เพื่อให้อาเซียนตามทันการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่4

Pham Ha- VOV
Chia sẻ

(VOVWORLD) -การประชุมฟอรั่มเศรษฐกิจโลกเกี่ยวกับอาเซียนปี2018หรือWEF 2018ภายใต้หัวข้อ “อาเซียน4.0 จิตใจของผู้ประกอบการและการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่4”ที่จัดโดยเวียดนามและฟอรั่มเศรษฐกิจโลกจะมีขึ้น ณ กรุงฮานอยในระหว่างวันที่11-13กันยายนนี้  ซึ่งเป็นหนึ่งในการประชุมใหญ่และสำคัญของฟอรั่มเศรษฐกิจโลกในภูมิภาค พร้อมทั้ง เป็นกิจกรรมด้านการต่างประเทศที่สำคัญของเวียดนามในปี2018  นี่เป็นโอกาสเพื่อให้ประเทศอาเซียนประเมินโอกาสและแก้ไขความท้าทายต่างๆเพื่อตามทันการพัฒนาในยุคดิจิตอล

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่4ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดและมีความคิดสร้างสรรค์กำลังส่งผลกระทบต่ออาเซียน รวมทั้ง แต่ละประเทศสมาชิก ซึ่งบังคับให้อาเซียนต้องปรับตัว เปลี่ยนแปลงใหม่และมีความคิดสร้างสรรค์

ใช้โอกาสเพื่อการพัฒนา

  สำหรับความได้เปรียบของอาเซียนในการปฏิวัติอุตสาหกรรม4.0 นาย บุ่ยแทงเซิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้ย้ำว่า “อาเซียนเป็นเศรษฐกิจรายใหญ่อันดับที่6ของโลก โดยมีประชากรกว่า630ล้านคน ซึ่งในนั้น มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำประมาณ260ล้านคน  อาเซียนมีความได้เปรียบและเป็นตลาดใหญ่เพื่อเปลี่ยนแปลงใหม่  ลงทุนเพื่อพัฒนารูปแบบการประกอบธุรกิจใหม่ นอกจากนี้  ยุคดิจิตอลและการเชื่อมโยงอัจฉริยะจะสร้างโอกาสให้แก่ประชาชนในการประกอบธุรกิจ Startup และมีความคิดสร้างสรรค์ บรรยากาศการเชื่อมโยงอัจฉริยะจะปฏิวัติการทำธุรกรรมและโลจิสติกส์ สร้างโอกาสใหญ่ให้แก่บรรดาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าร่วมห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาคและโลก”

นอกจากโอกาสการพัฒนาแล้ว  การปฏิวัติอุตสาหกรรม4.0ก็สร้างความท้าทายให้แก่ประเทศอาเซียน ซึ่งหนึ่งในความท้าทายใหญ่คือการปรับเปลี่ยนและการนำระบบอัตโนมัติมาใช้แทนแรงงาน โดยเฉพาะ ในหน่วยงานที่ใช้แรงงานเป็นจำนวนมากเนื่องจากผลกระทบจากการพัฒนาระบบอัตโนมัติ การปรับปรุงโครงสร้างแขนงอาชีพและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตและการประกอบธุรกิจ  ตามข้อมูลจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ  แรงงานร้อยละ50ของ5ประเทศสมาชิกอาเซียนได้แก่มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทยและเวียดนามกำลังต้องเผชิญความเสี่ยงเนื่องจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ในอีก2ทศวรรษที่จะถึง สำหรับความท้าทายต่างๆ นาย Ibnu Hadi เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำเวียดนามได้เผยว่า

“ผมคิดว่า ความท้าทายแรกต่อทั้งอินโดนีเซียและอาเซียนคือต้องมีการปรับตัวเข้ากับการปฏิวัติอุตสาหกรรม4.0อย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งบังคับให้รัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายของประเทศต่างๆต้องจัดทำนโยบายที่ถูกต้องเพื่อค้ำประกันให้กระบวนการถ่ายทอดดำเนินไปอย่างสะดวก ความท้าทายที่2คือ การศึกษาเพราะเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในทศวรรษใหม่ ต้องมีแหล่งบุคลาการที่มีทักษะความสามารถ  การปฏิวัติอุตสาหกรรม4.0เป็นสิ่งใหม่ในภูมิภาค ประเทศยุโรป สหรัฐและญี่ปุ่นได้มีก้าวเดินใหม่ ดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือต้องลดตามให้ทันการพัฒนา

แสวงหาแนวทางและมาตรการใหม่

  เพื่อตามให้ทันการปฏิวัติอุตสาหกรรม4.0 รัฐบาลและผู้ประกอบการอาเซียนต้องส่งเสริมการพึ่งพาตนเองและแสวงหาแนวทางและมาตรการใหม่เพื่อปรับตัวและพัฒนาในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่  หลายประเทศอาเซียนได้มียุทธศาสตร์ที่เป็นรูปธรรมเพื่อใช้โอกาสนี้ อย่างเช่น สิงคโปร์มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศอัจฉริยะ อินโดนีเซียมีนโยบายพัฒนาศูนย์บ่มสอนเทคโนโลยี   ไทยมีวิสัยทัศน์เทคโนโลยี4.0 ส่วนเวียดนามกำลังพยายามมุ่งสู่การขยายตัวอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานยกระดับคุณภาพของการขยายตัวและใช้โอกาสจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม4.0เพื่อเพิ่มผลผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันในห่วงโซ่คุณค่าโลก  นาย Tan Wei Min อัครราชทูตสถานทูตสิงคโปร์ประจำเวียดนามได้ให้ข้อสังเกตว่า “ในฐานะประธานอาเซียน สิงคโปร์เลือกหัวข้อคือ“พึ่งพาตนเอง”และ “ความสร้างสรรค์”เพื่อเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงความพยายามของอาเซียนในการปรับตัวเข้ากับเงื่อนไขใหม่ ผมคิดว่า พวกเราต้อง รู้จักใช้โอกาสและรับมือกับความท้าทายต่างๆ เพิ่มทักษะความสามารถให้แก่แหล่งบุคลากรของประเทศสมาชิก”

จากความท้าทายและโอกาสของการปฏิวัติอุตสาหกรรม4.0ต่ออาเซียน การประชุมฟอรั่มเศรษฐกิจโลกเกี่ยวกับอาเซียนปี2018ที่คาดว่า จะมีขึ้นในเดือนกันยายนนี้จะเป็นโอกาสเพื่อให้ประเทศต่างๆหารือ แลกเปลี่ยนบทเรียนและประสบการณ์ต่างๆเกี่ยวกับการใช้โอกาสและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม4.0.

Feedback