การระบำรำฟ้อนในงาน |
บริเวณลานด้านหน้าอนุสาวรีย์กษัตรย์ลี้ท้ายโต๋ ใกล้สระคืบดาบเป็นสถานที่จัดงานเฟสติวัลไทยครั้งที่10 โดยมีการตั้งซุ้มประตูทางเข้าพร้อมการตกแต่งด้วยโคมไฟสัญลักษณ์เมืองเชียงใหม่ ธงทิวดอกไม้หลากสีสันและภาพโปสเตอร์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของไทย เช่น วัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น บนเวทีการแสดง น.ส. นาฤษมน ราษีทอง ที่มีรูปร่างเล็ก ผมเกล้ามวยสูงและมีใบหน้าที่ยิ้มแย้มพร้อมหญิงสาวอีก๕คนในชุดไทยกำลังแสดงรำบายศรีสู่ขวัญ สำหรับความหมายของท่ารำนี้ น.ส. นาฤษมน ราษีทองได้เผยว่า “ชื่อของการฟ้อนรำคือบายศรีสู่ขวัญ การระบำนี้ถูกแสดงเพื่อนำสิ่งที่ดีให้แก่งาน เป็นบายศรีสู่ขวัญที่เรียกขวัญกำลังใจให้แก่เรา ดิฉันรู้สึกดีใจเมื่อเข้าร่วมงาน นี่เป็นกิจกรรมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและเห็นว่า ชาวเวียดนามนิยมวัฒนธรรมของไทย”
การแสดงทางภาคอีสานที่มีชื่อเสียงชุดนี้ของศิลปินไทยบนเวทีได้ดึงดูดความสนใจและสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ที่มาชมงานทุกเพศทุกวัย นาย เหงวียนหว่างลอง ซึ่งได้พาครอบครัวมาชมงานเผยว่า
“ผมพาภริยาและลูกมาเที่ยวถนนคนเดิน เมื่อเห็นว่า มีการจัดกิจกรรมนี้ พวกเราก็แวะมาเข้าร่วม นี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้ชมการแสดงรำไทย ซึ่งนางรำรำได้สวยมากและหน้าตาน่ารักด้วย”
สินค้าของไทยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวเวียดนาม |
สำหรับผู้ที่มาชมงานครั้งนี้นอกจากได้ชมการแสดงศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยแล้ว ยังมีโอกาสได้ลิ้มลองอาหารไทยที่อร่อยๆ เช่น ต้มยำกุ้ง หมูปิ้ง และผัดไท เป็นต้น ในงานมี๒๐บูธที่แนะนำอาหารไทยพื้นบ้านหลายเมนูโดยเฉพาะขนมมงคลของไทยที่มีสีสันสวยงามได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้ชม
“ดิฉันเห็นว่า อาหารของไทยน่าสนใจมาก บูธในงานนี้ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงาม อาหารก็อร่อย ดิฉันซื้อของหวาน ขนมมงคลและน้ำปลาของไทย”
“ต้มยำกุ้งที่ขายที่นี่มีรสชาดที่แตกต่างกับต้มยำกุ้งที่ผมเคยกิน เพราะมีรสชาดของน้ำ กะทิทานกับขนมจีนและข้าวอร่อยมากๆ”
“ดิฉันเข้าร่วมงานโดยบังเอิญและได้ซื้อข้าวเหนียวมะม่วง ของหวานและขนมของไทย ดิฉันเคยไปเที่ยวเมืองไทย๑ครั้งแต่ก็นานมากแล้ว ดิฉันเห็นว่า อาหารไทยอร่อยและน่าสนใจมาก ดิฉันมีความประทับใจต่อคุณภาพของข้าวไทย ดังนั้น ดิฉันจึงลองทานดู”
ในงานเฟสติวัลครั้งนี้ ทางสถานทูตไทยยังเน้นแนะนำสินค้าประจำถิ่นของหลายจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ผ่านบูธของสถานประกอบการไทยประมาณ๕๐แห่งเช่น จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษและอำนาจเจริญ โดยแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น เครื่องสำอาง กระเป๋าผ้าลายพื้นเมือง เป็นต้น นาง พัฒน์นรี เจิมหดจากบริษัท Thachang bag จังหวัดยโสธรได้เผยว่า
“พวกเราแนะนำกระเป๋าผ้าพื้นเมืองของไทย มาที่นี่ พวกเราต้องการเปิดตัวแนะนำตัวเองว่า เราเป็นกลุ่มผู้ผลิต ตัวแทนของหมู่บ้านทำงานเกี่ยวกับการเย็บผลิตภัณฑ์ออกมาเพื่อใช้ได้ในครัวเรือน สินค้าก็ไม่แพง ลูกค้าสามารถคอนแทคผ่านทางอีเมล์และไลน์เพื่อออเดอร์หรือเอาไปเปิดร้านทำธุรกิจ เราก็สามารถผลิตและส่งมาให้แก่ทางเวียดนามได้ ”
หลังจากที่มาชมบูธต่างๆ นาง เลถิมิงจากเขตห่าดงก็ได้ซื้อกระเป๋าจากร้านในงาน
“ดิฉันซื้อกระเป๋าใบหนึ่งให้คุณแม่ ส่วนอีกใบหนึ่งเอาไว้ใช้ตอนไปปิกนิก ดิฉันเห็นว่า สินค้าของไทยมีรูปแบบและสีสันที่หลากหลาย”
ถึงแม้งาน Thai Festival in Hanoi ครั้งที่๑๐ จะจัดขึ้นเป็นเวลาเพียง๒วันแต่ก็สามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมงานกว่า๓พันคน ซึ่งจากผลสำเร็จในการจัดงานตลอด ๑๐ ครั้งที่ผ่านมาสามารถยืนยันได้ว่ากิจกรรมนี้ได้ช่วยสร้างเป็นสะพานเชื่อมที่แนะนำวัฒนธรรมไทยให้แก่ชาวเวียดนามได้อย่างเป็นรูปธรรม.
กระเป๋าผ้าพื้นเมืองของไทย |