(VOVworld) – ที่ตัวเมืองซาแด๊ก จังหวัดด่งทาป ครูเหงวียนวันมดเป็นที่รู้จักกันดีจากการเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยยากจนและห้องครัวสำหรับนักเรียนยากจนซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มาจากใจอันบริสุทธิ์เพื่อนำความสุขมาให้แก่ผู้อาภัพ ในรายการชีวิตสังคมวันนี้ ทางผู้จัดทำรายการขอแนะนำเรื่องราวของครูที่มีความเมตตาอารีท่านนี้ผ่านบทความเรื่อง“น้ำใจของครูเหมือนทะเลที่กว้างใหญ่และสายน้ำที่ยาวไกล”
|
รำลึกวันครูแห่งชาติเวียดนาม(Photo:xaluan ) |
คนในเมืองซาแด๊กต่างทราบว่า บ้านธารน้ำใจ โรงเลี้ยงเด็กกำพร้า เมรุเผาศพและโรงเลี้ยงเด็กพิการต่างมาจากข้อเสนอและการรณรงค์จัดตั้งของครูเหงียนวันมด แม้จะเพิ่งฟื้นจากอาการป่วยหนัก แต่ครูมดก็พยายามทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อจัดตั้งห้องครัวสำหรับนักเรียนที่ยากจนและตู้หนังสือเพื่อส่งเสริมการศึกษา ครูมดเผยว่า“เมื่อปี๒๐๑๐ ตามหลักสูตรการศึกษาของอำเภอเมืองซาแด๊กในหนึ่งวันจะแบ่งคาบเรียนเป็น๒ช่วงเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา มีสาเหตุสองประการที่ทำให้นักเรียนหยุดเรียนกลางคันนั่นคือ ฐานะยากจนและปัญหาทักษะการเรียนรู้ ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเสนอให้คณะกรรมการประชาชนอำเภอเมืองและองค์กรต่างๆอนุญาติให้จัดตั้งห้องครัวสำหรับนักเรียนที่ยากจนและตู้หนังสือส่งเสริมการศึกษา”
ครูเหงวียนวันมดเคยเข้าร่วมคณะกรรมการลุกขึ้นสู้เข้ารับมอบการบริหารตัวเมืองซาแด๊กในช่วงปลดปล่อยภาคใต้เวียดนามรวมประเทศเป็นเอกภาพ เมื่อปี๑๙๗๕และเข้าร่วมงานด้านแนวร่วมที่ตัวเมือง ในกระบวนการเคลื่อนไหวปฏิวัติ ครูมดทุ่มเทงานด้านการรณรงค์มวลชนซึ่งเป็นการกระทำที่มีความหมายในเชิงมนุษยธรรมและมีประสิทธิภาพทางสังคมสูง จากการเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน สมัยยังเด็ก เพื่อให้ได้ไปโรงเรียน ครูมดต้องมาอาศัยที่วัดแห่งหนึ่ง และ จากความปรารถนาที่จะกลายเป็นครู เขาได้ย้ายไปอาศัยที่นครไซ่ง่อนประกอบอาชีพสอนพิเศษเพื่อหาเงินเรียนต่อ ด้วยเหตุนี้ เขาจึงเห็นใจผู้ยากจน ครูเลถิซวนทู อดีตครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษากิมด่ง ตัวเมืองซาแด๊กกล่าวว่า ครูมดเป็นตัวอย่าง และพลังขับเคลื่อนเพื่อให้บรรดาครูในโรงเรียนปฏิบัติห้องครัวส่งเสริมการศึกษา ครูมดกับครูคนอื่นๆได้เจียดเงินบำนาญทุกเดือนช่วยเหลือห้องครัวนี้โดยครูเกษียรอายุราชการเกือบ๑๐คน พร้อมกับครูอีก๑๐คนและสตรีจำนวนมากได้แบ่งกันเป็น๗กลุ่มแล้วผลัดเปลี่ยนกันปรุงอาหารเป็นประจำทุกวัน แม้จะยุ่งกับงานแต่ทุกคนต่างรู้สึกดีใจ ครูซวนทูกล่าวว่า“ครูมดได้ชักชวนครูคนอื่นๆจัดตั้งห้องครัวนี้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทางการปกครองท้องถิ่น ครูมดได้รับความเคารพรักจากทุกคน พวกเราถือครูมดเป็นพี่ใหญ่”
เมื่อกล่าวถึงห้องครัวส่งเสริมการศึกษาหรือมื้ออาหารเอื้ออาทร หลายคนคงคิดว่า นี่เป็นมื้ออาหารที่ไม่อร่อย ทานเพื่ออยู่เท่านั้น แต่เมื่อเห็นบรรดาครูเตรียมอาหารแต่ละชนิดจึงเข้าใจถึงน้ำใจของบรรดาครูต่อนักเรียนที่ยากจนเพราะเมนูอาหารก็เป็นเมนูที่มีคุณค่าทางโภชนาการซึ่งเด็กๆไม่เพียงแต่ได้ทานอิ่มท้องเท่านั้นหากยังได้รับคุณค่าทางอาหารอย่างเต็มเปี่ยมอีกด้วย
แม้จะเกษียรอายุราชการได้๕ปีแล้วแต่ครูมดยังคงยุ่งกับงานสังคม เขากล่าวว่า“ผมได้คิดเกี่ยวกับแถวขบวนครูที่ปฏิบัติงานกุศลนี้ซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นและมีความรักต่อเด็กที่ยากจน ไม่ว่าใครเมื่อถึงเวลาก็ต้องกลายเป็นคนแก่ สุขภาพอ่อนแอและเสียชีวิต แต่สิ่งที่ทิ้งไว้คือความรักมนุษย์ด้วยกัน สำหรับงานนี้ ต้องการผู้ใจบุญ ถ้าคิดถึงผลกำไรก็จะไม่สามารถทำได้”
วันแล้ววันเล่า นักเรียนรุ่นต่างๆมากับห้องครัวส่งเสริมการศึกษา มื้ออาหารส่งเสริมการศึกษาและน้ำใจของครูเหงียนวันมดจะฝังลึกอยู่ในความทรงจำพร้อมกับความสำนึกในบุญคุณที่เด็กๆมีต่อบรรดาครูที่มีใจอารีตลอดกาล./.
Thanh Tùng-Thu Hằng