เหตุกราดยิงที่นองเลือดสัญญาณเตือนปัญหาการควบคุมอาวุธปืนในสหรัฐ

Ánh Huyền-VOV5
Chia sẻ

(VOVworld) - สหรัฐเพิ่งเผชิญกับเหตุกราดยิงที่นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐนับตั้งแต่โศกนาฏกรรม 11 กันยายน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ปืนที่ถูกใช้ในเหตุกราดยิงครั้งนี้และเหตุกราดยิงครั้งที่ผ่านๆมาเป็นปืนที่ซื้ออย่างถูกต้องตามกฎหมาย ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานรัฐบาลกลาง ซึ่งสิงนี้ถือเป็นคำเตือนเกี่ยวกับปัญหาการควบคุมอาวุธปืนในสหรัฐที่ถือว่า มีเสรีภาพและประชาธิปไตย

(VOVworld) - สหรัฐเพิ่งเผชิญกับเหตุกราดยิงที่นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐนับตั้งแต่โศกนาฏกรรม 11 กันยายน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ปืนที่ถูกใช้ในเหตุกราดยิงครั้งนี้และเหตุกราดยิงครั้งที่ผ่านๆมาเป็นปืนที่ซื้ออย่างถูกต้องตามกฎหมาย ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานรัฐบาลกลาง ซึ่งสิงนี้ถือเป็นคำเตือนเกี่ยวกับปัญหาการควบคุมอาวุธปืนในสหรัฐที่ถือว่า มีเสรีภาพและประชาธิปไตย

เหตุกราดยิงที่นองเลือดสัญญาณเตือนปัญหาการควบคุมอาวุธปืนในสหรัฐ - ảnh 1
ตำรวจไปสอบสวนบริเวณที่เกิดเหตุกราดยิง (THX)

ได้มีผู้เสียชีวิต 50 คนและบาดเจ็บ 53 คนจากเหตุกราดยิงที่ไนท์คลับ 'The Pulse' ในเมืองออร์แลนโดของรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐ ตามรายงานของสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐหรือเอฟบีไอ ผู้ก่อเหตุดังกล่าวคือนาย โอมาร์ ซาดดิคี มาทีน วัย 29 ปี อยู่อาศัยในนครนิวยอร์คและเคยถูกเอฟบีไอสอบสวนเมื่อปี 2013 และ 2014
ช่องโหว่ในการควบคุมอาวุธปืน

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุกราดยิงที่นองเลือดในสหรัฐ โดยเมื่อเดือนธันวาคมปี 2012 ได้เกิดเหตุกราดยิงในโรงเรียนประถมศึกษา แซนดี้ ฮุค ในรัฐคอนเนคติกัต ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 26 คนโดยเป็นเด็ก 20 คน ต่อจากนั้นก็เกิดเหตุกราดยิงในโบสถ์แห่งหนึ่งในเมืองชาร์ลตัน รัฐเซาท์แคโรไลน่าเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2015 ได้ทำให้มีผู้ผิวสีเสียชีวิต 9 คน เหตุกราดยิงใน คอมมิวนิตี้ คอลเลจ รัฐ ออริกอน เมื่อเดือนตุลาคมปี 2015 ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 10 คน และหลังจากนั้น 2 เดือน ได้เกิดเหตุกราดยิงในเมือง ซาน เบอร์นาร์ดิโน รัฐ แคลิฟอร์เนีย ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 14 คนและได้รับบาดเจ็บ 17 คน ตามรายงานสถิติ ในช่วงที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ย 90 คนต่อวันหรือมากกว่า 3 หมื่น 2 พันคนต่อปีเนื่องจากอาวุธปืน โดยเหตุกราดยิงในสหรัฐคิดเป็น 1 ใน 3 ของเหตุกราดยิงในทั่วโลก นอกจากนั้นสหรัฐยังเป็นประเทศที่มีการใช้อาวุธปืนมากที่สุดในโลก โดยคาดว่า มีปืน 270 ล้านถึง 310 ล้านกระบอกกำลังอยู่ในมือของประชาชนซึ่งหมายความว่า ชาวอเมริกันเกือบทุกคนต่างมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง
สำหรับเหตุกราดยิงล่าสุดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐได้เผยว่า ตั้งแต่ปี 2013 นาย โอมาร์ ซาดดิคี มาทีน ได้คุยกับเพื่อนร่วมงานว่า ตนสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย หลังจากนั้น 1 ปี เอฟบีไอได้ทำการสอบสวนนาย โอมาร์ ซาดดิคี มาทีน เนื่องจากถูกสงสัยว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับชาวอเมริกัน 1 คนที่เดินทางไปยังซีเรียเพื่อเข้าร่วมกลุ่มหัวรุนแรง แต่ในช่วงนั้น เอฟบีไอได้สรุปว่า นาย มาทีน ไม่ใช่ภัยคุกคาม และก่อนเกิดเหตุกราดยิงไม่กี่วัน นาย มาทีน ได้ซื้อปืนอย่างน้อย 2 กระบอก  ที่น่าสนใจคืออาวุธปืนที่ใช้ในเหตุกราดยิงล่าสุดในสหรัฐซื้อมาถูกต้องตามกฎหมายภายใต้การควบคุมของหน่วยงานรัฐบาลกลาง
ค่าของเสรีภาพ

ในทางเป็นจริง ไม่ใช่ต้องรอจนถึงขณะนี้ ประธานาธิบดี บารัค โอบาม่าหรือประธานาธิบดีสหรัฐในสมัยก่อนๆถึงจะตระหนักได้ดีเกี่ยวกับอันตรายจากอาวุธปืน ซึ่งนาย บารัค โอบาม่า ก็ได้กล่าวมาหลายครั้งว่า “พวกเราไม่ต้องถือเหตุกราดยิงเป็นราคาที่ต้องจ่ายให้แก่เสรีภาพ” และเร่งรัดให้ปฏิบัติมาตรการบริหารการมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองอย่างรัดกุม แต่ในตลอดระยะเวลาปฏิบัติหน้าที่ประธานาธิบดีสหรัฐเป็นเวลา 8 ปี ความผิดหวังและความรู้สึกไร้อำนาจของนาย โอบาม่า ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเพราะปัญหาการสนับสนุนหรือคัดค้านการควบคุมอาวุธปืนในรัฐสภาสหรัฐมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งทำให้ความพยายามของทางการประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า ไม่เกิดผล คือการออกกฎหมายควบคุมอาวุธปืนได้
ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ ยากที่จะห้ามไม่ให้มีการใช้อาวุธในสหรัฐในปัจจุบันได้เพราะการเปลี่ยนความคิดของชาวอเมริกันเกี่ยวกับการมีอาวุธไว้ในครอบครองเป็นสิ่งที่ยากยิ่ง เพราะนับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศสหรัฐ การขยายดินแดนไปยังทิศตะวันตกหรือการขยายอิทธิพลในโลก อาวุธปืนคือสิ่งที่ชาวอเมริกันมักพกติดตัวอยู่เสมอ เพราะตามความเห็นของพวกเขา นี่คือหนึ่งในเสรีภาพขั้นพื้นฐานของชาวอเมริกัน ส่วนบริษัทซื้อขายอาวุธก็มีรายได้มหาศาลจากการประกอบธุรกิจอาวุธปืนในทุกปี ซึ่งถือเป็นอิทธิพลต่อคะแนนสนับสนุนของบรรดา ส.ส ที่ขัดขวางไม่ให้รัฐสภาอนุมัติร่างกฎหมายจำกัดการใช้อาวุธปืนทุกฉบับ

เป็นที่ชัดเจนว่า สิทธิการมีอาวุธปืนของชาวอเมริกันตามกฎหมายสหรัฐได้ส่งผลกระทบที่น่าเศร้า และเหตุกราดยิงที่นองเลือดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายนคือคำเตือนเกี่ยวกับช่องโหว่ในการควบคุมอาวุธปืนในสหรัฐ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สหรัฐต้องฟันฝ่าในช่วงเวลาที่ลำบากนี้ คือต้องหาเหตุผลและเสนอมาตรการแก้ไข ส่วนรัฐสภาสหรัฐจะอนุมัติรัฐบัญญัติควบคุมอาวุธในเวลาที่จะถึงหรือไม่คือสิ่งที่ประชามติกำลังรอคอยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมในลักษณะเช่นนี้ขึ้นอีกในอนาคต.

Feedback