เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพของสื่อได้รับการค้ำประกันในเวียดนาม

Thu Hoa
Chia sẻ
(VOVWORLD) - สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิเสรีภาพด้านสื่อมวลชนคือสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ โดยเวียดนามได้ให้คำมั่นที่จะปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่อย่างไรก็ตาม นี่คือปัญหาที่อ่อนไหวและถูกกลุ่มอิทธิพลที่เป็นอริใช้เป็นข้ออ้างเพื่อต่อต้านพรรค รัฐและระบอบสังคมนิยม แต่ถึงกระนั้น สถานการณ์สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิเสรีภาพของสื่อในเวียดนาม โดยเฉพาะในช่วงนี้ ถือเป็นการตอบโต้ต่อคารมที่บิดเบือนความจริงดังกล่าวของฝ่ายที่เป็นอริ
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพของสื่อได้รับการค้ำประกันในเวียดนาม - ảnh 1 ศูนย์สื่อมวลชน ณ กรุงฮานอยในโอกาสการพบปะระหว่างผู้นำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี-สหรัฐ

ในฐานะเป็นประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่มีความรับผิดชอบ เวียดนามได้เข้าร่วมและลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับการค้ำประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์และสิทธิพลเมือง รวมถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน โดยมาตราที่10 ของรัฐธรรมนูญเวียดนามปี 1946 ระบุว่า “พลเมืองเวียดนามมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การจัดพิมพ์ การจัดการพบปะและประชุมตามกลุ่ม มีเสรีภาพด้านความเลื่อมใส การพำนักอาศัยและเดินทางทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ” สิทธิขั้นพื้นฐานเหล่านี้ได้รับการยืนยันในรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆของเวียดนาม ซึ่งล่าสุดนี้คือในมาตราที่ 25 ของรัฐธรรมนูญปี 2013 ระบุว่า “พลเมืองมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพด้านสื่อมวลชน การเข้าถึงข้อมูล การพบปะสังสรรค์ การก่อตั้งสมาคมและการชุมนุมภายใต้กรอบของกฎหมาย”

เวียดนามเป็นประเทศที่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพด้านสื่อมวลชนอย่างแท้จริง

เพื่อค้ำประกันการปฏิบัติสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพด้านสื่อมวลชนในชีวิตจริง เมื่อปี 2016 เวียดนามได้ประกาศใช้กฎหมายการเข้าถึงข้อมูลและกฎหมายสื่อมวลชน โดยมาตราที่3 ของกฎหมายการเข้าถึงข้อมูลระบุว่า “พลเมืองทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ไม่มีการเลือกปฏิบัติในด้านสิทธิการเข้าถึงข้อมูล โดยต้องจัดสรรข้อมูลอย่างถูกต้อง สมบูรณ์ ทันการณ์และโปร่งใสเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่พลเมือง” ส่วนมาตราที่10 ของกฎหมายการเข้าถึงข้อมูลระบุว่า พลเมืองมีสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลที่หน่วยงานภาครัฐเปิดเผยและมีสิทธิ์ขอให้หน่วยงานภาครัฐจัดสรรข้อมูล

สำหรับสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นผ่านกลไกสื่อสารมวลชนถูกระบุในมาตราที่ 11ของกฎหมายสื่อมวลชนปี2016 ว่า “พลเมืองมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ภายในประเทศและโลก แสดงความคิดเห็นต่อการจัดทำและปฏิบัติแนวทางและนโยบายของพรรคและกฎหมายของรัฐ การวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งข้อเสนอ การร้องเรียนและเปิดโปงคณะและบุคคลต่างๆ” โดยเฉพาะมาตราที่ 13ของกฎหมายสื่อมวลชนปี2016 ว่า “รัฐอำนวยความสะดวกให้แก่พลเมืองในการปฏิบัติสิทธิเสรีภาพด้านสื่อมวลชนและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นผ่านกลไกสื่อสารมวลชนเพื่อส่งเสริมบทบาทของหน่วยงานสื่อสารมวลชน ซึ่งสื่อมวลชนและนักข่าวปฏิบัติงานภายใต้กรอบของกฎหมายและได้รับการคุ้มครองจากรัฐ  ไม่มีใครสามารถฉกฉวยสิทธิเสรีภาพด้านสื่อมวลชนและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นผ่านกลไกสื่อสารมวลชนเพื่อคุกคามผลประโยชน์ของรัฐ สิทธิและผลประโยชน์อันชอบธรรมของคณะ บุคคลและพลเมือง ไม่มีการเซ็นเซอร์สื่อในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์” ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพด้านสื่อมวลชนและสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของพลเมืองเวียดนามถูกกำหนดอย่างสมบูรณ์และเป็นรูปธรรมเพื่อเอื้อให้แก่การปฏิบัติในชีวิตจริง

การปฏิบัติสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพด้านสื่อมวลชนที่สอดคล้องกับสถานการณ์ภายในประเทศ

ในสถานการณ์ที่เป็นจริง แม้ประเทศต่างๆจะมีวิธีการเข้าถึงประเด็นเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพด้านสื่อมวลชนที่แตกต่างกัน แต่ก็มีหลักการขั้นพื้นฐานคือการปฏิบัติสิทธิดังกล่าวต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การพัฒนาการศึกษาและระบอบการเมืองของแต่ละประเทศ และไม่ปล่อยให้มีการฉกฉวยสิทธิขั้นพื้นฐานเหล่านี้เพื่อคุกคามผลประโยชน์ของประเทศ ใส่ร้ายป้ายสีคนอื่นและส่งผลกระทบในทางลบต่อคุณธรรมและความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคม โดยมาตราที่11 ของปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิของประชาชนของฝรั่งเศสฉบับเมื่อปี 1789 ได้ระบุว่า “สิทธิเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นคือหนึ่งในสิทธิที่มีค่าที่สุดของมนุษย์ ดังนั้น พลเมืองทุกคนจึงมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในรูปแบบต่างๆ แต่ถ้าหากฉกฉวยสิทธิดังกล่าวเพื่อกระทำผิดกฎหมายก็จะถูกลงโทษตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด” ส่วนสหรัฐแม้จะไม่ประกาศใช้กฎหมายสื่อมวลชน แต่ก็มีเอกสารทางกฎหมายของรัฐสภาและศาลที่กำหนดข้อจำกัดต่อสื่อมวลชน รวมทั้งสิทธิและความรับผิดชอบด้านสื่อมวลชนของพลเมืองเพื่อไม่ให้คุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ ส่วนข้อ2 มาตราที่29 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนปี 1948ระบุว่า “ต้องปฏิบัติสิทธิเสรีภาพในด้านต่างๆภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อค้ำประกันการรับรองและการให้ความเคารพสิทธิเสรีภาพของบุคคลคนอื่น รวมทั้งความยุติธรรม ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสงบสุขในสังคมที่มีประชาธิปไตย” ส่วนในประวัติศาสตร์โลกได้มีกรณีต่างๆที่เป็นผลพวงจากการฉกฉวยสิทธิเสรีภาพด้านสื่อมวลชนเพื่อกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งในทางเป็นจริง ไม่มีประเทศใดที่อนุญาตให้ปฏิบัติสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพด้านสื่อมวลชนเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนดและคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ

ในภารกิจการสร้างสรรค์และปกป้องปิตุภูมิ พรรคและรัฐเวียดนามได้ถือการค้ำประกันการปฏิบัติสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพด้านสื่อมวลชนคือหนึ่งในมาตรการที่สำคัญเพื่อส่งเสริมจิตใจแห่งความสามัคคี ความปรารถนา และสติปัญญาของประชาชนทุกภาคส่วนเพื่อปฏิบัติเป้าหมายประชาชนมั่งคั่ง ประเทศเจริญเข้มแข็ง มีประชาธิปไตย มีความยุติธรรมและอารยธรรมให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพด้านสื่อมวลชนได้รับการค้ำประกันในเวียดนาม ยิ่งไปกว่านั้น ในการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก เวียดนามได้ให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ประสบการณ์ของประเทศต่างๆเพื่อให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพด้านสื่อมวลชนของประชาชนได้รับการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น.

                                                หนังสือพิมพ์กวนโดยเยินเซิน

Feedback