ชุดกวีนิพนธ์ – จากถิ่นกำเนิดของโมสาร์ท

Chia sẻ
เมื่อเร็วๆนี้ สถานทูตออสเตรียประจำเวียดนามได้ประสานกับศูนย์วัฒนธรรมภาษาศาสตร์ตะวันออก ตะวันตก พิมพ์จำหน่ายชุดกวีนิพนธ์ที่พาดหัวเรื่องว่า “จากถิ่นกำเนิดของโมสาร์ท” ซึ่งเป็นเหตุการณ์เปิดกิจกรรมรำลึกวันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง เวียดนามกับออสเตรียครบรอบ 40 ปี  จากผลงานแปลของนักกวี Quang Chien จะช่วยให้ผู้อ่านชาวเวียดนามไม่เพียงแต่รู้จักกลอนกวีของออสเตรียเท่านั้น หากยังได้รู้ถึงความรู้สึกของนักกวีออสเตรียเกี่ยวกับสงครามในเวียดนามอีกด้วย
            “หลังคาบ้านฉันซ่อมแซมใหม่แล้ว

            เหลือเพียงทำหน้าต่างและทาสี

            ค่าบ้านแพงเงินประกันภัยถีบตัว

            ที่เวียดนามบ้านเรือนกลายดินร้าง

            นี่คุณคนนั้น ช่างเอือมระอาเหลือ

            ในทุกที่พูดแต่เรื่องเวียดนาม

            จงให้เขาสบายกายในพื้นพสุธา

            ที่เวียดนามคนเรือนล้านได้วายปราณ

นั่นคือเนื้อหาตอนหนึ่งของบทกวี “คุยกันเรื่องต้นไม้” ของนายแอริช เฟร็ด นักกวีและนักประพันธ์ชาวออสเตรียในชุดกวีนิพนธ์ “จากถิ่นกำเนิดของโมสาร์ท” ชุดกวีที่ออกสู่สายตาผู้อ่านมา 45 ปีแล้วแต่ชาวเวียดนามเพิ่งได้รู้จักเป็นครั้งแรกถึงกาพย์กลอนต่อต้านสงครามอย่างลึกซึ้งเช่นนี้ นอกจากนี้ นักกวีแอริช เฟร็ดยังมีผลงานอีกมากมายที่สะท้อนให้เห็นสงครามรุกรานอันโหดร้ายที่เกิดขึ้นในเวียดนาม เช่น บทกวี “คุณแม่ในเวียดนาม” ซึ่งเล่าถึงเหตุการณ์อันน่าสลดใจของเด็กน้อย 19 คนถูกเครื่องบินของกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดคร่าชีวิตที่เมืองท่าไฮฟอง หรือบทกวี “บัญชีรายชื่อ”ที่เปิดโปงกรณีฆ่าล้างหมู่ ณ My Lai ทางภาคใต้เวียดนาม   นอกจากการแต่งกวีแล้ว แอริช เฟร็ดยังเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆเพื่อต่อต้านสงครามรุกรานเวียดนามสมกับฉายาที่ได้รับว่า “เป็นนักกวีหาญกล้าเพื่อเวียดนาม”ดังที่นักกวี Quang Chien ผู้แปลชุดกวีนิพนธ์นี้เผยว่า

            “ในขณะที่ประชาชนเวียดนามทำการต่อสู้กับศัตรูผู้รุกรานอยู่นั้น มีนักกวีคนหนึ่งอยู่ในแดนดินถิ่นไกลได้ให้พิมพ์จำหน่ายชุดกวีนิพนธ์โดยพาดหัวว่า เพื่อเวียดนามตั้งแต่ปี 1966 ซึ่งใช่ว่านักกวีคนใดก็ทำได้  ในสมัยนั้น ชุดกวีนิพนธ์นี้ดังมากในเยอรมนีตะวันตกและได้กลายเป็นการจุดชนวนให้แก่ขบวนการต่อต้านสงครามรุกรานเวียดนามของเยาวชนและนักศึกษาเยอรมนี

            แม้ยังไม่เคยมาเยือนเวียดนามแม้แต่ครั้งเดียวในช่วงปี 1921 – 1988 ทว่านักกวีแอริช เฟร็ด ชาวออสเตรียผู้นี้ได้สร้างความสะเทือนใจให้แก่ทุกคนที่อ่านกวีต่อต้านสงครามรุกรานเวียดนามของเขาที่เปิดโปงสงครามอันโหดร้ายซึ่งได้คร่าชีวิตของสามัญชนเวียดนามไปมากมาย  ทุกคำร้อยกรองของแอริช เฟร็ด แสดงให้เห็นว่า เขาเป็นนักกวีแห่งสันติภาพ นักกวีที่มีใจเมตตาอารีต่อเพื่อนมนุษย์และพยายามต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม โดยเฉพาะน้ำใจไมตรีที่สงวนให้แก่ประชาชนและประเทศชาติเวียดนาม ฉนั้นสำหรับชาวเวียดนามแล้ว นักกวีแอริช เฟร็ด เป็นเสมือนเพื่อนและมิตรสหายที่สนิทชิดเชื้อ

            ดนตรีโมสาร์ท..........

นอกจากผลงานของนักกวีแอริช เฟร็ดแล้ว ในชุดกวีนิพนธ์นี้ยังมีผลงานของนักกวีออสเตรียที่ดังๆอีกหลายคน เช่น นีโกเลา เลเนิา กวีเอกของออสเตรียศตวรรษที่ 19 นักกวีฟรังเกสลิ่ง นักกวีเอรนส์ท์ ฮันดี เป็นต้น โดยได้รับความช่วยเหลือจากสถานทูตออสเตรียประจำเวียดนาม นักกวี Quang Chien ต้องใช้เวลา 1 ปีจึงจะสามารถแปลชุดกวีนิพนธ์เล่มนี้แล้วเสร็จ ดังที่นักกวี นักดนตรี Nguyen Trong Tao กล่าวว่า การแปลกวีนั้น ผู้แปลก็ต้องเป็นนักกวี ต้องมีความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์สุนทรีอรรถกวี คล้ายกับนักกวีที่ตนกำลังแปลผลงานของเขา

การแปลกวีนั้นเป็นการแปลยากที่สุดในด้านวรรณกรรม เพราะการแปลกวีต้องแปลทั้งความรู้สึก ความนึกคิดและโครงฉันท์ กาพย์ กลอนต้องคล้องจองกัน นักกวี Quang Chien แปลชุดกวีนิพนธ์นี้เพราะอยากจะถ่ายทอดวัฒนธรรมของออสเตรียให้เป็นที่รู้จักของชาวเวียดนาม

หวังว่า นอกจากชุดกวีนิพนธ์ “จากถิ่นกำเนิดของโมสาร์ท”นี้แล้ว ผู้อ่านชาวเวียดนามจะมีโอกาสได้รู้จักผลงานวรรณกรรมอื่นๆของออสเตรียอีกมากมาย ดังที่ดร.ยอร์ก ไฮเดิ้ล เอกอัครราชทูตออสเตรียประจำเวียดนามได้เขียนในคำนำของชุดกวีนิพนธ์นี้ว่า การแปลผลงานวรรณกรรมเป็นทางเดินที่ถูกต้องและดีที่สุดเพื่อให้สองประชาชาติเรามีความเข้าใจกันลึกซึ้งยิ่งขึ้น./.

Feedback