มอบของขวัญที่เป็นสร้อยคอหินโมราให้แก่เจ้าสาว (khamphahue.com.vn) |
ตั้งแต่อดีตตามหมู่บ้านชุมชนต่างๆของชาวปาโกได้มีประเพณีที่เรียกว่า “ดีซิม” ซึ่งเป็นการแสดงความรักต่อกันของหนุ่มสาว เมื่อสองคนชอบใจกันแล้ว ฝ่ายชายสามารถมาหาฝ่ายหญิงแล้วใช้ไม้เท้าเคาะที่ใต้ถุนบ้าน ถ้าฝ่ายหญิงตกลงพบกันก็จะเปิดประตูให้เข้าบ้านแล้วสองฝ่ายจะพูดคุยและร้องเพลงรักพื้นเมืองต่างๆอย่าง เพลงซาวง เพลงต่าอวย เป็นต้น ปัจจุบันนี้ แม้จะไม่มีการปฏิบัติเหมือนแต่ก่อนแต่การร้องเพลงโต้ตอบระหว่างหนุ่มสาวเพื่อแสดงความในใจก็ยังคงได้รับการปฏิบัติต่อไปในพิธีแต่งงานต่างๆ
ในการหาคู่นั้น หนุ่มสาวปาโกสามารถเลือกหาคนรักด้วยตนเอง แต่เมื่อตัดสินใจจะแต่งงานกันจะต้องขออนุญาตจากครอบครัวของสองฝ่ายและต้องปฏิบัติขั้นตอนต่างๆตามประเพณี นาย โห่วันแหง ผู้ใหญ่บ้านปาโกที่อ.อาเลื้อย จ.เถื่อเทียนเว้ เผยว่า “ก่อนมีพิธีแต่งงานจะต้องทำพิธีรายงาน “หย่าง”หรือเทพเจ้า ที่หิ้งบูชาในบ้านของฝ่ายชายเพื่อรายงานให้บรรพบุรุษรับทราบว่า ลูกหลานในบ้านอยากแต่งงานมีครอบครัว เมื่อไปขอหมั้นต้องมีของขวัญที่เป็นลูกปัดหินโมราเพื่อแสดงความจริงใจในการสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกัน”
คู่บ่าวสาวเดินทางไปที่บ้านฝ่ายชาย (khamphahue.com.vn) |
สำหรับพิธีแต่งงานก็มีขั้นตอนต่างๆที่น่าสนใจ ซึ่งนอกจากต้องเตรียมสินสอดแล้วยังต้องเตรียมอาหารเพื่อต้อนรับคณะผู้แทนจากทั้งสองฝ่าย โดยฝ่ายชายเตรียมกำไลเงิน สร้อยลูกปัดโมราและเสื้อผ้า รวมทั้งเนื้อสัตว์สี่ขาเช่นหมู แพะและวัว ส่วนฝ่ายหญิงเตรียมผ้าลายพื้นเมืองและอาหารอื่นๆเช่นไก่เป็ดปูปลา พิธีแต่งงานแบ่งเป็นสองส่วนสำคัญได้แก่พิธีรับเจ้าสาวที่บ้านของฝ่ายหญิงและไปส่งที่บ้านฝ่ายชาย โดยสิ่งของที่พ่อแม่เจ้าสาวเตรียมไว้สำหรับลูกสาวคือผ้าลายพื้นเมือง ไก่ลวกและข้าวเหนียว เมื่อเดินออกจากบ้าน จะมีคนรอคลุมผ้าให้เจ้าสาวเพื่อป้องกันสิ่งร้ายในระหว่างการเดินทาง เมื่อขบวนส่งเจ้าสาวถึงหน้าบ้านฝ่ายชายก็มีแม่ของเจ้าบ่าวคอยรับลูกสะไภ้ เปิดผ้าคลุมบนศรีษะและใส่สร้อยคอที่เป็นลูกปัดโมรา หลังจากนั้นสองฝ่ายจะเริ่มพิธีมอบและรับตัวเจ้าสาวด้วยการร้องเพลงโต้ตอบระหว่างตัวแทนของสองฝ่าย
ซึ่งฝ่ายชายมักจะร้องว่า “บ้านฉันขาดพันธุ์ข้าวและข้าวโพต ได้ข่าวว่าที่บ้านคุณมีพันธุ์ดี เราอยากขอกลับบ้าน” ส่วนฝ่ายหญิงจะตอบว่า “ขอบคุณสำหรับคำขอ แต่พันธุ์ข้าวและข้าวโพตของเราต้นเล็ก เมล็ดลีบ กลัวว่าทางบ้านคุณจะไม่พอใจ” โดยถือเป็นประเพณีเชิงศิลปะและบ่งบอกความหมายที่ลึกซึ้งแห่งชีวิต ผ่านการร้องโต้ตอบนี้ฝ่ายชายได้บอกให้ฝ่ายหญิงรับรู้ว่าครอบครัวของตนขอรับเจ้าสาวมาอยู่และอยากได้ลูกสะใภ้ที่ดี นาย โห่วันเตี๊ยน นักวิจัยวัฒนธรรมชนเผ่าได้กล่าวว่า“การร้องเพลงโต้ตอบเป็นประเพณีสำคัญในพิธีแต่งงานของชาวปาโก เพลงที่ใช้มีทำนองที่เรียบง่ายและมีความหมายลึกซึ้ง ช่วยให้ทั้งสองฝ่ายชายหญิงแสดงความรักต่อกัน พร้อมทั้งชื่นชมความเก่งความสวยของลูกชายลูกสาวของตัวเอง”
พิธีอวยพรที่บ้านของเจ้าสาวก่อนไปที่บ้านเจ้าบ่าว(khamphahue.com.vn) |
การร้องเพลงโต้ตอบระหว่างสองฝ่ายนั้นนอกจากเป็นการอวยพรให้คู่บ่าวสาวอยู่กันเป็นสุขตลอดไปแล้วยังเป็นการสะท้อนเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและชื่อเสียงของตระกูลนั้นที่สามารถทำให้ทุกคนภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของชนเผ่าตน.