(VOVWorld) – องค์การนักข่าวไร้พรมแดนหรือRSF ได้ประกาศรายงาน“ดัชนีเสรีภาพสื่อมวลชนปี๒๐๑๓” รวมทั้ง คารมที่ผิดพลาดเกี่ยวกับสถานการณ์เสรีภาพสื่อมวลชนในเวียดนาม ซึ่งเป็นการกระทำที่กล่าวหา และบิดเบือนเสรีภาพสื่อมวลชนในเวียดนามขององค์การนี้อีกครั้ง
|
เวียดนามมีหนังสือพิมพ์หลายชนิด (Photo:Internet) |
(VOVWorld) – รายงาน“ดัชนีเสรีภาพสื่อมวลชนปี๒๐๑๓” ที่องค์การนักข่าวไร้พรมแดนหรือRSF ประกาศ เมื่อวันที่๓๐มกราคมที่ผ่านมาระบุว่า สถานการณ์เสรีภาพสื่อมวลชนในเวียดนามไม่มีสัญญาณที่ดีขึ้น ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเสรีและเวียดนามเป็นประเทศคุมขังบล๊อกเกอร์ และชาวเน็ตมากเป็นอันดับ๒ของโลก ควบคู่กับการประกาศรายงานดังกล่าว RSF ยังสัมภาษณ์สำนักงานประชาสัมพันธ์และสื่อสารที่ขาดความหวังดีต่อเวียดนามเพื่อสร้างให้รายงานฉบับนี้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้นรวมทั้งนายBenjamin Ismail ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียแปซิฟิกของRSF ซึ่งในการให้สัมภาษณ์วิทยุVOA ภาคภาษาเวียดนาม เมื่อวันที่๓๐มกราคมที่ผ่านมาได้กล่าวว่า สถานการณ์เสรีภาพสื่อมวลชนในเวียดนามกำลังเลวลงโดยอ้างอิงบล๊อกเกอร์๑๒คนและ“นักเคลื่อนไหวด้านคริสต์ศาสนาและคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแต๊นต์๑๔คนที่ถูกนำขึ้นศาลดำเนินคดีเมื่อปี๒๐๑๒ เพื่อกล่าวหาว่า รัฐเวียดนามขยายการปราบปรามเสรีภาพสื่อมวลชนและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งปั้นแต่งว่า ในเวียดนามไม่อนุญาติให้ตำหนิติติงทางการ นโยบายของรัฐ ระบบการเมืองหรือเจ้าหน้าที่บริหาร” ปัญหาอยู่ที่ว่า RSF และนายBenjamin Ismail ได้จงใจมองข้ามเนื้อหาในคำพิพากษาซึ่งระบุอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการกระทำผิดกฏหมายเวียดนามของบรรดาเป้าหมายที่พวกเขาได้อ้างอิง การที่พวกเขาจงใจเปลี่ยนขาวเป็นดำ จงใจถือบล๊อกเกอร์ที่ฉกฉวยอินเตอร์เนตกระทำความผิดละเมิดมาตราที่๘๘ ของประมวลกฏหมายทางอาญาประเทศสังคมนิยมเวียดนามเสมือนนักข่าวที่เที่ยงธรรมที่ถือกิจกรรมสื่อมวลชนเป็นอาชีพของสังคมนั้นแสดงให้เห็นถึงท่าทีที่ขาดภาวะวิสัย ไม่เคารพความจริงของRSF นอกจากนี้ วิธีการทำรายงานของRSFแสดงให้เห็นว่า พวกเขาได้เมินเฉยข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเสรีภาพสื่อมวลชนในเวียดนาม โดยไม่ทำการวิจัย สำรวจสถานการณ์ที่เป็นจริงในเวียดนาม หากเพียงทำการสำรวจในภาพรวมผ่านคำถาม๘๐ข้อและคำตอบออกมาในรูปใดก็ได้พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านเดียว แถมยังถูกบิดเบือนจากเว็ปไซต์ และบล๊อกของอิทธิพลที่เป็นอริ สัมภาษณ์บุคคลที่มีอคติและขาดความหวังดีต่อเวียดนามเพื่อทำเป็นรายงานประจำปี จากวิธีการเก็บข้อมูลและวิจัยที่ขาดวิทยาศาสตร์และขาดภาวะวิสัยเช่นนี้ รายงานดังกล่าวและรายงานอื่นๆของRSFจึงถือว่า ขาดความน่าเชื่อถือ
|
ผู้สื่อข่าวทั้งในและต่างประเทศกำลังทำข่าว (Photo:Internet) |
องค์การRSFได้รับการก่อตั้ง เมื่อปี๑๙๘๕ ที่ประเทศฝรั่งเศส ในช่วงเริ่มต้น RSF ได้พยายามทำให้ทางกลุ่มมีสิทธิส่งเสริมเสรีภาพสื่อมวลชนและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นแบบตะวันตก นี่มิใช่เป็นครั้งแรกที่RSFบิดเบือนสถานการณ์เสรีภาพสื่อมวลชนในเวียดนามและในทางเป็นจริง กิจกรรมของRSF มิใช่เพื่อผลประโยชน์ของนักข่าว RSF เคยถูกเปิดโปงว่า ได้รับเงินหลายแสนเหรียญสหรัฐจากองค์การปฏิกิริยาพลัดถิ่นเชื้อสายคิวบาต่างๆ เช่น ศูนย์กลางเพื่อคิวบาที่มีเสรีภาพ องค์การสามัคคีคิวบา และองค์การที่ต่อต้านบางหน่วยงานในเวเนซูเอลา เพื่อโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐคิวบาและรัฐบาลของนายอูโก ชาเวสจากวิกฤติทางการเมืองในเวเนซูเอลา เมื่อเดือนเมษายนปี๒๐๐๒ นอกจากนี้ RSF ยังรับเงินจากองค์การ บุคคลเพื่อเข้าร่วมการโค่นล้มประธานาธิบดีเฮติJ.B.Arístide จากวิกฤติทางการเมืองของประเทศนี้เมื่อปี๒๐๐๔ จากการเปิดWikipedia ก็ทราบได้ว่า ผลจากการสอบสวนของนักข่าว๒คนของสถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติเยอรมนีหรือWDRปรากฏว่า องค์การRSFได้รับเงินสนับสนุนนับล้านเหรียญสหรัฐจากมหาเศรษฐีGeorge Soros ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนสหภาพแรงงานSolidanoscและได้รับเงินจากกองทุนส่งเสริมประชาธิปไตยแห่งชาติหรือNED ที่ได้รับงบร้อยละ๙๐จากงบประมานแผ่นดินของสหรัฐ ด้วยเหตุนี้ เพื่อผลประโยชน์ที่ไม่ถูกต้อง ทาง RSF จึงได้ใส่สีตีไข่เกี่ยวกับเสรีภาพของสื่อมวลชนในเวียดนาม
|
ในเวียดนามจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนตนับวันยิ่งเพิ่มขึ้น (Photo:Internet) |
ต้องยืนยันว่า รัฐเวียดนามให้ความเคารพ ค้ำประกันสิทธิ์เสรีภาพสื่อมวลชน เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของพลเมืองทุกคน และเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ เพื่อให้ประเทศมีขื่อมีแปและมีเสถียรภาพเพื่อพัฒนา รัฐเวียดนามไม่อนุญาติให้ฉกฉวยสิทธินี้เพื่อโฆษณาชวนเชื่อ ยุยงส่งเสริมโค่นล้มทางการ ทำลายกลุ่มสามัคคีชนในชาติ บรรดานักข่าวเวียดนามที่RSF ได้ปกป้อง ตามข้อเท็จจริงแล้วก็เป็นเพียงแค่บล๊อกเกอร์ที่ฝ่าฝืนนโยบายและกฏหมายเวียดนาม พรรคและรัฐเวียดนามรับฟังและให้ความเคารพความคิดเห็นของประชาชนทุกหมู่เหล่าต่อการวางและปฏิบัตินโยบาย กฏหมายผ่านการรับฟังเสียงสะท้อนจากสังคมและกลไกสื่อสารมวลชน ด้วยเหตุนี้ สื่อมวลชนเวียดนามจึงเป็นสื่อกลาง รับฟังเสียงสะท้อนจากสังคมอย่างกว้างขวาง เปิดเผย มีประชาธิปไตย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพซึ่งความจริงนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงธาตุแท้ของRSFที่พยายามยกระดับกลุ่มได้มีสิทธิ์ให้ข้อสังเกตุเกี่ยวกับเสรีภาพสื่อมวลชนในเวียดนาม./.