(Photo Internet) |
หลังการก่อตั้งมาเป็นเวลา 28 ปี เอเปกได้กลายเป็นกลไกเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจชั้นนำของเอเชีย – แปซิฟิก แต่อย่างไรก็ตาม ในสภาวการณ์โลกปัจจุบัน เอเปกต้องรับมือกับความท้าทายต่างๆ เช่น ลัทธิคุ้มครองการค้าที่นับวันขยายตัวมากขึ้น กระบวนการฟื้นตัวที่ล่าช้าของเศรษฐกิจโลก การขยายตัวทางการค้าที่ชลอตัวลง เป็นต้น ซึ่งทำให้ความเชื่อมโยงผสมผสานภายในเอเปกต้องได้รับการปฏิรูปอย่างเข้มแข็ง
ขยายความร่วมมือเอเปกให้สอดคล้องกับบรรยากาศการแข่งขันระหว่างประเทศใหม่
ความร่วมมือการค้าและการลงทุนระหว่างบรรดาประเทศสมาชิกเอเปกเป็นเนื้อหาสำคัญที่สุดในเอเปก แต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ส่งผลให้โลกมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก หลายประเทศมีประชากรสูงอายุ กลุ่มชุมชนที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นและช่องว่างรายได้ก็เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้เอเปกต้องคำนึงถึงการปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาตัวเมืองและการเคลื่อนย้ายแรงงาน เป็นต้น ซึ่งนอกเหนือจากความร่วมมือเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การค้าและการลงทุนแล้ว ปัจจุบันนี้ เอเปกยังเน้นถึงการขยายความร่วมมือในด้านใหม่ๆ เช่น ปัญหาการก่อการร้าย ความร่วมมือด้านเทคนิกเศรษฐกิจและการรับมือกับภัยธรรมชาติ เพื่อขยายความเชื่อมโยง การผสมผสานและความต้องการในการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอกอัครราชทูตเหงียนเหงวียดงา ที่ปรึกษาระดับสูงของคณะกรรมการแห่งชาติเอเปกเวียดนาม 2017 เผยว่า “ลักษณะของทศวรรษที่ 2 ในศตวรรษที่ 21 คือการขยับตัวที่รวดเร็วของเศรษฐกิจโลกและความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะการปรากฎกลไกการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการเพิ่มระดับคำมั่นต่างๆ ดังนั้นเราต้องตระหนักได้ดีเกี่ยวกับเรื่องนี้”
ส่วนอดีตรองนายกรัฐมนตรีเวียดนามหวูควานให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับความท้าทายที่เอเปกกำลังต้องเผชิญ รวมทั้งเงื่อนไขของเอเปกในฐานะเป็นเครื่องมือใหม่ ทฤษฎีใหม่และวิธีการร่วมมือใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาใหม่ที่สอดแทรกกับแนวโน้มใหม่ “เมื่อก่อนนี้เอเปกคือกลไกเดียวแต่ปัจจุบันนี้เรามีกลไกอื่นๆ ซึ่งโดดเด่นที่สุดคือกลไกความร่วมมือ RCEP หรือกลไกความร่วมมมือทวิภาคีเสรีต่างๆ ดังนั้น เอเปกต้องยืนยันสถานะของตนเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนและการแข่งขันเพราะถ้าหากช้าเอเปกจะไม่สามารถมีความแข้มแข็งเท่ากับกลไกอื่นๆได้”
ในหลายปีมานี้ เอเปกยังเสนอเนื้อหาใหม่ของความร่วมมือ ซึ่งรวมทั้งการลดผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาเศรษฐกิจและการขยายตัวอย่างยั่งยืน อำนวยความสะดวกให้เศรษฐกิจสมาชิกเอเปกมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่ในกรอบของเอเปกเท่านั้น หากต้องรวมถึงความร่วมมือระหว่างกันอีกด้วย
เวียดนามพยายามร่วมกับเอเปกมุ่งสู่อนาคต
ในการประชุมครั้งนี้ ณ กรุงฮานอย จะมีผู้แทนประมาณ 2000 คนจาก 21 เศรษฐกิจสมาชิกเอเปกเข้าร่วมเพื่อดำเนินโครงการและแผนความร่วมมือด้านหลักๆในระยะยาวและเห็นพ้องเลือกเอกสารมราขะยื่นเสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อทำการอนุมัติการเตรียมเนื้อหาและเอกสารของการประชุมสุดยอดในปลายปีนี้ ในฐานะประเทศเจ้าภาพครั้งที่ 2 ของการประชุมเอเปก เวียดนามได้ยืนยันบทบาทการเป็นสมาชิกที่คล่องตัวและมีส่วนร่วมต่อการขยายความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพในฟอรั่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ดังคำยืนยันของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศฝ่ามบิ่งมิงห์ว่า “เวียดนามกำลังย่างเข้าสู่ยุคแห่งยุทธศาสตร์ใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงใหม่อย่างกว้างลึกต่อไป ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เป็นฝ่ายรุก เข้าร่วมการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกอย่างเข้มแข็งและรอบด้าน ดังนั้น เอเชีย – แปซิฟิกและเอเปกมีความสำคัญเป็นพิเศษต่อเวียดนาม เวียดนามได้วางแนวทางนโยบายใหญ่ๆคือ จะร่วมมือกับบรรดาประเทศสมาชิกเอเปกมุ่งสู่การสร้างสรรค์ภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกให้พึ่งพาตนเอง เชื่อมโยงกัน พัฒนาเท่าเทียมกัน ยุติธรรมและยั่งยืน”
สถานการณ์โลกและภูมิภาคกำลังมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ส่วนเอเปกกำลังย่างเข้าสู่ระยะที่เร่งด่วนของการเสร็จสิ้นเป้าหมายโบกอร์เกี่ยวกับเสรีภาพด้านการค้าและการลงทุนในปี 2020 เอเปกต้องมีพลังขับเคลื่อนใหม่ในการขยายตัวและพัฒนา เอื้อผลประโยชน์ให้แก่เศรษฐกิจสมาชิก นี่ยังเป็นเนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆของเวียดนามในฟอรั่มเอเปกครั้งนี้.