( VOVworld ) - วันที่ ๘ สิงหาคม สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีอายุครบ ๔๕ ปี นับเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับประเทศสมาชิกรวมทั้งเวียดนามด้วย ตลอด ๔๕ ปีที่ผ่านมา องค์การอาเซียนได้มีก้าวเดินที่เข้มแข็งในกระบวนการหลอมรวมเพื่อยืนยันว่า อาเซียนเป็นองค์กรของภุมิภาคที่ได้ประสบความสำเร็จในการมีส่วนร่วมรักษาบรรยากาศที่สันติภาพและความมั่นคงที่เอื้อให้แก่การพัฒนาภูมิภาคเอเชียและโลก
|
ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด ๑๐ ประเทศ
|
สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคมปี ๑๙๖๗ ณ กรุงเทพฯ ซึ่งขณะนั้นมีประเทศสมาชิกเพียง ๕ ประเทศในภูมิภาคที่เคยเกิดสงคราม การปะทะที่นองเลือดและความอดอยากล้าหลัง มาปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด ๑๐ ประเทศรวมตัวกันในนามสมาคม ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพของสมาคมและสถานการณ์ในภูมิภาค องค์กรอาเซียนที่มีประเทศสมาชิก ๑๐ ประเทศได้สร้างพลังที่เข้มแข็งและความเห็นตรงกันในการสร้างความสัมพันธ์ที่มิตรภาพ ความเข้าใจและเชื่อถือซึ่งกันและกัน ทำให้องค์กรนี้มีการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองอย่างก้าวกระโดด
ผลสำเร็จขององค์การอาเซียนตลอด ๔๕ ปีที่ผ่านมาคือการผ่านความเห็นชอบกฎบัตรของอาเซียน อันเป็นพื้นฐานให้แก่การปฏิบัติตามพันธกรณีเกี่ยวกับการสร้างประชาคมอาเซียนในปี ๒๐๑๕ โดยยึดเสาหลัก ๓ ประเด็นเป็นหลักได้แก่ ความมั่นคงและการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคม ในสถานการณ์โลกที่กำลังเป็นไปอย่างซับซ้อน บรรยากาศความมั่นคงกำลังถูกคุกคาม องค์การอาเซียนจำเป็นต้องมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ในการปฏิบัติตามพันธกรณีที่ได้ให้ไว้ ซึ่งเป็นกุญแจในการแก้ไขการพิพาทที่กำลังเกิดขึ้น นายฝ่ามบิ่งมิงห์ รัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนามยืนยันว่า “ ประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นพ้องกันที่จะผลักดันการดำเนินตามกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้เสร็จสมบูรณ์ในปี ๒๐๑๕ โดยเน้นในการสร้างความสามัคคี ความเข้มแข็งขององค์กร การดำเนินโครงการเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิกและการลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก ประเด็นที่สองคือ ควรขยายบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน การขยายโครงสร้างในภูมิภาคและส่งเสริมบทบาทของอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม ประเด็นที่สามคือ ขยายส่วนร่วมขององค์กรในการธำรงสันติภาพ ความมีเสถียรภาพในภูมิภาคพร้อมทั้งขยายกลไกปฏิบัติและหลักการที่มีอยู่ ซึ่งหมายถึงสนธิสัญญามิตรภาพความร่วมมือและแถลงการณ์เกี่ยวกับหลักการการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีเพื่อมุ่งสู่การร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือซีโอซี
|
การแลกเปลี่ยนการค้าระหว่างประเทศสมาชิก |
องค์การเอเซียนสามารถปฏิบัติเป้าหมายของตนจนประสบความสำเร็จบนพื้นฐานที่มีอยู่ ซึ่งพื้นฐานแรกคือเศรษฐกิจ โดยบรรดาผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า องค์การอาเซียนมีอัตราการพัฒนาเศรษฐกิจที่รวดเร็วเป็นอันดับ ๓ ของโลก รองจากจีนและอินเดีย แม้ว่าโลกกำลังประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจแต่อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของอาเซียนอยู่ที่ประมาณร้อยละ ๕.๗ – ๖.๔ ซึ่งได้ทำให้อาเซียนกลายเป็นตลาดหลักของโลกที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม อีกบทบาทอันโดดเด่นของอาเซียนคือ การริเริ่ม การจัดการประชุมนานาชาติประสบความสำเร็จและการมีบทบาทแกนนำในกลไกความร่วมมือที่สำคัญเช่น ฟอรั่มภูมิภาคเออาร์เอฟ การประชุมผู้นำประเทศอาเชียตะวันออกหรืออีเอเอส ฟอรั่มความร่วมมือระหว่างอาเชียกับยุโรปหรืออาเซ็มและฟอรั่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเชีย-แปซิฟิกหรือเอเปก
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ องค์การอาเซียนกำลังเผชิญกับการท้าทายต่างๆไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์การเมืองและความมั่นคงของบางประเทศสมาชิกมีสัญญาณแห่งความไม่สงบ อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีการพยากรณ์ว่าจะลดลงต่อไป ราคาอาหารและเชื้อเพลิงที่ถีบตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะองค์การอาเซียนยังต้องเผชิญกับความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งทำให้องค์กรนี้ต้องปรับปรุงตัวเองต่อไปเพื่อการพัฒนา นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนเห็นว่า “ ความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศสมาชิกเก่าและใหม่ ประเทศที่พัฒนากว่าและส่วนที่เหลือของอาเซียนเป็นการท้าทายอันยิ่งใหญ่ต่อพวกเรา พวกเราต้องพยายามและผลักดันความร่วมมือมากขึ้นเพราะปัจจุบันองค์การอาเซียนไม่เพียงแต่ต้องเผชิญกับการท้าทายที่มีอยู่แล้วเท่นนั้น แต่ยังต้องเผชิญกับการท้าทายอื่นๆไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ โรคระบาด แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ ซึ่งเป็นปัจจัยคุกคามต่อความยายามลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนา ”
|
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน
|
นอกจากนี้ การพิพาทเกี่ยวกับอธิปไตยทางทะเลที่เพิ่งเกิดขึ้นระหว่างบางประเทศสมาชิกอาเซียนก็เป็นทั้งความท้าทายในเส้นทางการพัฒนาของอาเซียนแต่ก็เป็นโอกาสให้องค์กรนี้ปรับตัวให้สมบูรณ์ ซึ่งมาตรการที่ประเทศสมาชิกกำลังปฏิบัติคือ การถือผลประโยชน์ของกลุ่มเหนือผลประโยชน์ของแต่ละชาติ การเห็นผลประโยชน์ร่วมกันจะเป็นกุญแจแก้ไขกำแพงกีดกันเพื่อมุ่งสู่องค์การอาเซียนที่สามัคคีและเป็นเอกภาพมากขึ้นในการเผชิญกับการท้าทายที่กำลังรออยู่ข้างหน้า สำหรับเวียดนาม ในฐานะเป็นประเทศสมาชิกที่มีความรับผิดชอบสูง เวียดนามกำลังมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันให้แก่กระบวนการสร้างสรรค์อาเซียนที่สามัคคีและเป็นเอกภาพ ในวาระต่อไปเวียดนามจะรับหน้าที่เป็นเลขาธิการของอาเซียน ซึ่งหมายความว่า ระยะพัฒนาต่อไปของอาเซียนจะมีส่วนร่วมของเวียดนามมากขึ้น โดยร่วมกับประเทศสมาชิกอื่นๆสร้างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้กลายเป็นภูมิภาคที่คล่องตัว พัฒนาอย่างยั่งยืน อันเป็นพื้นฐานที่มั่นคงแก่สันติภาพในภูมิภาคและโลก ./.