ชนเผ่าจูรูในเวียดนาม

Vinh Phong /VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) -จูรู เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองที่ยาวนานที่สุดในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน แม้จะมีประชากรจำนวนน้อยแต่เอกลักษณ์วัฒนธรรมเฉพาะของชาวจูรูได้ช่วยสร้างความโดดเด่นให้แก่คลังวัฒนธรรมชนเผ่าต่างๆในเตยเงวียนทั้งด้านประเพณี งานเทศกาล เพลงและดนตรีพื้นเมืองรวมทั้ง ตำนานนิทานเกี่ยวกับความเป็นมาของชาวเผ่าจูรู
ชนเผ่าจูรูในเวียดนาม - ảnh 1ชนเผ่าจูรู  

ปัจจุบันชนเผ่าจูรูในเวียดนามมีประชากรราว2หมื่นคน อาศัยกระจายในจ.เลิมด่งและจ.นิงถวน ใช้ภาษาในกลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย ตั้งชุมชนอาศัยแบบหมู่บ้านและมีผู้ใหญ่บ้านเป็นคนดูแลกิจกรรมสำคัญของชุมชน ชาวจูรูประกอบอาชีพเกษตรกรรมและปลูกข้าวเป็นหลักเพื่อดำเนินชีวิต ส่วนในระดับครอบครอบจะใช้ชีวิตร่วมกัน3-4รุ่นในชายคาเดียวกัน

จุดเด่นที่สามารถสังเกตเพื่อแยกแยะชนเผ่าจูรูกับชนเผ่าอื่นๆคือชุดแต่งกายของทั้งหญิงและชายต้องมีผ้าโพกศรีษะ ผู้ชายมักจะใส่ชุดที่มีสีขาว กางเกงขายาว ผ้าโพกศรีษะก็เป็นสีขาว ส่วนในวันธรรมดาชุดเสื้อผ้าอาจจะเรียบง่ายกว่าคือมีแค่กางเกงและเสื้อคลุมยาวสีขาว สำหรับผู้หญิงจูรูมักจะใส่เสื้อและกระโปงที่มีผ้าคลุมข้างนอก โดยในวันธรรมดาใช้ผ้าคลุมสีดำส่วนผ้าคลุมสีขาวใช้สำหรับวันงานสำคัญต่างๆ

ในวิถีชีวิตของชนเผ่าจูรู กระพาคือหนึ่งในเครื่องใช้ไม้สอยประจำที่ผูกพันธ์กับชาวเตยเงวียนมาโดยตลอดที่ได้สะท้อนวัฒนธรรมและความรู้สึกนึกคิดของชาวจูรู นาง มาเฮือง ชาวบ้าน เปอเร จังหวัดเลิมด่งเผยว่า สีหลักที่ใช้ในการตกแต่งหรือย้อมโครงกระพาคือสีแดงที่เอามาจากเปลือกและใบไม้ หลังจากสานกระพาเสร็จชาวบ้านจะเอาไปแขวนไว้ที่ข้างบนของเตาไฟสักระยะหนึ่งให้ตกเป็นสองสีเพื่อออกลวดลายอย่างสวยงาม“ตั้งแต่เกิดมาชาวจูรูก็ได้ถูกอบรมบ่มสอนเรื่องใช้กระพาและสานกระพา นี่คือของใช้ประจำในการดำเนินชีวิต สามารถสะพายไปทำไร่ทำนาหรือเก็บข้าวของที่บ้าน”

ชนเผ่าจูรูในเวียดนาม - ảnh 2 ชนเผ่าจูรู(photo internet)

ช่วงเดือนกุมภาและมีนาเป็นช่วงที่ดอกกาแฟขาวบานสะพรั่งไปทั่วเขตเตยเงวียน ซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่าเข้าฤดูแห่งความรักและแต่งงานของหนุ่มสาวเผ่าจูรู โดยในวิถีชีวิตของชาวจูรู สตรีคือผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าผู้ชายดังนั้นในการหาคู่แต่งงาน สตรีจูรูจะเป็นคนเลือกสามี เมื่อมีสตรีคนใดถึงวัยแต่งงาน ฝ่ายหญิงและผู้ที่เป็นสื่อจะนำสิ่งของไปสู่ขอ หลังจากที่ฝ่ายหญิงได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องแต่งงานกับฝ่ายชาย สื่อจะใส่แหวนเงินและกำไลข้อมือให้แก่ผู้ชายบ้านนั้นแทนคำสู่ขอ ส่วนตัวแทนฝ่ายชายก็ใส่แหวนเงินให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อแทนคำตอบตกลงรับเป็นสะไภ้ของครอบครัว ดังนั้นสำหรับหนุ่มสาวชาวจูรู แหวนเงินไม่เพียงแต่เป็นเครื่องประดับตามประเพณีเท่านั้นหากยังถือเป็นของหมั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในพิธีแต่งงานอีกด้วย ฉะนั้นการทำแหวนหมั้นคู่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญที่ชาวจูรูต้องใช้ความพิถีพิถันในทุกขั้นตอน ช่างศิลป์ ยาต๊วต จากต.ตูจา อ.เดินเยือง จ.เลิมด่งเผยว่า“ผมมีประสบการณ์ทำแหวนหมั้นมากว่า20ปีแล้ว ในช่วงเริ่มต้นผมต้องเรียนวิธีการและเทคนิกเป็นเวลา3ปีแล้วทำไปสั่งสมประสบการณ์ไปจนถึงทุกวันนี้ นี่ถือเป็นอาชีพพื้นเมืองของชนเผ่าเราจึงต้องพยายามอนุรักษ์และสอนให้ชนรุ่นใหม่สืนสานต่อไป”

ในด้านวัฒนธรรมศิลปะ คลังสุภาษิตและคำพังเพย เพลงพื้นเมืองและตำนานโบราณของชาวจูรูนั้นมีความหลากหลายน่าสนใจมาก แถมชุมชนเผ่าจูรูยังสามารถรักษาเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ต่างๆหลายอย่างเช่น กลอง ปี่ดงลา เรอตง เตเนีย เป็นต้น ในวันงานต่างๆชาวจูรูมักจะฟ้อนรำตามจังหวะของเพลง ตามกา ที่ชาวบ้านรู้จักกันดี นอกจากนั้นในด้านความเลื่อมใสชาวจูรูก็มีประเพณีบูชาบรรพบุรุษและเซ่นไหว้เทพที่ดูแลส่วนต่างๆของชีวิตเช่นเทพแห่งสายน้ำ เทพแห่งรวงข้าว เป็นต้น.

Feedback