(VOVworld)-ในที่สุดการเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ก็มีโอกาสเกิดขึ้นจริงหลังจากที่เมื่อหลายวันที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายต่างแสดงท่าทีและมีก้าวเดินที่เข้มแข็งเพื่อสร้างพื้นฐานให้แก่การเจรจานี้ ส่วนทางด้านประชามติถึงแม้จะจับตามองท่าทีของทั้งสองฝ่ายแต่ก็ยังคงไม่แน่ใจต่อผลสำเร็จของการเจรจาดังกล่าวมากนักเพราะอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังคงมีความขัดแย้งกันในปัญหาหลักๆของกระบวนการนี้
|
รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐพบปะกับประธานาธิบดีปาเลสไตน์เมื่อวันที่19กรกฎาคม(AFP) |
ในการหารือเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่การเจรจาที่จะมีขึ้น ณ กรุงวอชิงตัน ทั้งสองฝ่ายได้กำหนดให้รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ทซิปี ลีฟนีและที่ปรึกษานายกฯ ยากอฟ มอลโจ เป็นตัวแทนของอิสราเอลส่วนตัวแทนของฝ่ายปาเลสไตน์นั้นจะเป็นนักเจรจาชั้นนำ ซาแอฟ เอเรกัต รวมไปถึงการเป็นคนกลางในการเจรจาของนาย มาร์ติน อินดิค อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐ ประจำอิสราเอล โดยประเด็นหลักของการหารือครั้งนี้คือการบรรลุสนธิสัญญาสันติภาพชั่วคราวเพื่อสถาปนารัฐปาเลสไตน์ในเขตแวสแบ๊งค์หลังจากที่อิสราเอลถอนตัวออกจากเขตนี้แต่จะไม่มีการตัดสินใจเรื่องพรมแดนโดยต้องการความเห็นพ้องให้แก่การจัดการเรื่องความมั่นคงระหว่างสามฝ่ายคือสหรัฐ-อิสราเอล-ปาเลสไตน์รวมไปถึงการรื้อถอนเขตที่อยู่อาศัยบางแห่งของชาวยิว ก่อนการเจรจา ฝ่ายอิสราเอลได้แสดงท่าทีที่จริงใจเมื่อประกาศว่าจะปล่อยตัวนักโทษปาเลสไตน์ประมาณ80คนที่ถูกคุมขังมานานหลายสิบปีโดยจะปฏิบัติเมื่อการเจรจาเริ่มขึ้นและแบ่งเป็นระยะๆ ส่วนบรรดาผู้นำอิสราเอลก็ได้แสดงความเห็นที่เข้มแข็งต่อการเจรานี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งประธานาธิบดีซีมอนเปเรสได้ย้ำว่าการรื้อฟื้นการเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์เป็นโอกาสที่ดีให้แก่ทั้งสองฝ่าย ขณะที่นายกฯอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮูยืนยันว่านี่เป็นโอกาสชี้ขาดต่ออนาคตของอิสราเอลและอิสราเอลจะเข้าร่วมการเจรจานี้อย่างจริงจัง ทางด้านประชามติระหว่างประเทศขณะนี้ก็ได้แสดงทีท่าต่างๆต่อการรื้อฟื้นการเจรจาสันติภาพครั้งสำคัญนี้ โดยเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติบันคีมุนได้กล่าวว่าผู้นำของทั้งสองประเทศควรแสดงความกล้าหาญและความรับผิดชอบสูงในการธำรงการเจรจาสันติภาพในรอบใหม่ ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง นางแคทเธอรีน แอชตัน กล่าวว่าในที่สุดก็สามารถมองเห็นแนวโน้มการบรรลุเป้าหมายด้านสันติภาพ ความมั่นคงรวมทั้งเกียรติและศักดิ์ศรีต่อทั้งชาวปาเลสไตน์และอิสราเอล ในขณะเดียวกันรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียก็มีความเชื่อมั่นว่า การเจรจานี้จะสามารถบรรลุข้อตกลงเพื่อผลักดันกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลางได้
ถึงแม้สัญญาณที่ออกมาได้สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่สดใสแต่ทุกฝ่ายต่างก็เข้าใจกันดีว่า เรื่องการตกลงรื้อฟื้นการเจรจาและการบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ไม่เกี่ยวข้องกันเพราะความขัดแย้งที่คั่งค้างมานานระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ยังไม่สามารถหาทางคลี่คลายกันได้และสิ่งนี่ได้สะท้อนให้เห็นทันทีเมื่อฝ่ายปาเลสไตน์ได้ยืนยันข้อเรียกร้องหลักๆคือนายกฯอิสราเอลต้องยอมรับความชอบธรรมของเส้นแบ่งพรมแดนที่มีขึ้นก่อนปี1967เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นให้แก่การกำหนดเส้นแบ่งพรมแดนของรัฐปาเลสตน์ในอนาคต แต่กลุ่มพันธมิตรฝ่ายขวาของนายกฯอิสราเอลกลับยืนยันว่าจะไม่ยอมเปลี่ยนจุดยืนเป็นอันขาดและรัฐมนตรีช่วยกระทรวงกลาโหมดานนี ดานอนยังประกาศว่าจะเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ถ้าหากเข้าร่วมการเจรจาบนพื้นฐานข้อเรียกร้องต่างๆของปาเลสไตน์ นอกจากนี้ผลการเจรจาจะไม่สามารถบรรลุได้โดยง่ายเมื่อขบวนการฮามาสที่กำลังควบคุมฉนวนกาซ่าได้ออกมากล่าวว่า การที่ทางการปาเลสไตน์รื้อฟื้นการเจรจากับฝ่ายที่ยึดครองดินแดนของตนเป็นการเดินสวนกับความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ของประชาชาติปาเลสไตน์และประธานาธิบดีมามุด อาบบาส ไม่มีสิทธิ์ทำการเจรจาแทนประชาชน
ทั้งนี้ การที่สามารถบรรลุข้อตกลงรื้อฟื้นการเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ที่ตกอยู่ในภาวะชงักงันตั้งแต่เดือนกันยายนปี2010ถือเป็นโอกาสที่ล้ำค่าเพื่อมุ่งฟื้นฟูกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตามเพื่อใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ทุกฝ่ายต้องร่วมประนีประนอมกันในปัญหาสำคัญที่ยังมีความขัดแย้ง แต่ดูเหมือนว่านี่คือเรื่องยากที่จะสำเร็จและตะวันออกกลางก็ยังคงอยู่ในวังวนแห่งความไร้เสถียรภาพและการปะทะต่อไป./.