(VOVworld)-ดนตรีพื้นเมืองของชนเผ่าเกอฮอก็มีความหลากหลายไม่แพ้ชนเผ่าอื่นใดซึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างคึกคักในงานเทศกาลต่างๆ ซึ่งเครื่องดนตรีที่ขาดมิได้ในทุกงานรื่นเริงคือฆ้องชุด6ใบ ปี่เกิมบวด พิญเกอร์ลา และกลองเซอเกอร์ โดยเครื่องดนตรีเหล่านี้สามารถประสานเสียงเข้าด้วยกันหรือแสดงเดี่ยวด้วยลีลาที่ไพเราะ
ฆ้องชุด6ใบ สมบัติของทุกครอบครัวชาวเกอฮอ
|
เพลงพื้นเมืองคือศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของทุกชาติทุกชนเผ่าและเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในชีวิตวัฒนธรรมและจิตใจของชาวท้องถิ่นรวมทั้งชาวเกอฮอ โดยนับตั้งแต่เริ่มลืมตาดูโลก เด็กเผ่าเกอฮอก็ได้ฟังเสียงเพลงกล่อมลูกจากแม่ เมื่อโตขึ้นเป็นหนุ่มสาวก็ได้รู้จักคุ้นเคยกับเพลงโต้ตอบหาคู่ รู้จักการเล่นดนตรีพื้นเมืองและลีลาท่ารำที่เป็นเอกลักษณ์ต่างๆของชนเผ่าตน
ไม่ว่าจะเป็นงานสังสรรค์ชุมชนงานเทศกาลฉลองปีใหม่ หรืองานเซ่นไหว้ถวายต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชาวเกอฮอก็ต่างร่วมร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนาน เมื่อมีแขกมาบ้านก็มีการร้องเพลงเชื้อเชิญแขกเพื่อเป็นการต้อนรับหรือบางทีผู้เฒ่าผู้แก่ในครอบครัวชอบนั่งข้างเตาไฟเพื่อร้องเพลงเล่าเรื่องโบราณให้ลูกหลายได้ฟัง ซึ่งเพลงพื้นเมืองเหล่านั้นส่วนใหญ่สะท้อนบรรยากาศวิถีชีวิตที่เรียบง่ายคุ้นเคยกับชาวท้องถิ่นที่ได้รับการสืบทอดกันรุ่นแล้วรุ่นเล่าเพื่อเสริมสร้างคุณค่าแห่งครอบครัวและอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนเผ่าไม่ให้เลือนหายไป
นอกจากเพลงพื้นเมืองแล้ว ชาวเกอฮอยังมีเครื่องดนตรีหลายอย่างที่ใช้ในงานเทศกาลและงานเซ่นไหว้ที่ถือเป็นตัวนำจังหวะในงาน เช่นพิณ ลูกอง หรือพิณหิน ซิงด่งลา หรือฆ้องดงลา กลองเซอเกอร์ หรือกลองหนังกวาง พิณ6สาย ปี่และแคน นาย เหงวียนวันแมง นักสะสมเครื่องดนตรีพื้นเมืองของชาวเกอฮอเผยว่า“สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับชาวเกอฮอคือ ฆ้องด่งลา ที่จะใช้ในงานมงคลต่างๆตลอดจนงานเทศกาลขึ้นบ้านใหม่หรืองานแรกนาขวัญก็จะมีการตีฆ้องด่งลาเพื่อเป็นสัญญาณเปิดงาน”
นอกจากฆ้องแล้วพิญหินก็เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีสำคัญ
|
สำหรับพิณหินและฆ้องเป็นเครื่องดนตรีสองอย่างที่ใช่ทั่วไปเป็นประจำในชุมชน โดยฆ้องชุด6ใบ ประกอบด้วย ซิงแม คือฆ้องหลักควบคุมจังหวะ ซิงเรอเดิน นำจังหวะคู่กับซิงแม ซิงเนอเยิน เปลี่ยนโทนเสียง ซิงเธอ-ซิงธี เป็นฆ้องตอบรับจังหวะจากซิงแม เมื่อแสดงฆ้อง ผู้ถือฆ้องต้องยืนเรียงแถวเป็นรูปครึ่งวงกลมตามลำดับของฆ้อง ในระหว่างการบรรเลงฆ้องก็มีการเดินไปมาตามจังหวะขึ้นลงเพื่อให้ดูอ่อนช้อยงดงาม
สิ่งที่น่ายินดีก็คือแม้จะผ่านช่วงเวลาที่ลำบากต่างๆของชีวิตแต่ชาวเกอฮอก็ยังคงพยายามธำรงประเพณีและสืบทอดกันต่อไป บวกกับแนวทางนโยบายส่งเสริมการอนุรักษ์ของทางการช่วยให้ชาวเกอฮอยิ่งตระหนักถึงการอนุรักษ์มรดกนี้ให้พัฒนาต่อไป นาย ห่าวันยิง เจ้าหน้าที่วัฒนธรรมชาวเกอฮอเผยว่า“ปัจจุบัน รัฐได้ให้ความสนใจในการส่งเสริมการก่อสร้างศูนย์วัฒนธรรมชุมชนตามท้องถิ่นรวมทั้งการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องดนตรีให้แก่ชนกลุ่มน้อย ตลอดจนสนับสนุนเงินทุนเพื่อพัฒนางานวัฒนธรรมต่างๆ”
มีหลายครอบครัวชาวเกอฮอได้ตระหนังถึงหน้าที่ในการรักษามรดกอันล้ำค่านี้ของชนเผ่าผ่านการสะสมและเก็บรักษาชุดเครื่องดนตรีโบราณ ซึ่งสำหรับพวกเขานี่ไม่เพียงแต่เป็นสมบัติครอบครัวเท่านั้นหากยังเป็นมรดกแห่งวัฒนธรรมที่สะท้อนเอกลักษณ์เฉพาะของชนเผ่าตนเพื่อให้ชนรุ่นหลังได้สืบทอดกันต่อไป.