การทำธุรกิจ Start-up ในประเทศต่างๆกำลังมีความคึกคัก ซึ่งรวมทั้งประเทศเวียดนาม |
ในหลายปีมานี้ การทำธุรกิจ Start-up ในประเทศต่างๆกำลังมีความคึกคัก ซึ่งรวมทั้งประเทศเวียดนาม ที่ได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษจากรัฐบาล โดยควบคู่กับความสะดวกจากนโยบายต่างๆของรัฐบาลแล้ว บทบาทของสถานประกอบการขนาดใหญ่ในการสนับสนุนสถานประกอบการ start-up ถือว่ามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในด้านเงินทุน เทคโนโลยีและการเชื่อมต่อเข้าห่วงโซ่การผลิตและเข้าถึงตลาดต่างๆ
ที่นครโฮจิมินห์ มีศูนย์ประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือ SIHUB ซึ่งเป็นจุดนัดพบของสถานประกอบการในการทำธุรกิจ start-up และติดต่อกับสถานประกอบการอื่นๆ ซึ่งมีสถานประกอบการ start-up หลายแห่งที่ประสบความสำเร็จ จากการช่วยเหลือของศูนย์ฯนี้ สามารถจำหน่ายสินค้าในตลาดและเข้าร่วมห่วงโซ่การผลิตของสถานประกอบการใหญ่ ตลอดจนสามารถดึงดูดเงินทุนทั้งภายในและต่างประเทศอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม กระบวนการทำธุรกิจ start-up นั้นยังขาดความเข้มแข็งในการเชื่อมโยงและความโปร่งใสในการพัฒนาเพราะสถานประกอบการ start-up รอคอยความช่วยเหลือจากสถานประกอบการขนาดใหญ่มากเกินไป ส่วนสถานประกอบการขนาดใหญ่ก็ขาดความเชื่อมั่นต่อสถานประกอบการ start-up
นาย เจิ่นแองต๊วน ผู้อำนวยการบริษัทหุ้นส่วนเทคโนโลยี ซาวบั๊กเด๋า ซึ่งในปี 2018 ได้สนับสนุนโครงการ start-up 5 โครงการแสดงความคิดเห็นว่า เมื่อเข้าร่วมการทำธุรกิจ สถานประกอบการ start-up ต้องตอบสนองเงื่อนไขพื้นฐาน 10 ข้อ เช่น เงินทุน เทคโนโลยี การบริหาร การเข้าร่วมห่วงโซ่การผลิตและการตลาด แต่สถานประกอบการ start-up ของเวียดนามส่วนใหญ่มีแค่ 1-2 เงื่อนไขเท่านั้น และมักกลัวว่า จะถูกสถานประกอบการขนาดใหญ่ควบกิจการ นายต๊วนกล่าวว่า “เมื่อขอความช่วยเหลือจากสถานประกอบการขนาดใหญ่ สถานประกอบการ start-up จะได้รับคำปรึกษา เงินทุนและมีตลาดที่กว้างใหญ่มากขึ้นแต่มักจะกลัวว่า อาจถูกควบรวมกิจการ ในฐานะผู้บริหารสถานประกอบการใหญ่ ผมขอยืนยันว่า เราอยากร่วมมือกับสถานประกอบการ start-up เพื่อประยุกต์ใช้มาตรการที่ดีนั้นพร้อมกับมาตรการต่างๆของเรา เราจะไม่ลงทุนตามรูปแบบเข้าไปแทรกแซงกิจการอื่น”
การทำธุรกิจ start-up ต้องการการสนับสนุนในด้านต่างๆ |
จากการปฏิบัติจริงก็เห็นได้ว่า การทำธุรกิจ start-up ต้องการการสนับสนุนในด้านต่างๆ รวมไปถึงนโยบาย การตลาด นักลงทุน ที่ปรึกษาและนักวิทยาศาสตร์ แต่สถานประกอบการ start-up ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อสถานประกอบการขนาดใหญ่ได้ นาย เหงียนเหวียดดึ๊ก ผู้อำนวยการบริษัทหุ้นส่วนบริหารการลงทุน start-up เชิงสร้างสรรค์ในเวียดนามวิเคราะห์ว่า “ เมื่อเรียกเงินทุน สถานประกอบการ start-up ส่วนใหญ่เน้นแต่การแนะนำผลิตภัณฑ์ของตนโดยลืมเรื่องการทำธุรกิจไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงแผนการเจาะตลาด ทักษะความสามารถในการแข่งขันและจุดแข็งที่มี รวมไปถึงความเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญ จึงทำให้สถานประกอบการขนาดใหญ่ไม่สามารถเชื่อมั่นได้เต็มที่
ในหลายปีมานี้ พื้นฐานของอุตสาหกรรม 4.0 ได้สร้างปัจจัยต่างๆต่อการพัฒนาและแนะแนวทางใหม่ช่วยให้สถานประกอบการปฏิรูป ขยายการเชื่อมโยงและเปิดโอกาสให้แก่สถานประกอบการ start-up แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สถานประกอบการ start-up สามารถเข้าห่วงโซ่ start –up โลกได้ จำเป็นต้องมีการเตรียมมาตรฐานและวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม โดยเฉพาะเสนอมาตรการที่สถานประกอบการใหญ่ๆในเวียดนามและโลกกำลังปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพต่อสถานประกอบการ start-up นาย หว่างมิงห์ชี้ ผู้อำนวยการ AiPac ซึ่งเป็นหนึ่งใน start-up ที่ประสบความสำเร็จในซิลิคอนแวลเลย์ของสหรัฐและกำลังลงทุนให้แก่สถานประกอบการ start-up เผยว่า “ความได้เปรียบของ start-up เวียดนามคือมีความสามารถในด้านซอฟแวร์ มีความเข้าใจตลาดเวียดนาม นี่คือปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้บริษัทต่างชาติให้ความสนใจเพราะสถานประกอบการ start-up ของเวียดนามจะช่วยให้บริษัทเหล่านี้เจาะตลาดเวียดนามได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เรามีโอกาสร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีมากขึ้น”
ส่วนนาย เหงียนหว่าง รองผู้อำนวยการฝ่ายอาหารของเครือบริษัทหลกเจ่ย ที่ประกอบการด้านการเกษตรได้ยืนยันว่า ในห่วงโซ่มูลค่าไม่ว่าแขนงใด จำเป็นต้องมีสถานประกอบการใหญ่เป็นแกนหลัก เพื่อสนับสนุนสถานประกอบการ start-up พัฒนาอย่างเข้มแข็งมั่นคงในห่วงโซ่การผลิตนั้นๆ.