เมดิเตอร์เรเนียน: การแข่งขันพหุภาคีที่ซับซ้อน

Bá Thi
Chia sẻ
(VOVWORLD) - เป็นไปตามความวิตกกังวลของบรรดานักวิเคราะห์ ความตึงเครียดระหว่างกรีซกับตุรกี ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีความขัดแย้งต่างๆทางประวัติศาสตร์มานานที่เกิดขึ้นเมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนฝั่งตะวันออกได้เพิ่มความซับซ้อนและน่าวิตกกังวลต่อไป ซึ่งมีความเสี่ยงกลายเป็นวิกฤตที่รุนแรงในภูมิภาค
เมดิเตอร์เรเนียน: การแข่งขันพหุภาคีที่ซับซ้อน - ảnh 1เรือรบกรีซทำการซ้อมรบกับกองทัพเรือของฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ณ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Reuters) 

การโต้เถียงกันระหว่างสองประเทศสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้เกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุเรือพิฆาต Limmos ของกรีซและเรือสำรวจ Oruc Reis ของตุรกีกระทบกระทั่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนฝั่งตะวันออกที่ทั้งสองประเทศต่างอ้างว่าตัวเองมีสิทธิ์เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม โดยตุรกีได้มีท่าทีคัดค้านอย่างรุนแรงต่อเหตุการณ์นี้ โดยแสดงความเห็นว่า นี่คือการกระทำที่ยั่วยุของกรีซและความตึงเครียดได้ทวีถึงจุดสูงสุดเมื่อทั้งสองประเทศต่างจัดการซ้อมรบในเวลาเดียวกันกับหุ้นส่วนต่างๆของตนในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในช่วงวันสุดท้ายของเดือนสิงหาคมซึ่งสร้างความวิตกกังวลเป็นอย่างมากต่อประชาคมโลก

ยุโรปและนาโต้มีท่าทีที่เข้มแข็ง

เพื่อไม่ปล่อยให้ปัญหาลุกลามจนควบคุมไม่ได้ ในวันแรกหลังเกิดการกระทบกระทั่ง สหรัฐและยุโรปได้ปฏิบัติมาตรการที่เข้มแข็ง โดยเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม สหภาพยุโรปหรืออียูได้จัดการประชุมฉุกเฉินระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกเพื่อหารือเกี่ยวกับมาตรการรับมือ ที่ประชุมได้เห็นพ้องกันว่า การเรียกระดมพลกองทัพเรือเมื่อเร็วๆนี้ของตุรกีจะ “นำไปสู่แนวโน้มการเผชิญหน้าและความไม่ไว้วางใจที่รุนแรงมากขึ้น” ในวันเดียวกัน นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐและนาย เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้พูดคุยทางโทรศัพท์แสดงความวิกตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสองประเทศสมาชิกนาโต้

จนถึงวันที่ 28 สิงหาคม นาย เจนส์ สโตลเตนเบิร์ก  เลขาธิการใหญ่นาโต้ได้เจรจาทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีตุรกี รีเซฟเตย์ยิป เออร์โดกัน โดยเรียกร้องให้ตุรกีและกรีซ คลี่คลายความตึงเครียด แก้ไขการพิพาทบนเจตนารมณ์แห่งความสามัคคีและพื้นฐานของกฎหมายสากล ซึ่งก่อนการเจรจาทางโทรศัพท์ 1 วัน เลขาธิการใหญ่นาโต้ยังได้ประกาศว่า นาโต้กำลังพิจารณามาตรการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการปะทะเพื่อขัดขวางปัญหาการกระทบกระทั่งในภูมิภาคที่นับวันร้อนระอุมากขึ้น

ในขณะเดียวกัน ในฐานะประธานหมุนเวียนอียู เยอรมนียังได้พยายามเป็นอย่างมากเพื่อคลี่คลายความตึงเครียด ที่น่าสนใจคือการที่รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี ไฮโก มาส ได้เดินทางไปเยือนทั้งกรีซและตุรกีในฐานะคนกลางไกล่เกลี่ยเพื่อคลี่คลายความตึงเครียดระหว่างสองประเทศพันธมิตรของนาโต้

โดยเฉพาะ ไม่เพียงแต่เรียกร้องให้ไกล่เกลี่ยเท่านั้น แต่อียูยังแสดงท่าทีที่แข็งกร้าวต่อเหตุการณ์นี้ โดยนาย Josep Borrell ตัวแทนระดับสูงของสหภาพยุโรปหรืออียูที่ดูแลนโยบายความมั่นคงและด้านการต่างประเทศได้ประกาศว่า อียูจะหารือมาตรการคว่ำบาตรตุรกีในการประชุมสุดยอดอียูซึ่งกำหนดจะมีขึ้นในวันที่ 24 กันยายนนี้

การแข่งขันพหุภาคีที่ซับซ้อนด้านทรัพยากรธรรมชาติ

ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ ความตึงเครียดในเมดิเตอร์เรเนียนในเวลาที่ผ่านมาซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากประชามติโลกก็เพราะในทางเป็นจริง ปัญหานี้มีส่วนเกี่ยวข้องถึงหลายประเทศในภูมิภาคและโลก มิใช่แค่ระหว่างกรีซและตุรกีเท่านั้น

ผลการวิจัยเมื่อปี 2010 ของสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐแสดงให้เห็นว่า เขต Levant Basin ในทะเลเมดิเตอเรเนียนฝั่งตะวันออกมีน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จำนวนมาหศาล โดยก๊าซธรรมชาติมีปริมาณอยู่ที่ประมาณ 3.5 ล้านล้านลูกบาศก์เมตรและน้ำมันดิบ 1.7 พันล้านบาร์เรล ซึ่งทรัพยากรมหาศาลนั้นทำให้การแข่งขันระหว่างทั้งสองฝ่ายเข้มข้นมากขึ้นและจนถึงขณะนี้ นอกจาก 2 ประเทศดังกล่าวแล้วก็ยังมีหลายประเทศที่เข้าร่วมกระบวนการสำรวจต่างๆทรัพยากรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนฝั่งตะวันออก เช่นอียิปต์ ไซปรัสและอิสราเอล แต่มี 4 ประเทศคือ กรีซ ไซปรัส อียิปต์และอิสราเอลได้ผลักดันความร่วมมือระหว่างกัน ส่วนตุรกียืนอยู่อย่างโดดเดี่ยวในความพยายามนี้

สถานการณ์ที่เป็นจริงนี้ได้ทำให้ทางการอังการาตัดสินใจเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ผ่านการปฏิบัตินโยบาย “การทูตแบบเรือปืน” โดยส่งเรือสำรวจ Oruc Reis พร้อมเรือคุ้มกันไปยังเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนฝั่งตะวันออกเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม จนนำไปสู่การกระทบกระทั่งกับเรือพิฆาตกรีซและทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคทวีความตึงเครียดมากขึ้น

จากสถานการณ์ที่ซับซ้อนในปัจจุบัน บรรดานักวิเคราะห์ได้แสดงความเห็นว่า การพิพาทในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนยากที่จะสามารถแก้ไขได้โดยเร็ว โดยเฉพาะเมื่อตรุกียืนกรานไม่ยอมประนีประนอม ในขณะที่ยุโรปยากที่จะสร้างแรงกดดันต่อตุรกีเมื่อทางการอังการากำลังถือไพ่ใบสำคัญคือ "ปัญหาผู้อพยพ" ในการเจรจาต่างๆกับสหภาพยุโรป./.

Feedback