(VOVworld) - ถึงแม้ว่าใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เวียดนามได้ประสบความสำเร็จในการลดอัตราความยากจน จากร้อยละ 58.1 เมื่อปี 1993 เหลือต่ำกว่าร้อยละ 10 ตามมาตรฐานความยากจนแห่งชาติ แต่ยังคงต้องรับมือกับความท้าทายต่างๆในการรักษาความยั่งยืนในการแก้ปัญหาความยากจนเพราะ ยังมีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ที่หลุดพ้นจากความยากจนจะกลับไปยากจนอีกครั้ง สถานการณ์การลดความยากจนระหว่างเขตต่างๆยังไม่เท่ากันและยังเกิดปัญหาความยาจนในเขตตัวเมือง ดังนั้นเพื่อสามารถรับมือกับสถานการณ์ใหม่ เวียดนามกำลังปรับเปลี่ยนวิธีการเข้าถึงปัญหาเพื่อให้กระบวนการปฏิบัติมีความยั่งยืนยิ่งขึ้น
|
นายโงเฉื่องทีตอบคำถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจน (Photo VOV) |
(VOVworld) - ถึงแม้ได้รับการประเมินว่า เวียดนามเป็นหนึ่งในน้อยประเทศที่มีนโยบายแก้ปัญหาความยากจนอย่างสมบูรณ์แต่จากการมีนโยบายมากเกินไปได้ทำให้การแก้ปัญหาความยากจนขาดความเป็นเอกภาพและเกิดการปฏิบัติที่ซ้ำซ้อน ดังนั้นต้องมีการปรับปรุงใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อน ยกระดับประสิทธิภาพและเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ยากจน นายโงเฉื่องที ปลัดสำนักงานโครงการเป้าหมายแห่งชาติว่าด้วยการแก้ปัญหาความยากจนสังกัดกระทรวงแรงงานทหารทุพพลภาพและสังคมเวียดนามเผยว่า“ ในเร็วๆนี้ เวียดนามต้องขยายนโยบายที่เข้าถึงครอบครัวใกล้ยากจนและครอบครัวที่เพิ่งพ้นจากความยากจนเพื่อให้พวกเขาไม่กลับไปเป็นผู้ยากจนอีก ซึ่งหมายความว่าต้องสร้างแรงจูงใจให้พวกเขาพ้นจากความยากจน สองคือต้องมีเงื่อนไขที่เป็นรูปธรรมแทนการใช้แต่นโยบายที่ให้ความช่วยเหลือเพียงอย่างเดียว สามคือต้องกรอบเวลาที่ชัดเจน ซึ่งเราจะให้เงินสนับสนุนเป็นเวลา 3 – 5 ปีเท่านั้น ถ้าหากพวกเขาไม่พยายามพ้นจากความยากจนก็จะไม่ได้รับการช่วยเหลืออีก”
ดังนั้นเพื่อสามารถแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเข้าถึงผู้ยากจน โดยต้องพิจารณาในหลายแง่มุม เช่น ไม่ควรอาศัยมาตรฐานทางรายได้อย่างเดียวเหมือนในอดีต“การพิจารณาในอดีตทำให้เรามองข้ามกลุ่มคนบางกลุ่ม ซึ่งกลุ่มนี้ควรได้รับการสนับสนุนแต่กลับไม่ได้เพราะแม้ว่าพวกเขาจะเป็นผู้ยากจนแต่ก็อพยพจากชนบทไปยังตัวเมืองหรือเป็นกรรมกร เราพิจารณามาตรฐานผู้ยากจนตามครอบครัวเท่านั้น และพวกเขาไม่ใช่ครอบครัวที่ยากจน จึงไม่ได้รับความช่วยเหลือ ดังนั้นการปรับปรุงวิธีการเข้าถึงโดยมีหลายมุมมองถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะช่วยให้เราทราบจำนวนผู้ยากจนได้อย่างถูกต้องและสร้างนโยบายที่เหมาะสมให้แก่กลุ่มผู้ยากจนแต่ละกลุ่ม พร้อมทั้งสามารถประเมินผลของนโยบายอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ยากจนทุกคนจะไม่ได้รับนโยบายช่วยเหลือเหมือนกัน เราจะมีการแบ่งกลุ่มนี้ตามมาตรฐานความยากจนหรือมาตรฐานชีวิตในระดับต่ำสุด”
|
นางฝ่ามถิ่หายเฉวี่ยนกล่าวปราศรัยในฟอรั่ม "แก้ไขความยากจน - วิศัยทรรศในอานาคต" ที่มีขึ้น ณ กรุงฮานอยเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม (Photo: VOV)
|
ควบคู่กันนั้น เวียดนามจะจัดสรรค์แหล่งพลังให้เขตที่ยากจนพิเศษและเขตชนกลุ่มน้อยเพื่อแก้ไขสถานการณ์การลดความยากจนที่ไม่เท่ากัน นางฝ่ามถิ่หายเฉวี่ยน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมเวียดนามเผยว่า “พวกเราจะให้สิทธิพิเศษต่อการจัดสรรค์แหล่งพลังให้แก่เขตที่ยากจนที่สุดและเขตชนกลุ่มน้อยต่อไป โดยจะมีทั้งระบบการเมือง สังคมและรัฐเข้าร่วมเพื่อปฏิบัติเป้าหมายการแก้ปัญหาความยากจนอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ตลอดจนลดช่องว่างการพัฒนา ส่วนการร่างและประกาศนโยบายช่วยเหลือฉบับใหม่ต้องปฏิบัติตามแนวทาง ขยายบุคคลที่เป็นผู้ยากจนคือจะมีทั้งครอบครัวที่เพิ่งพ้นจากความยากจนและครอบครัวใกล้ยากจน โดยจะแบ่งการช่วยเหลือตามระดับคือ ให้ความสนใจก่อนต่อครอบครัวที่ยากจน ต่อจากนั้นคือครอบครัวที่เพิ่งพ้นจากความยากจนและครอบครัวใกล้ยากจน”
จากการปรับเปลี่ยนวิธีการเข้าถึงในการแก้ปัญหาความยากจนทั้งในด้านนโยบาย บุคคลและการจัดสรรค์แหล่งพลัง เวียดนามกำลังพยายามปฏิบัติเป้าหมายการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนเพื่อมีส่วนร่วมต่อการรักษาเสถีรภาพทางสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ยากจนให้ดีขึ้น./.