( VOVworld )-การสนทนาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนระหว่างเวียดนามกับสหรัฐอเมริกาครั้งที่ ๑๗ ได้มีขึ้น ณ กรุงฮานอย วันที่ ๑๒ เดือนนี้ ซึ่งการสนทนาในลักษณะนี้องค์การที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศได้จัดขึ้นหลายครั้งในหลายปีที่ผ่านมาเพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนระหว่างสองประเทศมากขึ้น อันเป็นการมีส่วนร่วมผลักดันความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับสหรัฐอเมริกาให้พัฒนามากขึ้น แต่สิ่งที่ต้องกล่าวถึงในขณะนี้คือ ก่อนการสนทนาดังกล่าวหนึ่งวัน สภาล่างสหรัฐได้เปิดการอภิปรายพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้เฝ้าติดตามอิสระเกี่ยวกับสถานการณ์และสำเนาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในเวียดนาม ซึ่งถือเป็นการจัดฉากขององค์การและบุคคลที่ไม่หวังดีต่อเวียดนามในการใช้ปัญหาสิทธิมนุษยชนเพื่อต่อต้านเวียดนาม
|
โยสถ์ที่กรุงฮานอย |
หากการอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเวียดนามปัจจุบันโดยสภาล่างอเมริกาจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๑ เมษายนที่ผ่านมา ณ กรุงวอชิงตันตรงกับเป้าหมายคือ ทาบทามความคิดเห็นของผู้เฝ้าติดตามปัญหาสิทธิมนุษยชนของเวียดนามอย่างอิสระนั้น ผู้ที่เข้าร่วมการพิจารณาต้องเป็นนักเคลื่อนไหว ตัวแทนองค์การและบุคคลที่เฝ้าติดตามปัญหาสิทธิมนุษยชนมีความรู้ความเข้าใจและมีความรับผิดชอบโดยเฉพาะต้องมีอิสระไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ในทางกลับกัน ผู้ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมการพิจารณาดังกล่าวล้วนเป็นฝ่ายต่อต้านและบิดเบือนปัญหาสิทธิมนุษยชนในเวียดนามไม่ว่าจะเป็นหวอวันอ๊ายที่เคยสมคบกับพวกที่อยู่ในประเทศที่ฉกฉวยโอกาสทางการเมืองและพวกปฏิกิริยาในการใช้ศาสนา ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนเป็นเครื่องมือยั่วยุให้เกิดการต่อต้านทำลายประเทศ อีกบุคคลที่ได้เข้าร่วมการอภิปรายคือ นายจอห์น ชิฟตั้น ผู้อำนวยการดูแลการรณรงค์ภูมิภาคเอเชียขององค์การฮิวเม้นท์ ไรทส์ วอตช์ได้จงใจป้ายสีสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเวียดนามจากคดีที่ทั้งจำเลยและผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆได้ฝ่าฝืนกฎหมายของประเทศ และอีกตัวอย่างคือ นายเจิ่นเตี๊ยนที่พวกเขาถือว่าเป็นเหยื่อด้านสิทธิมนุษยชน แต่ที่จริงเขาได้มีพฤติกรรมละเมิดกฎหมายในกรณีก่อความวุ่นวาย ณ โก่นเหยิ่ว นครดานังและถูกดำเนินคดีตามกฎหมายของเวียดนาม เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า การที่คนเหล่านั้ได้เข้าร่วมการอภิปรายจะทำให้สภาล่างสหรัฐไม่ได้รับฟังความคิดเห็นที่เป็นอิสระและเป็นคำอภิปรายที่ล้วนแต่มีความเอนเอียง
ปัญหาที่ต้องกล่าวถึงอีกคือ คณะกรรมาธิการต่างประเทศแห่งสภาล่างสหรัฐอเมริกาเคยจัดการอภิปรายในลักษณะนี้หลายต่อหลายครั้งจึงสามารถเห็นภาพรวมเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในเวียดนามที่ขาดภาวะวิสัย ซึ่งเห็นได้ชัดคือ ก่อนการอภิปราย นายคริสต์ สมิท ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งคณะกรรมการต่างประเทศสภาล่างสหรัฐได้เผยว่า การประชุมจะเน้นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเวียดนามโดยเฉพาะสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาและชาติพันธุ์ โดยพยานบุคคลพิเศษจะเสนอหลักฐานที่ชัดเจนให้กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเพื่อที่จะได้หยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาหารือในการสนทนาเรื่องสิทธิมนุษยชนระหว่างเวียดนามกับสหรัฐในวันที่ ๑๒ เดือนนี้ ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า จากเจตนาที่ไม่หวังดีดังกล่าว การพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของเวียดนามไม่ได้รับความคิดเห็นของผู้เฝ้าติดตามอิสระ หากเพื่อเป้าหมายเรียกความสนใจเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนของเวียดนามมากขึ้นเพื่อต่อต้านและทำลายเวียดนาม
สิทธิมนุษยชนเป็นปัญหาใหญ่ที่มีลักษณะความเป็นมนุษย์และสังคมที่เราทุกคนต่างมุ่งสู่การปฏิบัติอย่างดีที่สุด ดังนั้น เวียดนามกับสหรัฐอเมริกาได้ตระหนักดีถึงปัญหานี้จึงได้จัดการสนทนา ๑๖ ครั้งแล้วนับตั้งแต่ทั้งสองประเทศปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติเมื่อปี ๑๙๙๕ และกำลังจัดการสนทนาครั้งที่ ๑๗ ซึ่งในการสนทนาต่างๆดังกล่าวทั้งฝ่ายสหรัฐและเวียดนามได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่แต่ละฝ่ายให้ความสนใจในด้านสิทธิมนุษยชนอย่างตรงไปตรงมา โดยฝ่ายสหรัฐมีข้อครหาเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนในเวียดนาม ส่วนฝ่ายเวียดนามนั้นก็ย้ำถึงข้อครหาของตนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนในสหรัฐ ขอยกตัวอย่างเช่น ในการสนทนาเกี่ยวกับกับสิทธิมนุษยชนครั้งที่ ๑๖ ที่ผ่านมาระหว่างสหรัฐกับเวียดนาม ณ กรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๐๑๑ เวียดนามได้หยิบยกปัญหาที่ยังคั่งค้างอยู่ของสหรัฐในการปกป้องและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ โดยเน้นในปัญหาการทารุณกรรมนักโทษ ปัญหาการเหยียดเชื้อชาติและเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มชนส่วนน้อยและคนเข้าเมือง ซึ่งการสนทนาทุกครั้งได้เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา เปิดเผย เสมอภาคและเคารพกันเพื่อลดความขัดแย้งและเพิ่มความเข้าใจกันในปัญหาสิทธิมนุษยชนของแต่ละประเทศมากขึ้น
ทั้งนี้และทั้งนั้นแสดงให้เห็นว่า การสนทนาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งและเป็นช่องทางหลักเพื่อลดความคิดเห็นที่แตกต่างกันในปัญหาสิทธิมนุษยชนระหว่างเวียดนามกับสหรัฐที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสองประเทศได้ปฏิบัติอย่างจริงจังในหลายปีที่ผ่านมาเพื่อมุ่งสู่การสร้างกรอบความร่วมมือหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่สร้างสรรค์ มิตรภาพและร่วมมือในหลายด้านบนพื้นฐานของความเสมอภาค เคารพซึ่งกันและกันเพื่อประโยชน์ร่วมกันระหว่างเวียดนามกับสหรัฐอเมริกา ดังนั้น แม้องค์การและบุคคลที่ไม่หวังดีต่อเวียดนามจงใจบิดเบือนปัญหาสิทธิมนุษยชนในเวียดนามโดยจัดการประชุมต่างๆในลักษณะการพิจารณาดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเพื่อขยายความสนใจต่อเวียดนามก็ยากที่จะเปลี่ยนกระแสการสนทนาที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของทั้งสองชาติและประชาชนทั้งสองประเทศและกำลังมาแรงในปัจจุบันได้ ./.