(VOVworld)-ถึงแม้ชีวิตจะมีการเปลี่ยนแปลงแต่เรือนไม้ยกพื้นของชาวเหมื่องบีที่จังหวัดหว่าบิ่งห์ยังคงได้รับการก่อสร้างตามประเพณีดั้งเดิมตั้งแต่เรื่องการเลือกทำเลตั้งบ้าน การออกแบบและการตกแต่งภายใน ซึ่งแม้จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆอย่างเคร่งครัดแต่ภาพรวมของบ้านก็ออกมาเรียบง่ายและมีความสวยงามที่ลงตัวเข้ากับธรรมชาติได้ดี
|
เมื่อพูดถึงชาวเหมื่องบีที่จังหวัดหว่าบิ่งห์ก็จะมีคำพูดติดปากว่า “ที่หนึ่งเหมื่องบี ที่สองเหมื่องวาง อันดับสามเป็นเหมื่องถ่างและอันดับสี่คือเหมื่องด๋ง” ซึ่งเป็นชุมชนชาวเหมื่อง4แห่งที่มีชื่อเสียงในจังหวัดหว่าบิ่งและเหมื่องบีถือเป็นชุมชนที่เก่าแก่ที่สุดเป็นถิ่นกำเนิดของวัฒนธรรมเหมื่องในจังหวัดหว่าบิ่งห์ โดยชาวเหมื่องบีที่หมู่บ้านอ๋าย อ.เตินหลากจ.หว่าบิ่งห์ยังคงอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมความเลื่อมใสและวิถีชีวิตดั้งเดิมไว้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นเด่นชัดที่สุดจากการแต่งกายและการออกแบบบ้านเรือน โดยเฉพาะบ้านไม้ยกพื้นของชาวเหมื่องที่เปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์ชีวิตของครอบครัว บ้านของนายบุ่ยวันเขิน ผู้ใหญ่บ้านชุมชนเหมื่องบีถือเป็นหนึ่งในกิจการที่โดดเด่นของชาวเหมื่องโดยสิ่งของทุกอย่างในบ้านล้วนมีความหมายสำคัญต่อทุกคนในครอบครัว บ้านหลังนี้ทำจากไม้ล้วนๆ พื้นปูด้วยไผ่สานซึ่งทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกหน้าร้อนเย็นสบายแต่เนื่องจากพื้นบ้านไม่มิดชิดดังนั้นหน้าหนาวก็หนาวจัด แต่ถึงกระนั้นทุกคนในบ้านก็ไม่อยากเปลี่ยนมาใช้แผ่นไม้ใหญ่ทำพื้นเพราะถือว่านี่คือเอกลักษณ์ดั้งเดิมของเรือนไม้โบราณของชาวเหมื่อง “ที่อื่นเขาทำพื้นเป็นไม้แต่เราอยากอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเหมื่องไว้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นในชุมชนของเราแม้จะมีกว่า20ครอบครัวที่สร้างบ้านใหญ่โตแต่ก็ยังใช้ใผ่สานปูพื้นอยู่เหมือนเดิม”
สำหรับชาวเหมื่องบ้านคือสมบัติที่สำคัญที่สุด เป็นที่บูชาบรรพบุรุษและช่วยให้ลูกหลานสำนึกในรากเง่าของตน ดังนั้นหนึ่งในเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดคือการเลือกที่ดินตั้งบ้านและทิศทางของบ้าน เช่นต้องเข้ากับสภาพป่าเขาได้ดีเพื่อที่จะนำโชคลาภมาสู่ครอบครัว โดยส่วนใหญ่ทั้งหิ้งบูชาและหน้าบ้านจะหันไปทิศตะวันออกเฉียงใต้
|
บ้านของชาวเหมื่องมีบันไดสองข้างโดยด้านหลังตั้งไกล้ถังน้ำเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การหุงข้าวทำอาหารของสตรี บันไดด้านหน้ามีขั้นตามเลขคี่เพราะชาวเหมื่องเชื่อว่าจะนำโชคลาภและความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ครอบครัว สำหรับเตาใหญ่ตั้งอยู่ห้องกลางเพราะถือเป็นวิญญาณของบ้านโรงเหมื่อง เป็นที่ทำอาหารและเป็นที่ชุมนุมของคนในครอบครัวเพื่อพูดคุยเรื่องต่างๆนาๆในชีวิต สำหรับบ้านไม้ยกพื้นของชาวเหมื่องมักจะแบ่งเป็นหลายห้องและจำนวนห้องในบ้านก็สะท้อนให้เห็นถึงฐานะของครอบครัวโดยยิ่งมีหลายห้องยิ่งฐานะดีเพราะแต่ละห้องจะเก็บสิ่งของที่แตกต่างกันตามความหมาย รวมทั้งการจัดห้องให้แก่สมาชิกในครอบครัวก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบ นายบุ่ยวันหาย ที่หมู่บ้านอ๋าย เผยว่า “สำหรับสามีภรรยาที่เพิ่งแต่งงานใหม่จะได้อยู่ในห้องท้ายบ้าน ใครยังไม่มีครอบครัวอยู่ห้องกลางส่วนพ่อแม่จะอยู่ห้องหน้าบ้าน เมื่อมีแขกมาทานข้าวจะใช้ห้องด้านหน้า ส่วนวันธรรมดาทั้งครอบครัวจะทานข้าวห้องกลาง โดยผู้สูงอายุจะนั่งบนที่สูงหันหน้าไปที่หน้าต่างต่อจากนั้นก็จะเป็นลูกหลานที่นั่งไล่ตามอายุ ซึ่งตามประเพณีแล้วต้องใช้หน้าต่างเป็นหลัก”
สำหรับหน้าต่างในภาษาเหมื่องเรียกว่า ว้อง และแต่ละห้องต้องมี1-2บานพร้อมชื่อเรียกตามความหมายเฉพาะ โดยลูกเขยและลูกสะไภ้ในบ้านห้ามนั่งที่หน้าต่างและจะนั่งได้เมื่อพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้ว นายหาย อธิบายว่า “หน้าต่างก็มีชื่อของมัน เช่นว้องตอง ว้องฮาย ว้องเคือ ว้องกอง ว้องแหล่ว เป็นต้นโดยว้องแต่ละส่วนจะเกี่ยวข้องกับการบูชาในบ้าน ที่บูชาบรรพบุรุษจะตั้งที่ว้องตอง สำหรับสัตว์เลี้ยงในบ้านก็มีการจัดที่เส้นไหว้ที่ว้องแหล่ว เมื่อมีเด็กเกิดใหม่จะทำพิธีเส้นไหว้เทพที่ว้องกอง”
เวลาที่ถือว่าเป็นฤกษ์ดีสำหรับสร้างบ้านคือช่วงเดือนต้นปีและถ้าหากมีครอบครัวไหนในหมู่บ้านจะสร้างบ้านใหม่ คนทั้งหมู่บ้านก็จะมาช่วยคนละไม้คนละมือตามความสามารถ จนถึงปัจจุบันนี้แม้ประเพณีดังกล่าวได้รับการสืบทอดกันมาหลายชั่วคนแล้วแต่ชาวเหมื่องบีที่จังหวัดหว่าบิ่งห์ยังคงพยายามอนุรักษ์เอกลักษณ์ทางสถาปัตยากรรมแบบโบราณอย่างสมบูรณ์เพราะพวกเขาถือว่าบ้านแต่ละหลังคือพิพิธภัณฑ์ชีวิตที่สะท้อนให้เห็นประเพณีวัฒนธรรมอันล้ำค่าต่างๆของชาวเหมื่องได้อย่างเด่นชัดที่สุด./.