( VOVworld )- เมื่อเร็วๆนี้ พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามได้รับฟิล์มเนกาทีฟเกี่ยวกับชนเผ่าในเตยเงวียนช่วงปีค.ศ.๑๙๕๐ ศตวรรษที่ ๒๐ จากครอบครัวของนายจอง มาเรีย ดูจาจ ชาวฝรั่งเศส เนื่องในโอกาสฉลองการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเวียดนามกับฝรั่งเศสครบรอบ ๔๐ ปี และมีการจัดแสดงภาพถ่ายเกี่ยวกับเขตที่ราบสูงเตยเงวียนอันสวยงามของเวียดนามสู่สายตาผู้ชมชาวกรุงและชาวต่างประเทศ
|
ภาพในการแสดงภาพถ่ายเกี่ยวกับเขตที่ราบสูงเตยเงวียน |
เวลา ๑๗.๐๐น.ของเย็นวันหนึ่งในเดือนกรกฎาคมซึ่งตรงกับช่วงเวลาเลิกงานพอดี ที่ พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนาม กรุงฮานอยพิธีมีเปิดงานนิทรรศการภาพถ่ายเกี่ยวกับชนเผ่าในเตยเงวียนได้เริ่มขึ้น
นิทรรศการนี้จัดขึ้นในพื้นที่ ๗๐ ตารางเมตรของอาคารจ๊งด่งภายในพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงภาพถ่ายขาวดำ ๓๔ ภาพใสขนาด๑๐๐x๑๐๐ ที่สามารถมองเห็นได้สองด้าน ภาพเหล่านี้เกี่ยวกับชีวิตและภาพครึ่งตัวของชนเผ่าในเตยเงวียนที่ได้อัดจาก ๒๐๐ ฟิล์มเนกาทีฟขนาด ๖x๖ ที่นายดูจาจถ่ายตั้งแต่ปีค.ศ.๑๙๕๒-๑๙๕๕ คุณเอเวลิน ดูจาจ บุตรสาวของเขาเล่าว่า “
คุณพ่อเป็นทหารประจำการในเวียดนาม เมื่อปลดประจำการท่านได้ใช้ชีวิตอยู่ในเวียดนามต่อไปและทำงานในหน่วยงานสาธารณสุขชุมชน ท่านเดินทางไปตามหมู่บ้านต่างๆในเตยเงวียนเพื่อฉีดวัคซีนให้กับชาวบ้าน ซึ่งในช่วงนั้นแหละที่ท่านได้คลุกคลีกับชาวบ้านทำให้เกิดความรักผืนดินเตยเงวียนขึ้นมา ”
ภาพขาวดำอีกหนึ่งภาพของครอบครัวนายดูจาจเป็นภาพที่นายดูจาจสวมรองเท้าและกางเกงฝรั่ง ภรรยาชาวเวียดนามและบุตรสาวอายุ ๓ ขวบกำลังนั่งบนบันไดไม้ของบ้านหลังคายาวของชาวเอเด โดยมีด้านหลังเป็นหลังคามุงหญ้า ภาพถ่ายนี้เพื่อรำลึกถึงเจ้าของฟิล์มเนกาทีฟเกี่ยวกับเตยเงวียนที่ได้ถึงแก่กรรมที่ฝรั่งเศสก่อนหน้านี้ ๗ ปี สิริอายุ ๘๘ ปี
ภาพครึ่งตัวชาวชนเผ่ายาราย ชิล เซอดัง เอเด และม้งชรา เด็ก ผู้ชาย ผู้หญิงแต่งชุดประจำเผ่า ทรงผมและเครื่องประดับที่กำลังทำงานเช่น แกะเม็ดฝ้าย ทอผ้าและตำข้าวได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมจำนวนมาก
ชายผู้นี้ใบหน้าเหมือนนักรบแต่ดวงตาอ่อนหวาน การแสดงออกในลักษณะนี้ทำให้ผมมีความสนใจเป็นอย่างยิ่ง
นี่เป็นภาพสาววัยใสสวย หากท่านมองดีๆจะเห็นได้ว่า เธอยืนตลอดเวลาการถ่ายรูป ซึ่งอาจจะมีเหตุผลว่าเธอต้องยืนอย่างนี้ แต่ช่างน่ารักเหลือเกิน ผมจะวาดใบหน้านี้เพราะเป็นใบหน้าสวยที่สุด
นี่คือคำพูดของนายโทนี สมิฑ จิตรกรชาวไอร์แลนด์ที่เพิ่งมาเวียดนามกล่าวถึงภาพครึ่งตัวผู้ชายชนเผ่าชิลและภาคครึ่งตัวเด็กหญิงชนเผ่ายารายวัย ๑๕ ปี หลังจากที่เขาถ่ายรูปจากภาพถ่ายสองภาพ ในภาพผู้ชายชนเผ่าชิลสวมเสื้อผ้าทำจากเปลือกไม้ มวยผมไว้ที่ท้ายทอย ปากคาบไปป์ สะพายกระพาหวายและถือมีดยาว ส่วนภาพเด็กหญิงยารายยืนกอดอก ใส่ตุ้มหูงาช้างและกำไลมือโลหะและสร้อยคอโลหะกับสร้อยลูกปัด ด้านหลังของเธอเป็นท้องฟ้าอันกว้างใหญ่
ภาพถ่ายต่างๆสะท้อนให้เห็นถึงการแต่งกาย ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเลื่อมใสศรัทธาของชนเผ่าในเตยเงวียนในสมัยนั้นคือ ไว้ผมยาวและมวยผมที่ท้ายทอย ใส่ตุ้มหู สร้อยคอและกำไลมืองาช้าง ผู้ชายสวมเสื้อและผ้าเตี่ยว ผู้หญิงสวมกระโปรงเปลือยอกและมักจะให้ลูกขี่หลังขณะตำข้าวหรือทำไร่ หรืองานเทศกาลเซ่นไหว้ต่างๆช่วงต้นปีตลอดจนชีวิตที่ผูกพันกับช้างในการทำมาหากิน
คุณจานตาล โรมาน วอลส์ ชาวฝรั่งเศสที่มาชมภาพกล่าวว่า ได้ความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับชนเผ่าในเตยเงวียน โดยเฉพาะบ้านโรงที่หลังคามุงด้วยหญ้ารูปขวานตั้งตระหง่านท้าทายธรรมชาติ คุณจานตาล โรมานกล่าว“ ดิฉันชอบบ้านแบบนี้ และคิดในใจว่า ทำไมชนเผ่านี้ต้องปลูกบ้านที่มีหลังคาสูงอย่างนี้ ซึ่งอาจจะเพราะอากาศร้อนและหลังคาสูงจะทำให้ลมเย็นเข้าบ้านได้มากขึ้น ”
|
คุณหวอถิ่เถื่อง เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์แนะนำเกี่ยวกับเรื่อง
ที่ช้างเป็นพาหนะขนส่งของชนเผ่าในเตยเงวียน |
คุณหวอถิ่เถื่อง เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์กล่าวกับพวกเราว่า สมัยก่อน ช้างเป็นพาหนะขนส่งของชนเผ่าในเตยเงวียน คุณเถื่องกล่าว “ นายดูจาจถ่ายรูปช้างไว้เป็นจำนวนมากและให้คำอธิบายว่า ช้างไม่เคยเดินข้ามสะพานเพราะกลัว ช้างมักจะเดินลุยน้ำเพื่อข้ามแม่น้ำ แต่มีบางคนกลับเห็นว่า นอกจากกลัวแล้ว ช้างเดินข้ามสะพานจะทำให้สะพานพังได้ ”
ภายหลังชมภาพถ่ายทุกภาพแล้ว นายสมิธจิตรกรนักวาดภาพได้เลือกเตยเงวียนให้เป็นจุดหมายต่อไปของการเยือนเวียดนามครั้งนี้เพื่อค้นหาและศึกษาเรื่องการพัฒนาของเตยเงวียนในปัจจุบัน สำหรับท่านใดที่อยากศึกษาเกี่ยวกับที่ราบสูงเตยเงวียนของเวียดนามผ่านภาพถ่ายต่างๆเชิญท่านไปชมที่พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามทุกวันยกเว้นวันจันทร์ พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เปิดรับผู้เข้าชมจนถึงเดือนมกราคม ๒๐๑๕ นี้ ./.