(VOVworld)- ปี2015โลกต้องประจักกับตัวเลขจำนวนผู้อพยพที่หนีปัญหาการเมืองที่ไร้เสถียรภาพ ความยากจนและสงครามกลางเมืองในประเทศตนที่สูงเป็นประวัติกาล ซึ่งได้มีการเปิดประชุมระหว่างประเทศหลายครั้งเพื่อที่จะแสวงหามาตรการต่างๆแต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีมาตรการใดเกิดประสิทธิผล ซึ่งบรรดาผู้นำยุโรปยังไม่สามารถบรรลุความตกลงเพื่อที่จะนำไปสู่ยุทธศาสตร์ร่วมเพื่อแก้ไขปัญหานี้ได้
ผู้อพยพเข้าเมืองมูนิกเยอรมนี(EPA)
|
ตามข้อมูลสถิติ จำนวนผู้อพยพเข้ายุโรปในปี2015ได้สูงเกิน1ล้านคน ซึ่งได้สร้างความท้าทายครั้งใหญ่ให้แก่เศรษฐกิจสังคมของประเทศต่างๆโดยเฉพาะปัญหาความมั่นคงเพราะในกระแสผู้อพยพนั้นมีสมาชิกเครือข่ายก่อการร้ายรวมอยู่ด้วย ตามการพยากรณ์ของสหประชาชาติ เฉลี่ยในจำนวนประชากร122คนมี1คนจำเป็นต้องอพยพ ดังนั้นกระแสผู้อพยพที่กำลังมุ่งสู่ยุโรปด้วยความหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้นนั้นได้กลายเป็นวิกฤตผู้อพยพที่รุนแรงที่สุดในทวีปนี้นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่2
มาตรการที่สลับซับซ้อน
ปี2015 ยุโรปต้องเผชิญกับกระแสผู้อพยพจากตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจต่างๆในทวีปนี้ยังไม่ฟื้นตัวหลังวิกฤตและอัตราคนว่างงานยังสูง ดังนั้นปัญหาผู้อพยพจึงกลายเป็นความโชคร้ายที่ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนสร้างเป็นภาระอันหนังหน่วงทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและความมั่นคงให้แก่ยุโรป โดยหลายประเทศไม่อาจสกัดกั้นกระแสผู้อพยพที่ข้ามชายแดนเข้าประเทศได้และยุโรปก็ตกเข้าสู่ภาวะวุ่นวายในการหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งหลายประเทศได้ปฏิบัติมาตรการป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำไม่ว่าจะเป็นการปิดด่านชายแดนหรือการตั้งรั้วตลอดจนได้มีการจัดประชุมฉุกเฉินประเทศยุโรปอย่างต่อเนื่องแต่ก็ไม่สามารถบรรลุความตกลงใดๆเพื่อที่จะแก้ไขเรื่องนี้
เมื่อปี2015 ประเทศยุโรปต่างๆไม่สามารถลงเอยกันในแผนการแบ่งโคว์ต้าผู้อพยพซึ่งทำให้สถานการณ์มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยในขณะที่ประเทศยุโรปตะวันตกเช่น เยอรมนี ฝรั่งเศสและสวีเดนแสดงท่าทีพร้อมเปิดรับผู้อพยพแต่บรรดาประเทศยุโรปตะวันออกกลับแสดงท่าทีคัดค้านเช่นฮังการีได้ตำหนิว่าการแบ่งโคว์ต้านั้นจะเป็นการส่งเสริมให้กระแสผู้อพยพเพิ่มจำนวนมากขึ้น และรั้วลวดหนามต่างๆที่ถูกตั้งขึ้นตามด่านชายแดนเพื่อขัดขวางผู้อพยพนั้นกลับกลายเป็นกำแพงกั้นระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาค คุกคามต่อการปฏิบัติสนธิสัญญาเชงเก็นหรือวีซ่าเชงเก็นที่สมาชิกยุโรป26ประเทศได้ลงนาม ความสับสนของยุโปรยิ่งแสดงออกอย่างชัดเจนมากขึ้นเมื่อเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศเดินหน้าในแนวทางเปิดรับกระแสผู้อพยพและทำให้ประชาคมระหว่างประเทศต้องซาบซึ้งใจด้วยคำประกาศต้อนรับผู้อพยพอย่างเป็นทางการนั้นก็ต้องเร่งรีบใช้มาตรการที่เข้มแข็งขึ้นเพื่อปกป้องชายแดนหลังเหตุก่อการร้ายเมื่อวันที่13กันยายนที่กรุงปารีส
อุปสรรคแความขัดแย้งที่ยากจะฟันฝ่า
สหภาพยุโรป ที่โลกรู้จักกันว่าเป็นองค์กรที่เอกภาพและมีคุณค่าร่วมกันในหลายด้านก็ต้องตกเข้าสู่ภาวะแตกแยกเนื่องจากกระแสผู้อพยพ โดยหนึ่งในสาเหตุที่สำคัญที่ประเทศต่างๆไม่สามารถแสวงหามาตรการร่วมกันคือปัญหาศาสนาและวัฒนธรรม ยกตัวอย่างคือสโลวาเกียได้ประกาศรับเฉพาะผู้อพยพที่เป็นชาวคริสต์ ฮังการีปฏิเสธรับชาวมุสลิมโดยเห็นว่าจะทำให้เอกลักษณ์ของยุโรปถูกเปลี่ยนแปลงเพราะจำนวนชาวมุสลิมที่อพยพ ซึ่งถ้ามองในด้านวัฒนธรรมก็สามารถอธิบายเรื่องประเทศยุโรปตะวันตกปฏิเสธรับผู้อพยพว่า ประเทศเหล่านี้เป็นประเทศเล็กไม่เคยตกเป็นอาณานิคม มีเอกภาพในด้านชนชาติดังนั้นการที่จะรับวัฒนธรรมอื่นนอกภูมิภาคยุโรปจะเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้ ส่วนสำหรับประเทศอื่นๆเช่นเยอรมนีและฝรั่งเศส เรื่องนี้สามารถยอมรับได้ง่ายขึ้นเพราะทั้งสองประเทศต่างเป็นดินแดนที่รับผู้อพยพมากที่สุดตั้งแต่ช่วงปี80ของศตวรรษที่20 ดังนั้นจึงสามารถยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ได้ง่ายกว่าประเทศอื่น นอกจากนั้นต้องกล่าวถึงแนวคิดต่อต้านอิสลามกำลังปะทุลามทั่วยุโรปโดยเฉพาะหลังเหตุก่อการร้ายเมื่อวันที่13กันยายนปี2015 ซึ่งความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนได้ทำให้ประเทศยุโรปยากที่จะเปิดรับผู้อพยพ
ความท้าทายในการรักษาคุณค่าร่วม
ปี2016 แม้ประเทศต่างๆในยุโรปได้ประกาศนโยบายและแผนการรับผู้อพยพแล้วแต่จากปัญหาต่างๆดังกล่าวอียูก็ยากที่จะแสวงหาความเห็นพ้องกันเพื่อควบคุมปัญหาผู้อพยพที่ถือว่ารุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งองค์การเพื่อผู้อพยพสากลได้กล่าวว่ายากที่จะคาดคำนวณผู้อพยพที่เข้ายุโรปในปีนี้ในเมื่อไม่มีมาตรการแก้ไขสงครามกลางเมืองของซีเรียและอียูกำลังต้องรับมือกับสภาวการณ์ที่ลำบากที่สุด ซึ่งต้องทำอย่างไรเพื่อธำรงคุณค่าร่วมและรักษาเอกภาพในความหลากหลาย คือคำถามที่ยากจะตอบได้และประชามติกำลังตั้งความหวังว่าอียูจะสามัคคีเพื่อรับมือกับความท้าทายครั้งนี้.