( VOVworld ) -กระแสชุมนุมในสเปนและโปรตุเกสเพื่อประท้วงรัฐบาลที่ประกาศบังคับใช้มาตรการเพิ่มภาษีและลดค่าใช้จ่ายชุดใหม่ตามเงื่อนไขเพื่อแลกกับการได้กู้เงินนั้นกำลังบานปลายจนอาจกลายเป็นการจราจล ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีเศรษฐกิจพัฒนาอยู่อันดับ ๔ และ ๕ ของยุโรปได้ตกเข้าสู่ภาวะวิกฤตซ้ำอีกต่อจากกรีซ ไอร์แลนด์และอิตาลี่ ทั้งนี้ได้ส่งผลให้วิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปนับวันเลวลงอีก ซึ่งบรรดาผู้นำประเทศยุโรปกำลังหามาตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าวแต่ดูเหมือนว่ายังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ในขณะนี้เพราะมาตรการตัดค่าใช้จ่ายและเก็บภาษีเพิ่มที่กำลังปฏิบัติอยู่นั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
|
การชุมนุมที่สเปน ( รอยเตอร์) |
ที่สเปน ช่วง ๓ วันที่ผ่านมา ผู้ชุมนุมประท้วงนับหมื่นคนจากทั่วประเทศได้มารวมตัวกันที่ใจกลางกรุงมาดริดเพื่อคัดค้านมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล โดยสหพันธ์การประชุมสุดยอดสังคมซึ่งประกอบด้วยองค์การสังคมนับร้อยองค์กรเป็นผู้เรียกร้องจัดการประท้วง ผู้เดินขบวนประท้วงส่วนใหญ่เป็นข้าราชการที่คัดค้านการเพิ่มภาษีและตัดค่าใช้จ่ายสวัสดิการสังคม โดยพวกเขาเห็นว่า รัฐบาลสเปนกำลังปฏิบัตินโยบายเพื่อผลประโยชน์ของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ สหภาพยุโรปหรืออียูและกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอมเอฟ หากไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน การชุมนุมประท้วงเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลสเปนประกาศจะปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหม่ในปลายเดือนนี้ด้วยมาตรการรัดเข็มขัดและตัดค่าใช้จ่ายประมาณ ๑ แสน ๒ หมื่น ๕ พันล้านดอลล่าร์สหรัฐภายใน ๓ ปีเพื่อแลกกับเงินกู้งวดแรก ๓ หมื่น ๖ พันล้านดอลล่าร์สหรัฐจากทั้งหมด ๑ แสน ๒ หมื่น ๒ พันล้านดอลล่าร์สหัฐจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศและเงินกู้อื่นๆจากสถาบันการเงินต่างๆของยุโรปเพื่อให้ธนาคารของสเปนสามารถแก้ไขปัญหาหนี้เสียจากผลกระทบของอสังหาริมทรัพย์ฟองสบู่และคนว่างงานที่มีอัตราสูงถึงร้อยละ ๒๕
ส่วนที่โปรตุเกส ประชาชนประมาณหนึ่งแสนคนได้ชุมนุมประท้วงที่กรุงลิสบอนและอีกหลายเมือง ซึ่งได้เกิดการปะทะระหว่างผู้ประท้วงกับเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงด้านหน้าอาคารรัฐสภา ผู้เดินขบวนประท้วงยังบุกเข้าไปยังสำนักงานกองทุนการเงินระหว่างประเทศด้วย สาเหตุของการเดินขบวนประท้วงคือนโยบายรัดเข็มขัดของรัฐบาลโปรตุเกสเพื่อแลกกับเงินกู้จำนวน ๑ แสน ๑ หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐส่งผลให้ผู้ที่ได้รับเงินเดือนต้องจ่ายค่าบริการสวัสดิการสังคมมากขึ้น โดยถูกติติงว่า มาตรการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคนงานซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ส่วนคนรวยไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด
การชุมนุมประท้วงในหลายประเทศยุโรปแสดงให้เห็นว่า มาตรการลดภาวะหนี้และเพิ่มงบประมาณแผ่นดินด้วยการลดค่าใช้จ่ายหรือเพิ่มภาษีนั้นได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและความไม่สงบในสังคมซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม้นโยบายรัดเข็มขัดจะเป็นมาตรการชั่วคราวเท่านั้นแต่ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยประเทศต่างๆในภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอที่สุดต้องพยายามฟันฝ่าช่วงวิกฤตนี้ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจที่หดตัวลงจนไม่มีสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ การขาดดุลเงินเดินสะพัด ปัญหาคนว่างงานจำนวนมากตลอดจนต้องเผชิญกับการถูกไล่ออกจากยูโรโซน ซึ่งเงินสกุลยูโรเคยถูกคาดหวังว่าจะนำมาซึ่งผลประโยชน์มากมายให้แก่ประเทศสมาชิกที่กำลังปรับตัวเข้ากับเขตนี้อย่างกว้างลึกยิ่งขึ้น อย่าไรก็ดี การบริหารเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิกที่มีความแตกต่างกันได้นำมาซึ่งการแบ่งขั้วในภูมิภาค โดยบางประเทศสมาชิกต้องประสบกับความเสี่ยงจากเงินเฟ้อหรือการขาดดุลการค้าจนส่งผลให้เกิดความไม่สมดูลย์ในภูมิภาค
|
ผู้ชุมนุมคัดค้านการเพิ่มภาษีและตัดค่าใช้จ่ายสวัสดิการสังคม( รอยเตอร์ )
|
จากสถานการณ์ดังกล่าวอาจจะเห็นได้ว่าบรรดาผู้นำและผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในยุโรปยังไม่สามารถหามาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อฟันฝ่าช่วงวิกฤตอันมืนมนนี้ไปได้ แม้ว่า เมื่อเร็วๆนี้บรรดาผู้นำประเทศเขตยูโรโซนได้มีเสียงพูดเดียวกันที่เห็นพ้องกับแผนการส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจและการจัดตั้งกลไกตรวจสอบธนาคารกลาง แต่บรรดานักวิเคราะห์เห็นว่า ต้องมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ ซึ่งการใช้มาตรการการเงินที่เปิดกว้างและคล่องตัวที่สหรัฐกำลังดำเนินอยู่นั้นอาจจะเป็นมาตรการที่ถูกต้อง โดยต้องลดอัตราดอกเบี้ยและเพิ่มจำนวนเงินหมุนเวียนในตลาดเพื่อที่จะสามารถซื้อหนี้สินของประเทศสมาชิกโดยตรง พร้อมๆกันนั้นสหภาพยุโรปต้องดำเนินมาตรการลดช่องว่างต่อความเชื่อถือของสินเชื่อของเศรษฐกิจต่างๆและจำหน่ายพันธบัตรภูมิภาคหรือยูโรบอนด์เพื่อลดรายจ่ายด้านการเงินให้แก่ประเทศที่ขาดเสถียรภาพทางการเงิน แต่ข้อเสนอเกี่ยวกับการจำหน่ายยูโรบอนด์ได้ถูกปฏิเสธจากเยอรมนี
อาจกล่าวได้ว่า วิกฤตหนี้สาธารณะในเขตยูโรโซนยังต้องใช้เวลาอีกนานเพื่อแก้ไข ปัญหาในปัจจุบันคือ ประเทศต่างๆในเขตนี้ต้องเชื่อมั่นในเงินสกุลยูโรของตนต่อไป การใช้มาตรการลดค่าใช้จ่ายต้องปฏิบัติอย่างคล่องตัวและมีความยุติธรรม ซึ่งถ้าทำได้เช่นนี้ก็จะได้รับความเห็นพ้องจากประชาชนทุกภาคส่วน วงการวิเคราะห์สถานการณ์เห็นว่า การแก้ไขปัญหาตามขั้นตอนก็จะสามารถประสบผลได้ แต่ระยะทางนี้ยังมีขวากหนามขวางกั้นมากมายเพราะตามการพยากรณ์นั้น เศรษฐกิจของ ๑๗ ประเทศเขตยูโรโซนจะตกเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีนี้เนื่องจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตหนี้ได้ซึ่งก็เป็นการเปิดลู่ทางให้แก่การขยายตัวในอนาคต ./.