นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง เข้าร่วมการประชุม Vietnam Business Forum |
การประชุม Vietnam Business Forum (VBF) จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ Restoring & Developing Supply Chain in the New Normal เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ณ กรุงฮานอย โดยมีนายนิกรเดช พลางกูร เอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย และนายปิยะพงษ์ จริยเศรษฐพงศ์ ประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมไทยในเวียดนามThaiCham - Thai Chamber of Commerce and Industry in Vietnam เข้าร่วม
ในการประชุมดังกล่าว นาย ฝ่ามมิงชิ้ง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม พร้อมด้วยนาย เหงียนชี้หยุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน (MPI) และผู้บริหารจากกระทรวงเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องได้เข้าร่วมรับฟังข้อเสนอจากภาคเอกชน หอการค้าต่างประเทศในเวียดนาม และองค์การระหว่างประเทศ โดยนายกรัฐมนตรีเวียดนามแสดงความขอบคุณภาคเอกชนและองค์การระหว่างประเทศที่มีส่วนสำคัญทำให้เวียดนามรับมือและฟื้นตัวจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พร้อมขอให้ภาคเอกชนและองค์การระหว่างประเทศสนับสนุนให้เวียดนามสามารถบรรลุเป้าหมายการเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี ค.ศ. 2045 รวมถึงเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero) ภายในปี ค.ศ. 2050 ตามที่ได้แสดงความมุ่งมั่นในการประชุม COP26
อนึ่ง การประชุม VBF จัดขึ้นทุกปีด้วยความร่วมมือของหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) และหอการค้าต่างประเทศในเวียดนาม เพื่อเป็นเวทีระดังสูงในการแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะทางนโยบายระหว่างภาครัฐ-ภาคเอกชน โดยการประชุม VBF ในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ผู้แทนภาคเอกชนไทยเข้าร่วมในฐานะ ThaiCham
ภาพของพิธีต้อนรับ |
เมื่อบ่ายวันที่ 16 กุมภาพันธ์ นาย ฝามมิงชิ้ง นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้ให้การต้อนรับนาย รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่เครือบริษัทเอสซีจีและคุณ สมหะทัย พานิชชีวะ กรรมการบริษัท อมตะวีเอ็น จำกัด ในการนี้ นายกรัฐมนตรี ฝามมิงชิ้งได้ชื่นชมเครือบริษัท เอสซีจี ที่ได้พยายามผลักดันการปฏิบัติโครงการก่อสร้างโรงกลั่นปิโตรเคมีภาคใต้ในเขตนิคมอุตสาหกรรมลองเซิน จังหวัดบ่าเหรียหวุงเต่า ในสภาวการณ์ที่เต็มไปด้วยอุปสรรคเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 พร้อมทั้ง เสนอให้ทางเครือบริษัทฯประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นต่างๆของเวียดนามเพื่อให้โครงการนี้ดำเนินงานตามกำหนด ค้ำประกันความปลอดภัยและประสิทธิภาพ มุ่งสู่การลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี จัดสรรแหล่งเชื้อเพลิงที่สำคัญให้แก่หน่วยงานอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศ สร้างโอกาสการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสะอาดในการปฏิบัติโครงการนี้ ช่วยเหลือเวียดนามในการเพิ่มทักษะความสามารถด้านธรรมาภิบาลและดึงดูดแหล่งเงินทุนต่างๆ นายกรัฐมนตรี ฝามมิงชิ้งได้เสนอให้บริษัท อมตะ พิจารณาการขยายการลงทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในเวียดนาม เป็นสะพานเชื่อมเพื่อนำเครือบริษัทของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะของไทยเข้ามาลงทุนในเวียดนามในสภาวการณ์ที่แหล่งเงินเอฟดีไอในโลกกำลังกำหนดห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่า ส่วนผู้บริหารของเครือเอสซีจีและอมตะได้แจ้งให้นายกรัฐมนตรีเวียดนามรับทราบกระบวนการปฏิบัติโครงการก่อสร้างโรงกลั่นปิโตรเคมีภาคใต้ ซึ่งเป็นโครงการที่มียอดเงินลงทุนมากที่สุดของเครือบริษัทเอสซีจี คือกว่า 5.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่า ในระยะที่ 2 จะลงทุนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนและมีข้อเสนอที่เกี่ยวข้องถึงการปฏิบัติโครงการต่างๆในเวียดนาม.
นาย ฟานชี้แถ่ง เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทยเข้าเยี่ยมคารวะนาย ศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองของไทย (TTXVN) |
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ นาย ฟานชี้แถ่ง เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทยได้เข้าเยี่ยมคารวะนาย ศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองของไทย ในการนี้ เอกอัครราชทูต ฟานชี้แถ่งได้ยืนยันว่า เวียดนามเน้นผลักดันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับไทย โดยเฉพาะการผลักดันการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยกับจังหวัดต่างๆในภาคกลางเวียดนาม ให้ความช่วยเหลือสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมของทั้งสองประเทศผลักดันความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน ในโอกาสนี้ ท่านเอกอัครราชทูตฯได้แสดงความประสงค์ว่า รัฐบาลไทยจะให้ความสนใจและเอื้อให้แก่ชมรมชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในการปรับตัวเข้ากับสังคม มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของไทยและความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ
ส่วนนาย ศุภชัย โพธิ์สุ ได้ชื่นชมส่วนร่วมของชมรมชาวไทยเชื้อสายเวียดนามต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของไทย รัฐสภาไทยให้ความสนใจต่อชมรมชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม.
บรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียและมหาวิทยาลัยดานังผ่านระบบทางไกล |
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ได้มีการจัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute Of Technology: AIT) และมหาวิทยาลัยดานังผ่านระบบทางไกล ในการกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุม นางสาววีรกา มุทิตาภรณ์ กงสุลใหญ่ไทย ณ นครโฮจิมินได้ยืนยันความพร้อมในการสนับสนุนกิจกรรมความร่วมมือระหว่างสถาบันทั้งสองแห่ง ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เท่าทันโลกในยุคชีวิตวิถีใหม่ และส่งเสริมประโยชน์ร่วมกันของไทย เวียดนาม และภูมิภาคโดยรวม
การลงนามใน MoU นี้เป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างสองมหาวิทยาลัยชั้นนำของภูมิภาค โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และโครงการวิจัย ผ่านกิจกรรมทั้งในด้านการศึกษา การวิจัย และการฝึกอบรม อาทิ โครงการแลกเปลี่ยนบุคคลากร การจัดสัมมนาวิชาการ การพัฒนาและเปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรเฉพาะทาง เป็นต้น