การลงทุนเชิงลึกช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกผักและผลไม้

Minh Long
Chia sẻ
(VOVworld) - ผักและผลไม้คือสินค้าแถวหน้าของการส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตรของเวียดนาม โดยมูลค่าการส่งออกใน 8 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 130 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และคาดว่า มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์นี้ในปี 2016 จะอยู่ที่ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มูลค่าการส่งออกผักและผลไม้สูงกว่ามูลค่าการส่งออกข้าวและสร้างความสมดุลให้แก่อัตราการขยายตัวของภาคการเกษตร

(VOVworld) - ผักและผลไม้คือสินค้าแถวหน้าของการส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตรของเวียดนาม โดยมูลค่าการส่งออกใน 8 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 130 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และคาดว่า มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์นี้ในปี 2016 จะอยู่ที่ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มูลค่าการส่งออกผักและผลไม้สูงกว่ามูลค่าการส่งออกข้าวและสร้างความสมดุลให้แก่อัตราการขยายตัวของภาคการเกษตร

การลงทุนเชิงลึกช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ - ảnh 1
การผลิตลิ้นจี่เพื่อการส่งออกในจังหวัดหายเยือง (Photo: baotintuc.vn)

ในรอบ 10ปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้ของเวียดนามได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ย้อนไปเมื่อปี 2005 เวียดนามได้ส่งออกผักและผลไม้ไปยัง 36 ประเทศและดินแดน มูลค่าการส่งออกบรรลุกว่า 235 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเมื่อปี 2015 ผลไม้ของเวียดนามได้ส่งออกไปยัง 60 ประเทศและดินแดน มูลค่าการส่งออกอยู่ที่กว่า 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  ส่วนในรอบ 8 เดือนที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกผักและผลไม้อยู่ที่ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 130 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การดึงดูดการลงทุนจากสถานประกอบการต่างๆ เปลี่ยนแปลงจิตสำนึกเกี่ยวกับการผลิตเกษตรปลอดสารพิษตามมาตรฐาน VietGap และ GlobalGap นาย ย๊าปวันแถ่ง หัวหน้ากลุ่มความร่วมมือผลิตลิ้นจี่เพื่อส่งออกไปยังสหรัฐในหมู่บ้านแก๊ป 1 ตำบลห่งยาง อำเภอหลูกหง่าน จังหวัดบั๊กยางได้เผยว่า“หมู่บ้านแก๊ป 1 มี 270 ครบครัว แต่โครงการปลูกลิ้นจี่กำลังปฏิบัติในพื้นที่ 6 เขตเท่านั้น ดังนั้น จึงมีหลายครอบครัวที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้ พวกเราหวังว่า จะมีการขยายเขตปลูกลิ้นจี่เพื่อการส่งออกเพื่อให้ครบครัวต่างๆในหมู่บ้านแก๊ป 1และตำบลห่งยางสามารถเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้”
นอกเหนือจากการครองส่วนแบ่งในตลาดเดิมแล้ว ในเวลาที่ผ่านมา ได้มีการเจาะตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะตลาดที่ต้องการผลิตภัณฑ์ผลไม้ที่มีคุณภาพสูง เช่น สหรัฐ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี แคนาดาและออสเตรเลีย เป็นต้น  ในปี 2016 เวียดนามได้ส่งออกลิ้นจี่ไปยังออสเตรเลียและสหรัฐและมีแผนส่งออกมะม่วงไปยังออสเตรเลีย นาย เหงวียนจี๊หงอก จากบริษัทหุ้นส่วนเตี๊ยนโบ่ะก๊วกเต๊สังกัดเครือบริษัท AIC ซึ่งเป็นบริษัทส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรและลงทุนด้านการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงได้เผยว่า การเจาะตลาดใหม่ๆที่มีความต้องการคุณภาพในระดับสูงนั้นจะช่วยให้เกษตรกรเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกและวิธีการผลิตจากการขายสิ่งที่มีอยู่เป็นการขายสินค้าตามความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจอย่างกว้างลึกในปัจจุบัน“ในการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลก ต้องทำการผลิตตามห่วงโซ่คุณค่าเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรเวียดนามอย่างยั่งยืนและสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกร ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ส่งออกสินค้าเพราะคุณภาพสินค้าถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการประกอบธุรกิจและความร่วมมือกับหุ้นส่วนในต่างประเทศ”
ส่วนนาย เจิ่นดิ่งลอง นายกสมาคมพันธุ์พืชเวียดนามได้เผยว่า ศักยภาพด้านการส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามยังมีสูงมากและสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้“ตลาดผักและผลไม้มีความต้องการสูง ส่วนเวียดนามมีศักยภาพอีกมากในส่งออกผักและผลไม้ โดยเกษตรกรได้เริ่มตระหนักและเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตแบบปลอดสารพิษและเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรตามมาตรฐาน VietGap โดยเฉพาะการเข้าร่วมของสถานประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและการใช้พันธุ์พืชที่มีคุณภาพจากสถาบันวิจัยต่างๆ ซึ่งช่วยให้โครงการปลูกผักและผลไม้เพื่อการส่งออกดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”
แต่อย่างไรก็ตาม อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในปัจจบันคือข้อกำหนดเกี่ยวกับการตรวจโรคพืชและความปลอดภัยด้านอาหารสำหรับการส่งออก โดยนอกเหนือจากการปฏิบัติโครงการปลูกผักและผลไม้ตามมาตรฐานต่างๆแล้ว ผู้ประกอบการเวียดนามต้องศึกษาเกี่ยวกับข้อกำหนดในด้านนี้ของประเทศนำเข้า นาย เลเซินห่า หัวหน้าสำนักงานตรวจโรคสัตว์และพืชสังกัดกรมกักกันโรคพืชและสัตว์ของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทได้เผยว่า“ผลไม้เวียดนามได้รับการส่งออกไปยังตลาดต่างๆที่ต้องการสินค้าคุณภาพสูง ดังนั้น ในเวลาข้างหน้า พวกเราจะต้องทำการวิจัยตลาดที่มีความต้องการสูง พร้อมทั้งใช้ประโยชน์จากตลาดต่างๆที่มีศักยภาพในอาเซียนและจีนและวางมาตรการต่างๆที่เหมาะสม”
มูลค่าส่งออกผักและผลไม้ในช่วงต้นปี 2016 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในสภาวการณ์ที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรอื่นๆชลอตัว ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ศักยภาพของการผลิตผักและผลไม้จะเพิ่มมากขึ้นถ้าหากได้รับการลงทุนอย่างเหมาะสม นอกเหนือจากการผลักดันการวางผังเขตปลูกผักและผลไม้ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการผลิตและใช้พันธุ์พืชที่มีคุณภาพแล้ว ผู้ประกอบการและเกษตรกรกำลังให้ความสนใจลงทุนด้านอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรเพื่อการส่งออก.

Feedback