( VOVworld ) - เพื่อช่วยส่งเสริมและอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าขมุ กองทุนสนับสนุนวัฒนธรรมให้แก่เขตชนเผ่าของสถานเอคอัคคราชทูตเดนมาร์คได้สนับสนุนด้านการเงินให้แก่ชนเผ่าขมุที่เมืองฟัง จังหวัดเดี่ยนเบียนของเวียดนามในกิจกรรมของคณะนาฏศิลปของพวกเขา ซึ่งการฝึกร้องหรือฟ้อนรำของคณะเปรียบเสมือนฝนตกยามหน้าแล้งสร้างบรรยากาศที่ชื่นมื่นและสนุกสนานในเขตเขาเตยบั๊กของประเทศเวียดนาม
|
ชายหญิงชนเผ่าขมุกำลังตีฆ้อง
|
ที่ท่านกำลังรับฟังอยู่ขณะนี้คือเสียงบรรเลงฆ้องของชนเผ่าขมุ หมู่บ้านแตน ซึ่งการฝึกแบบนี้มีขึ้นทุกๆสองเดือน โดยสมาชิกในคณะจะฝึกตีฆ้องเป็นจังหวะ การฝึกเล่นแคนและปี๊ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีเฉพาะของชนเผ่าขมุ ซึ่งได้รับความสนใจจากชาวบ้านจำนวนมาก
กิจกรรมดังกล่าวได้กลายเป็นกิจกรรมประจำ ซึ่งส่งผลให้ชาวบ้านได้รับชมการรำพื้นเมืองของชนเผ่าตน โดยไม่ต้องรอถึงงานเทศกาลต่างๆ นายกว่างวันเมื้อน หัวหน้าพรรคสาขาหมู่บ้านแตนเผยว่า ตั้งแต่ปี ๒๐๐๐ จากสถานการณ์ที่วัฒนธรรมของชนเผ่าตนกำลังจะถูกหลงลืมไป เขาและผู้สูงอายุของหมู่บ้านได้พยายามร่วมกันฟื้นฟูโดยจัดตั้งคณะนาฏศิลและเชิญชวนชาวบ้านเข้าร่วม “ เมื่อเพิ่งก่อตั้งมี ๒๐ คนสมัครเข้าร่วมแต่เนื่องจากจำนวนคนจะมากเกิน เราจึงคัดเลือกผู้ที่มีใจรักวัฒนธรรมพื้นเมืองและมีเวลาที่จะเข้าร่วม พวกเราทำอย่างนี้โดยสมัครใจ และจะฝึกสอนให้เด็กๆทุกๆหนึ่งหรือสองเดือน โดยคนที่รู้จักเป่าขลุ่ย แคนหรือเครื่องดนตรีอื่นๆจะสอนให้คนเล่นไม่เป็น การทำเครื่องดนตรรีก็ต้องเชิญช่างที่มีฝีมือดีมาทำและสอนให้คนอื่น ”
|
ัััเตรียมเครืองดนตรีสำหรับงานเทศกาลพื้นเมือง ( วีเอนเอสแปรสส์ ) |
คุณเหลื่องถิ่นุ้น อายุ ๓๕ ปีเป็นนางรำของคณะ เขาสามารถรำพื้นเมืองเวียงเวอร์กวงได้อย่างอ่อนช้อย เขาบอกว่า เขาเข้าร่วมคณะนาฏศิลป์ของหมู่บ้านเพื่ออนุรักษ์การรำพื้นเมืองของชนเผ่าตน อีกทั้งมีโอกาสแสดงให้ชาวบ้านได้ชมด้วย แต่สิ่งที่สำคัญคือเขาอยากให้ชนรุ่นใหม่ของหมู่บ้านเกิดความรักและชอบร้องเพลงหรือรำเหมือนตน “ ดิฉันทำอย่างนี้เพื่ออนุรักษ์คุณค่าวัฒนธรรมพื้นเมืองและถ่ายทอดให้สืบไป ดิฉันเข้าร่วมคณะนาฏศิลป์ตั้งแต่เริ่มแรก ดิฉันอยากได้รับการลงทุนทั้งด้านวัตถุและจิตใจแต่เงินทุนยังไม่พอจึงต้องทำเอง ดิฉันเข้าร่วมคณะเพื่อให้กำลังใจทุกคนในการรักและอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่า ”
|
รำกระทบไม้กันอย่างสนุกสนาน |
คุณเหลื่องถิ่เฝืองสมาชิกในคณะนาฏศิลป์สามารถร้องเพลงโบราณของชนเผ่าขมุอย่างไพเราะเสนาะโสต คุณเฝืองกล่าวว่า “ คุณพ่อและคุณแม่สอนร้องเพลงพื้นเมืองให้ตั้งแต่ดิฉันยังเป็นเด็ก ดิฉันรู้จักร้องเพลงโต้ตอบระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิงและเพลงขึ้นบ้านใหม่ โดยสามารถร้องได้ประมาณ ๖ บทเพลงแต่เพลงที่แสดงให้เห็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าคือเพลงขึ้นบ้านใหม่ โดยเนื้อร้องเป็นการอวยพรของชาวบ้าน ทุกคนชนแก้วดื่มเหล้าและร้องเพลงร่วมมกัน ส่วนเพลงสุขสันวันปีใหม่นั้นเป็นการขอพรจากผู้หลักผู้ใหญ่ผู้สูงอายุ อวยพรทุกคนและเด็นให้มีสุขภาพแข็งแรงทำธุรกิจได้กำไรงาม เนื้อร้องในบทเพลงของชนเผ่าขมุมีสาระกินใจดิฉันจึงอยากถ่ายทอดให้คนอื่นๆด้วย ”
กว่า ๒ ปีที่ผ่านมา สมาชิกประมาณ ๒๐ ชีวิตของคณะนาฏศิลป์หมู่บ้านแตนสามารถฟื้นฟูเพลงและการรำพื้นเมืองที่เกือบจะถูกหลงลืมตามกาลเวลา พวกเขาได้ถ่ายทอดจิตใจรักวัฒนธรรมพื้นเมืองให้แก่ชนรุ่นหลังๆเพื่อให้การรำเวียงเวอร์กวง ร้องโต้ตอบหรือการเล่นเครื่องดนตรีของชนเผ่าขมุได้คงอยู่ตราบนานเท่านาน ./.