จังหวัดนิงถวดผลักดันการช่วยเหลือจากต่างประเทศเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

Minh Long - Thu Hang - VOV
Chia sẻ
(VOVworld) – สำหรับหลายประเทศ รวมทั้งเวียดนาม การบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 21 ดังนั้นเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนนี้จะต้องระดมทุกแหล่งพลังเพื่อรับมือและแก้ไขอย่างมีประสิทธิผล จังหวัดนิงถวด ทางภาคใต้ของประเทศได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากจากเหตุภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึมในเวลาที่ผ่านมา ทางการจังหวัดได้พยายามผลักดันการช่วยเหลือจากต่างประเทศเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(VOVworld) – สำหรับหลายประเทศ รวมทั้งเวียดนาม การบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 21 ดังนั้นเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนนี้จะต้องระดมทุกแหล่งพลังเพื่อรับมือและแก้ไขอย่างมีประสิทธิผล จังหวัดนิงถวด ทางภาคใต้ของประเทศได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากจากเหตุภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึมในเวลาที่ผ่านมา ทางการจังหวัดได้พยายามผลักดันการช่วยเหลือจากต่างประเทศเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จังหวัดนิงถวดผลักดันการช่วยเหลือจากต่างประเทศเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 1
เหตุภัยแล้งส่งผลให้พื้นที่การเกษตรบางแห่งในจังหวัดนิงถวนกลายเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า(Photobaotainguyenmoitruong.vn)

เหตุภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 11 ปีที่ผ่านมา เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดนิงถวดและยืดเยื้อตั้งแต่ปลายปี 2014 ถึงเดือนมิถุนายนปี 2016 จนทำให้ประชากรกว่า 2 หมื่น 5 พันคนต้องการความช่วยเหลือด่วนด้านน้ำประปา โดยเฉพาะมีกว่า 1 แสน 3 หมื่นคนที่ประสบภาวะขาดแคลนอาหาร ดังนั้น ทางการจังหวัดจึงเร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนโดยเฉพาะเด็ก ๆในการแก้ไขผลเสียหายและมีมาตรการรับมือในเชิงรุก นายดั๋งเกียนเกื่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทของจังหวัดนิงถวดเผยว่า การเปิดใช้งานคลองน้ำสายหลักในโครงการเขื่อนเตินหมีที่อยู่ในแม่น้ำก๊ายตอนล่าง ในอำเภอนิงเซินในปี 2017 นี้ ก็จะช่วยแก้ปัญหาขาดน้ำเพื่อการเกษตรให้แก่พื้นที่การเกษตรประมาณ 2 พันเฮกตาร์ “นอกจากใช้งบประมาณจากส่วนกลาง เรายังใช้เงินช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขผลเสียหายจากภัยธรรมชาติ ควบคู่กันนั้น ทางการจังหวัดกำลังก่อสร้างระบบน้ำประปาร่วมเพื่อจัดสรรให้แก่เขตประสบภัยแล้งในอำเภอถวนบั๊ก นิงหายและถวนนาม ตลอดจนส่งเสริมการยกระดับจิตสำนึกของประชาชนในการประหยัดน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรเพื่อปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเชิงรุก”

เนื่องจากเป็นจังหวัดยากจน นิงถวดจึงได้ใช้เงินช่วยเหลือฉุกเฉินจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ เงินโอดีเอของรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อสนับสนุนการให้ความรู้ด้านทักษะความสามารถในการป้องกันภัยธรรมชาติและปกป้องกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยง่าย เช่น สตรีและเด็กในเขตยากจนพิเศษ โดยเฉพาะได้มีการสอดแทรกการสอนวิธีการรับมือภัยธรรมชาติตามโรงเรียนต่างๆ นางเลถิเตี๊ยน ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลตำบลเฟื้อกเตี๊ยน อำเภอบ๊ากอ๊ายเผยว่า “ทางโรงเรียนได้พิจารณารูปแบบภัยธรรมชาติที่เป็นอันตรายต่อนักเรียนในโรงเรียนเพื่อเตรียมแผนการแนะนำวิธีการรับมือเพื่อเสริมสร้างทักษะให้แก่เด็กในการรับมือกับภัยธรรมชาติ เช่น สำหรับโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตที่มักเกิดน้ำท่วม จะสอนให้นักเรียนรู้สักสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม ไม่เดินผ่านจุดที่มีน้ำท่วมสูง และออกนอกบ้านในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง”

จังหวัดนิงถวดผลักดันการช่วยเหลือจากต่างประเทศเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 2
ประชากรกว่า 2 หมื่น 5 พันคนต้องการความช่วยเหลือด่วนด้านน้ำประปา (Photo baotainguyenmoitruong.vn)

นายหว่างวันทั้ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเผยว่า ท้องถิ่นต่างๆได้ใช้แหล่งเงินทุนการควบคุมความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อมีส่วนร่วมลดผลกระทบในทางลบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน พัฒนาเศรษฐกิจ – สังคมของท้องถิ่นต่างๆ และสร้างสังคมที่ปลอดภัย ดังนั้นการระดมและใช้การช่วยเหลือจากประชาคมระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพจึงมีความหมายสำคัญเป็นอย่างมากในการยกระดับทักษะความสามารถในการรับมือภัยธรรมชาติ รัฐมนตรีช่วยหว่างวันทั้งเผยว่า “ความร่วมมือระหว่างประเทศมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นแหล่งจัดสรรด้านการเงินเท่านั้นหากยังถ่ายทอดประสบการณ์อีกด้วย ในหลายปีมานี้ เวียดนามได้ร่วมมือกับหุ้นส่วนที่เข้มแข็งต่างๆในการรับมือภัยธรรมชาติเพื่อยกระดับทักษะความสามารถของเวียดนามในด้านนี้”
เพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัวและลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติให้เหลือน้อยที่สุด ทางกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทกำลังจัดทำแผนการ “ยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยวกับการรับมือและลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติจนถึงปี 2020 ในสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและน้ำทะเลซึม” โดยเน้นยกระดับทักษะความสามารถในการพยากรณ์และการเตือนภัยธรรมชาติตามที่ถูกระบุในกฎหมายการรับมือภัยธรรมชาติและการเตือนภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อย เช่น พายุ น้ำท่วม ฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม ภัยแล้งและน้ำทะเลซึม.

Feedback