียกับยูเครน

ในขณะเดียวกัน รัสเซียได้แสดงท่าทีที่รุนแรงต่อการที่สหรัฐประกาศถอนตัวจากสนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยใกล้และพิสัยกลางหรือ INF พร้อมทั้งขู่ว่า จะตอบโต้ถ้าสหรัฐปฏิบัติแผนการติดตั้งระบบขีปนาวุธพิสัยใกล้และพิสัยกลางในยุโรปและมีปฏิบัติการที่คุกคามต่อเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ในดินแดนรัสเซีย แต่ก็เผยว่า ไม่อยากมีปฏิบัติการที่ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นดังนั้นจึงพร้อมสนทนากับสหรัฐเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว

นอกจากนี้ ประชามติยังมีความวิตกกังวลว่า การประชุมจี20 อาจกลายเป็นเวทีให้สหรัฐและจีนแก้ไขปัญหาการพิพาทด้านการค้าเพราะก่อนการประชุม นาย  โดนัลด์ ทรัมป์  ประธานาธิบดีสหรัฐได้ประกาศว่า ถ้าหากการเจรจาระหว่างสหรัฐกับจีนไม่ประสบความสำเร็จ วอชิงตันจะเก็บภาษีต่อสินค้าที่ยังไม่ถูกเก็บภาษีทั้งหมดที่นำเข้าจากจีน เช่น การเก็บภาษีร้อยละ 10 ต่อโทรศัพท์มือถือไอโฟนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกที่ใช้ในครัวเรือนเป็นต้น

ก่อนหน้านั้น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ในกรอบฟอรั่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก หรือ เอเปก ณ ประเทศปาปัวนิวกีนี สหรัฐและจีนก็ได้โต้เถียงกันอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการปฏิรูปองค์การการค้าโลกและลัทธิการคุ้มครองการค้า ซึ่งความตึงเครียดระหว่าง 2 เศรษฐกิจรายใหญ่ที่สุดในโลกที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นได้สร้างความวิตกกังวลให้แก่ประชามติว่า สหรัฐและจีนจะใช้โอกาสการประชุมจี20 เพื่อโต้เถียงกันเหมือนในการประชุมผู้นำเอเปก

จี20จะสร้างโอกาสเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆได้หรือไม่

ทั้งนี้และทั้งนั้นแสดงให้เห็นว่า ยากที่จะตั้งความความหวังเกี่ยวกับการบรรลุก้าวกระโดดใดๆในการประชุมจี20 ครั้งนี้  โดยบรรดาผู้สังเกตการระหว่างประเทศได้ให้ข้อสังเกตว่า การประชุมจี20 ณ ประเทศอาร์เจนตินาจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อฝ่ายต่างๆจะให้ความเคารพซึ่งกันและกัน

สำหรับปัญหาความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีนนั้น อาจสร้างความเสี่ยงต่างๆต่อทั้ง 2 ฝ่ายถ้าหากเกิดสงครามการค้า สงครามเย็นและการปะทะกัน ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะได้รับการแก้ไขถ้าหากผู้นำทั้ง 2 ประเทศจะตกลงกันบนพื้นฐานหลักการต่างๆ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับรัสเซียก็เช่นกัน ถึงแม้ได้ตกอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด แต่ผู้นำทั้ง 2 ประเทศต่างตระหนักได้ว่า การเผชิญหน้าทางทหารจะไม่เกิดประโยชน์และการประชุมจี20 ยังคงเป็นกิจกรรมที่ได้รับการรอคอยเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ  ดังนั้น การประชุมจี20 ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินาจึงถูกจับตามองเป็นพิเศษว่า จะสามารถบรรลุก้าวกระโดดใดๆได้หรือไม่.

คำติชม