เดือนแห่งกรรมกร ศึกษาชีวิตของคนทำเหมืองถ่านหิน

Truong Giang-Bui Hang /VOV
Chia sẻ
(VOVWORLD) -สำหรับชาวเวียดนาม เมื่อพูดถึงชีวิตของกรรมกรเหมืองถ่านหินก็มักจะมีคำที่ติดปากกันว่า “กินข้าวในโลกบนดิน ทำงานในโลกใต้ดิน” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบากของผู้ที่ต้องทำงานในชั้นใต้ดินลึกเป็นร้อยเมตร ในโอกาสเดือนพฤษภาคมเดือนแห่งกรรมกรเพื่อยกย่องสดุดีกรรมกรผู้ใช้แรงงาน ขอเชิญท่านร่วมกับนักข่าวของวิทยุเวียดนามไปศึกษาบรรยากาศการทำงานของกรรมกรเหมืองถ่านหินที่จังหวัดกว๋างนิงห์
เดือนแห่งกรรมกร ศึกษาชีวิตของคนทำเหมืองถ่านหิน - ảnh 1(Photo internet) 

เวลาตี5ครึ่งเช้าวันหนึ่ง เราได้เดินทางถึงบริษัทถ่านหินห่าเหลิ่ม นครฮาลอง จ.กว๋างนิงห์ และร่วมในกลุ่มกับกรรมกรหลายสิบคนที่กำลังเตรียมลงเหมืองกะแรกของวัน โดยตารางการทำงานของกรรมกรที่นี่แบ่งเป็น3กะภายในเวลา24ชั่วโมง  ในเขตถ่านหินกว๋างนิงห์นั้นมีเหมืองถ่านหินหลายแห่งที่มีกรรมกรกว่า1หมื่นคน

ก่อนที่จะลงไปในเหมืองใต้ดิน กรรมกรทุกคนต้องใส่ชุดยูนิฟอร์มของเหมืองและรับอุปกรณ์ที่จำเป็นเช่นไฟฉาย ถังออกซิเจนส่วนบุคคล พร้อมขนมปังและนมกล่องเพื่อทานเติมกำลังในช่วงพักระหว่างการทำงานเป็นเวลา8ชั่วโมง ส่วนผู้ควบคุมกรรมกรแต่ละหน่วยจะแบ่งงานอย่างละเอียดและตะโกนคำขวัญย้ำถึงการทำงานอย่างปลอดภัยให้ทุกคนพูดตามเพื่อเป็นการสร้างกำลังใจก่อนเข้างาน ต่อจากนั้นเราและกลุ่มกรรมกรได้เดินไปที่ลิฟต์ขนส่งเพื่อลงไปในเหมืองซึ่งอยู่ในความลึกต่ำกว่าระดับน้ำทะเล300เมตร เเละในระหว่างทางเราได้คุยกับกรรมกรหลายคนเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับบรรยากาศการทำงานของชาวเหมือง

เมื่อก่อนนี้การทำเหมืองนั้นลำบากมาก เราต้องเดินเท้าเข้าไปในเหมืองพร้อมขนอุปกรณ์เข้าเหมืองเองแต่เดี๋ยวนี้มีเครื่องมือที่ทันสมัยซึ่งช่วยงานได้มาก มีขบวนรถรางส่งเข้าใกล้จุดทำงาน ความปลอดภัยก็เพิ่มขึ้นช่วยให้เรามั่นใจทำงานมากขึ้น ปริมาณการผลิตก็เพิ่มขึ้นช่วยให้รายได้สูงขึ้นตามไปด้วย”

ผมทำงานที่นี่มา24ปีแล้ว ซึ่งตอนแรกก็ไม่ค่อยถนัดเพราะเราทำงานในที่มีแสงสว่างธรรมชาติแต่เมื่อเข้าเหมืองแล้วจะมืดมากแต่นานๆไปก็ชินแถมได้รับการช่วยเหลือแนะนำจากรุ่นพี่ เดี๋ยวนี้เราก็เป็นคนที่แนะนำช่วยเหลือคนใหม่ให้ปรับตัวเข้ากับงานได้ดี”

เดือนแห่งกรรมกร ศึกษาชีวิตของคนทำเหมืองถ่านหิน - ảnh 2(Photo internet) 

ลักษณะพิเศษของงานพร้อมอุปสรรคต่างๆพร้อมความเสี่ยงที่อันตรายได้ช่วยให้กรรมกรทำเหมืองมีความผูกพันธ์กันเหมือนสหายพี่น้องและยังสามารถสร้างเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมเฉพาะสำหรับคนทำเหมืองและเป็นเเรงบันดาลใจในการผลิตศิลปิน นักเขียน นักกวีชื่อดังที่เป็นกรรมกรหลายคน หลังจากอำลากลุ่มกรรมกรที่เข้าเหมืองทำงานตามกะแล้ว เราได้พบกลุ่มกรรมกรที่เพิ่งเสร็จงานของกะที่3และกำลังออกจากเหมืองเพื่อกลับหอพัก แม้ฝุ่นดำของถ่านติดเต็มตัวและใบหน้าดูจะเหนื่อยแต่เมื่อเราขอถ่ายภาพและอยากพูดคุยเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา ทุกคนต่างก็ยิ้มแย้มยินดี เมื่อเล่าถึงการดำเนินชีวิตที่เหมืองโดยไม่ได้อยู่ใกล้ครอบครัว นายเถบอกว่า“หอพักของเรามีความสะดวกปลอดภัยดี ค่าใช้จ่ายก็ถูกเมื่อเทียบกับการเช่าบ้านข้างนอก มีสิ่งอำนวยความสะดวกทุกอย่าง เช่นมีทั้งห้องเล่นกีฬาหรือลานกลางแจ้งเพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย มีห้องแห่งความสุข3ห้องเพื่อไว้รองรับครอบครัวของกรรมกรที่มาเยี่ยมด้วย”

เราได้ตามมาเยี่ยมบ้านของนายเฟือง ซึ่งเป็นกรรมกรดีเด่นในการมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อการผลิตซึ่งตั้งอยู่กลางย่านชุมชนของกรรมกรทำเหมือง ซึ่งเขาบอกว่าแม้ชีวิตความเป็นอยู่ปัจจุบันค่อนข้างมั่นคงแต่เขายังมุ่งมั่นตั้งใจพยายามมากขึ้นเพื่อดูแลครอบครัว“รายได้ของผมเดี๋ยวนี้อยู่ที่30ล้านด่ง ซึ่งสำหรับหลายคนอาจจะเป็นรายได้สูงแล้ว แต่ผมก็ยังพยายามมากขึ้นเพื่อถอดประสบการณ์และมีข้อคิดริเริ่มใหม่ๆที่อาจเป็นประโยชน์แก่การทำงาน เพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นต่อไป”

ส่วนสำหรับภรรยาของนายเฟือง ซึ่งเป็นคนที่รับหน้าที่ดูแลครอบครัวและเป็นแนวหลังที่มั่นคงเพื่อให้สามีมั่นใจในการทำงานนั้น แม้จะรู้ว่าอาชีพของสามีนั้นลำบากมากและไม่ได้อยู่กับครอบครัวเหมือนอาชีพอื่นๆแต่เธอก็ยังเลือกที่จะแต่งงานเพราะรัก“รู้จักกันแล้วรักกันก็ตัดสินใจแต่งงานกับเขา บางทีได้ข่าวเกิดอุบัติเหตุที่เหมืองจากทีวีเราก็กลัวมากเหมือนกันแต่เมื่อเห็นสามีกลับบ้านก็รู้สึกมีความสุขมาก เราก็พยายามดูแลครอบครัวให้ดีเพื่อให้สามีเขามั่นใจทำงานต่อไป”

อำลากรรมกรเหมืองถ่านหินห่าเหลิ่มพร้อมความคาดหวังที่เรียบง่ายของพวกเขาในการพัฒนาชีวิตที่มั่นคงมากขึ้นนั้น เราก็ยิ่งเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับอาชีพของกรรมกรเหมืองแร่ ซึ่งแม้จะเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงมากแต่บรรยากาศการทำงานในชั้นใต้ดินที่ลึกเป็นร้อยๆเมตรนั้น พวกเขายังคงมีความกระตือรือร้นและรักอาชีพที่ตัวเองได้เลือกเฟ้นนั้นอย่างเต็มใจ.

Feedback