( VOVworld ) - นับตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายนปี ๑๙๔๕ สถานีวิทยุเวียดนามได้ออกอากาศเป็นครั้งแรกมาจนถึงปัจจุบันได้มีอายุครบ ๖๗ ปี ซึ่งหนึ่งในผู้ที่เตรียมอุปกรณ์เทคนิกให้แก่การออกอากาศครั้งแรกนั้นมีท่านเหงวียนหยึก เจ้าของร้านขายเครื่องรับวิทยุเลขที่ ๔๓ ถนน ห่างบ่าย ซึ่งเป็นร้านที่ใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงฮานอยรวมอยู่ด้วย
|
สำนักงานใหญ่สถานีวิทยุเวียดนาม |
ท่านเหงวียนหยึกถือเป็นคนโชคดีที่ได้มีส่วนร่วมในการเตรียมอุปกรณ์เทคนิกให้แก่การกระจายเสียงครั้งแรกของสถานีวิทยุเวียดนาม ซึ่งความโชคดีนั้นคงจะเป็นเพราะท่านเป็นเจ้าของร้านขายเครื่องรับวิทยุที่ใหญ่ที่สุดในกรุงฮานอย โดยลูกค้าของท่านส่วนใหญ่เป็นเจ้าของโรงหนัง ฟาร์มและเจ้าของบริษัทต่างชาติ แม้จะทำมาค้าขึ้นและชีวิตความเป็นอยู่สุขสบายแต่ท่านยังติดตามสถานการณ์และมีส่วนร่วมกับการปฏิวัติของประเทศ โดยตั้งแต่ปี ๑๙๔๐ ท่านได้มอบชุดสงวนระบบลำโพง เครื่องขยายเสียงให้แก่การปฏิวัติเพื่อทำการรณรงค์ โดยเฉพาะในการชุมนุมโดยสมาคมข้าราชการจัดขึ้น ณ จัตุรัสหญ่าฮ้าตเลิ้นหรือโรงละครใหญ่ กรุงฮานอย อีกไม่กี่วันให้หลัง ท่านได้รับคำสั่งให้เตรียมอุปกรณ์เครื่องเสียงต่างๆให้แก่พิธีประกาศเอกราชในวันที่ ๒ กันยายนปี ๑๙๔๕ ณ จัตุรัสบาดิ่ง นายหยึกได้ซื้อลำโพงขนาดใหญ่ ๗ ตัว เครื่องขยายเสียง ๔๐ วัตต์ ๓ เครื่องและไมค์ ๓ ตัวที่สามารถรองรับผู้ฟัง ๕ หมื่นคน ท่านลิววันเหลย อดีตรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศ ซึ่งได้รับมอบหมายดูแลด้านความมั่นคงในพิธีดังกล่าวเล่าว่า สถานการณ์ขณะนั้นเร่งรัดมากโดยเฉพาะเรื่องเวลา ซึ่งเหลือเพียง ๕ – ๖ วันเพื่อเตรียมพร้อมเท่านั้น แต่อุปกรณ์ต่างๆแทบจะไม่มีเลย เราได้มอบหมายให้นายหยึกดูแลด้านเครื่องเสียงเพราะเขาประกอบอาชีพนี้มานานและมีประสบการณ์ ปัจจุบันการหาลำโพงเป็นเรื่องธรรมดา แต่ขณะนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่นายหยึกสามารถทำได้เป็นอย่างดี ”
|
ประธานโฮจิมินห์อ่านปฏิญญาเอกราช
|
ในวันที่ ๒ กันยายน ประชาชนนับหมื่นคนได้ฟังเสียงลุงโฮอ่านปฏิญญาเอกราช ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ นายหยึกได้เขียนบันทึกเหตุการณ์ในวันนั้นว่า เขารู้สึกตื่นเต้นมาก ซึ่งเมื่อเคารพธงชาติเสร็จ ประธานโฮจิมินห์ได้มองไปที่ไมค์ ๓ อันแล้วเป่าเข้าไปไมค์ฟิลิปปส์ที่อยู่ตรงกลาง ไฟบนเครื่องแดงขึ้นและมีเสียงฝู่ๆมาจากลำโพง ประธานโฮจิมินห์ยืนห่างออกไปนิดหน่อยแล้วเอ่ยเสียงพูดขึ้นมาว่า ข้าพเจ้าพูด พี่น้องฟังได้ชัดไหม๊ และมีเสียงตอบรับว่า ฟังชัดคะ และครับ นายเหงวียนเลิมบิ่ง ลูกชายของนายหยึกเล่าว่า “ ทุกครั้งที่เล่าเรื่องนี้ คุณพ่อจะรู้สึกบอกไม่ถูก เนื่องจากวันนั้นท่านไม่เคยคิดเลยว่าท่านได้รับหน้าที่ที่เป็นเกียรติอย่างสูงและสำคัญมาก บางครั้งท่านได้ตั้งคำถามว่า หากวันนั้นเกิดอุบัติเหตุจะเกิดอะไรขึ้น และโชคดีที่ท่านได้ทำด้วยความจริงจังและความรักอาชีพเป็นชีวิตจิตใจ แต่สิ่งที่สูงกว่านั้นคือ ทำเพราะอยากให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ”
นอกจากนี้ นายหยึกยังได้รับมอบหมายหน้าที่จัดทำอุปกรณ์ต่างๆให้แก่การออกอากาศของสถานีวิทยุเวียดนามเพื่อประกาศให้โลกได้รับทราบว่า พวกเราสามารถยึดอำนาจการปกครองของระบอบเก่ามาให้แก่ประชาชนแล้ว จากประสบการณ์ชีวิตเจ้าของร้านขายเครื่องรับวิทยุ นายหยึกได้วางแผนการประกอบและติดตั้งสถานีส่งสัญญาณที่ประกอบด้วย เครื่องส่งสัญญาณยี่ห้อ ครอสเลย์ ( Crosley )๒๐๐ วัตต์ เครื่องขยายเสียง ๔๐ วัตต์ ๓ เครื่อง ลำโพง ๑๐ ชุดยีาห้อเจนเซน วี๑๐ ( Jensen V10 ) ไมค์ฟิลิปปส์ ๓ อัน อะไหล่ต่างๆและแผ่นเสียงเซนลูลอย ๗๘ รอบต่อนาทีนับพันแผ่น การติดตั้งสถานีส่งสัญญาณได้เริ่มขึ้นในบ่ายวันที่ ๒๓ สิงหาคมที่ชั้นสองของอาคารติดกับที่ทำการไปรษณีย์เบ่อโห่ งานที่หนักคือการติดตั้งเสาอากาศสูง ๔๑ เมตร ด้วยการทำงานอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็จเหนื่อย ภายในเวลา ๒ วันการติดตั้งก็เสร็จเรียบร้อย วันที่ ๒๕ สิงหาคม สถานีส่งสัญญาณเริ่มทดลองเดินเครื่อง ซึ่งนายหยึกเองเป็นคนลองอ่านประโยคว่า ที่นี่สถานีวิทยุเวียดนาม ออกอากาศในคลื่น ๔๑ เมตร หากที่ใดรับสัญญาณได้ กรุณาส่งจดหมายแจ้งมายังสำนักงานประชาสัมพันธ์ภาคเหนือ และมีเพลงคลาสสิกขั้นทุกๆ ๓๐ นาที และแล้วนายหยึกก็ได้รับการตอบกลับเป็นครั้งแรกว่า สัญญาณดีมากจากนายเหงวียนแหมงห่าหัวหน้าห้องข่าวประชาสัมพันธ์ที่ถนนจ่างเตี่ยน กรุงฮานอย ต่อจากนั้นก็ได้รับโทรศัพห์จากที่อื่นๆเข้ามาแจ้งเป็นจำนวนมาก
|
ลำโพล ๕๐๐ วัตต์ |
นายเหงวียนหยึกถึงแก่กรรมเมื่อปี ๒๐๐๐ รวมอายุ ๗๙ ปี ท่านถือเป็นคนมีส่วนร่วมในผลสำเร็จของสถานีวิยุเวียดนามในการประกาศให้โลกได้รับทราบเกี่ยวกับการก่อตั้งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามและสถานีวิทยุเวียดนาม ./.