(VOVworld) – ในระยะปี 2011 – 2015 อัตราครอบครัวยากจนในเวียดนามได้ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี โดยเฉพาะจำนวนอำเภอที่ยากจนได้ลดลงกว่าร้อยละ 6 ต่อปี ซึ่งได้มีส่วนร่วมต่อเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ค้ำประกันสวัสดิการสังคมและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น โดยเฉพาะประชาชนในเขตที่ห่างไกลความเจริญและเขตทุรกันดาร
เวียดนามแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนและปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ |
รัฐบาลเวียดนามได้อนุมัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนช่วงปี 2016-2020 โดยใช้เงินทุนกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะลดจำนวนครอบครัวยากจนในทั่วประเทศเฉลี่ยร้อยละ 1-1.5 ต่อปีตามมาตรฐานความยากจนในหลายมิติที่บังคับใช้ในระยะปี 2016-2020 ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของคนจนให้ดีขึ้น ค้ำประกันรายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวยากจนในปลายปี 2020 ขึ้นเป็น 1.5 เท่าเมื่อเทียบกับปลายปี 2015
จุดใหม่ของโครงการคือการผนวกโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนต่างๆ เช่น โครงการสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจนอย่างรวดเร็วและยั่งยืนให้แก่ 61 อำเภอที่ยากจนหรือโครงการ 30 a และโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ – สังคมให้แก่ตำบลที่ยากจนพิเศษในเขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขาหรือโครงการ 135 ส่วนการวัดระดับความยากจนนั้นก็อ้างอิงตามมาตรฐานความยากจนในหลายมิติโดยรายได้เป็นมาตรฐานหลัก โดยเฉพาะมีการเปลี่ยนแปลงจากการแจกเงินบริจาคมาเป็นการสนับสนุนด้วยเงื่อนไขเพื่อยกระดับความรู้และความรับผิดชอบของผู้ยากจนในการพัฒนาการผลิตและประกอบธุรกิจเพื่อหลุดพ้นจากความยากจนอย่างค่อยเป็นค่อยไป นายเวืองดิ่งเหวะ รองนายกรัฐมนตรีเวียดนามยืนยันว่า “การแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนตามมาตราฐานความยากจนในหลายมิติเป็นแนวทางที่ยิ่งใหญ่ของรัฐเวียดนามในปัจจุบัน ซึ่งรัฐได้อำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้ผู้ยากจนมีความพยายามหลุดพ้นจากความยากจน สร้างฐานะและลดช่องว่างระหว่างภูมิภาคและระดับประชาชน ภารกิจดังกล่าวจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อสามารถระดมพลังที่เข้มแข็งของปวงชน ระบบการเมือง พลังภายในประเทศและความช่วยเหลือจากประชาคมระหว่างประเทศ”
ในระยะปี 2011-2015 รัฐบาลได้ประกาศแนวทาง นโยบายและโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ซึ่งมีส่วนร่วมค้ำประกันสวัสดิการสังคม ผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยลดจำนวนครอบครัวที่ยากจนในทั่วประเทศ จากร้อยละ 14.2 ในปี 2010 เหลือร้อยละ 4.25 ในปี 2015 หรือเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปีตามมาตรฐานความยากจนช่วงปี 2011-2015 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของครอบครัวยากจนในทั่วประเทศได้เพิ่มขึ้น 1.6 เท่าเมื่อเทียบกับปลายปี 2011 รูปแบบการผลิตที่สามารถช่วยให้ประชาชนหลุดพ้นจากความยากจนได้รับการขยายผลไปทั่วประเทศ นางเจี่ยวถิเหื่อง เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในจังหวัดบั๊กก๋านเผยว่า “ดิฉันปฏิบัติโครงการนี้ก็เพื่อให้ครอบครัวของดิฉันหลุดพ้นจากความยากจนแล้วก็มีส่วนร่วมต่อการแก้ปัญหาความยากจนในท้องถิ่น เรามีความยินดีเป็นอย่างมากเพราะไม่ต้องปลูกผักชนิดอื่น โดยเราปลูกผักที่เราคุ้นเคย ส่วนราคาของผักปลอดสารพิษก็สูงกว่าและมีการรับจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้วย ซึ่งทำให้พวกเรามีความมั่นใจและมีรายได้สูงขึ้น หมายความว่า เราสามารถใช้แหล่งพลังของตนเพื่อแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน”
ปัจจุบันนี้ แหล่งพลังเพื่อปฏิบัตินโยบายและโครงการแก้ปัญหาความยากเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน นายโงเจื่องที อธิบดีกรมและหัวหน้าสำนักงานแห่งชาติว่าด้วยการแก้ปัญหาความยากจน สังกัดกระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมกล่าวว่า “ เรามีแผนที่สะท้อนความยากจนของแต่ละท้องถิ่น นี่คือพื้นฐานที่ช่วยให้สำนักงานวางแผนและนโยบายพิจารณาเพื่อเสนอมาตรการแก้ไขอย่างเหมาะสม ส่วนการจัดสรรแหล่งพลังก็ต้องคำนึงถึงจุดอ่อนของท้องถิ่นต่างๆเพื่อมีมาตรการแก้ไข เช่น มีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและการประกันสุขภาพ”
การแก้ปัญหาความยากจนคือแนวทางที่ยิ่งใหญ่ของพรรคและรัฐเวียดนามเพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ทั้งด้านวัตถุและจิตใจของประชาชนให้ดีขึ้น ซึ่งมีส่วนร่วมลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างท้องถิ่น ซึ่งได้อำนวยความสะดวกให้ผู้ยากจนเข้าถึงการบริการขั้นพื้นฐานด้านสังคมและโครงการสาธารณูปโภคในอำเภอและตำบลที่ยากจนได้รับการยกระดับให้ดีขึ้น ทั้งนี้ได้รับคำชื่นชมจากประชาคมระหว่างประเทศและสะท้อนความตั้งใจของเวียดนามในการปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติที่เวียดนามได้ให้ภาคียานุวัต.