(VOVworld) – ในช่วงนี้ ประชามติทั้งในและต่างประเทศต่างแสดงความไม่พอใจต่อการกระทำของจีนที่ได้ละเมิดอธิปไตยของเวียดนามอย่างรุนแรงโดยได้ติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง๙๘๑ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนาม จีนไม่เพียงแต่ไม่ปฏิบัติตามอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี๑๙๘๒ที่ระบุชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิอำนาจของประเทศริมฝั่งทะเลเท่านั้นหากยังใช้ความรุนแรงบนทะเลและกล่าวหาเวียดนามว่ารุกล้ำน่านน้ำ ต่อไปนี้ขอเชิญท่านฟังบทวิเคราะห์เกี่ยวกับอธิปไตยทางดินแดนเมื่อมองผ่านกฎหมายสากล การแก้ไขการพิพาทดินแดนในโลกและหลักฐานทางประวัติศาสตร์และนิตินัยที่ไม่อาจปฏิเสธได้ของเวียดนามเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือเสปรตลีย์
|
นายเหงียนดิ่งเดิ่ว สมาชิกคณะกรรมการบริหารสมาคมประวัติศาสตร์เวียดนาม (Photo: VOV ) |
ก่อนอื่นต้องยืนยันว่า การแก้ไขปัญหาการพิพาทอธิปไตยด้านดินแดนตามหลักสากลได้รับการปฏิบัติอย่างกว้างขวางโดยอาศัยบนหลักการการถือกรรรมสิทธิและปฏิบัติอำนาจรัฐอย่างจริงจัง ต่อเนื่องและสันติ
การถือกรรรมสิทธิอย่างจริงจังเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดในการกำหนดอธิปไตย
หลักการการถือกรรรมสิทธิอย่างจริงจังถูกระบุในมติของการประชุมเบอร์ลินเกี่ยวกับทวีปแอฟริกาเมื่อปี๑๘๘๕ระหว่าง๑๓ประเทศยุโรปกับสหรัฐซึ่งตามนั้น ประเทศที่ได้รับการรับรองเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์เขตดินแดนใหม่ซึ่งนอกจากต้องเป็นผู้ค้นพบคนแรกแล้วยังต้องมีการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมคือ การแจ้งการถือกรรรมสิทธิให้แก่ประเทศที่ให้ภาคียานุวัติและระบบการปกครองในดินแดนนี้ เมื่อปี๑๘๘๘ สถาบันกฎหมายสากลLausanneได้ออกแถลงการณ์ยืนยันหลักการนี้ซึ่งทำให้หลักการนี้ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลกและได้รับการรับรองจากนานาประเทศ ปัจจุบัน บนโลกใบนี้ไม่มีเขตดินแดนที่ไม่มีผู้ถือครองกรรมสิทธิอีกแล้วแต่หลักการนี้ยังทรงคุณค่าและหน่วยงานต่างๆที่ใช้กฎหมายสากลก็นำแนวทางดังกล่าวมาประยุกต์ใช้
อาทิเช่น ในกรณีพิพาทหมู่เกาะMinquier และEcrehou ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสเมื่อปี๑๙๕๐ ศาลโลกได้ตัดสินให้อังกฤษเป็นผู้ชนะเพราะสามารถพิสูจน์อธิปไตยเหนือหมู่เกาะดังกล่าวที่ยาวนานมาหลายศตวรรษและได้ถือครองกรรมสิทธิ์หมู่เกาะแห่งนี้โดยตรง ส่วนสำหรับกรณีเกาะหินปะการังClipperton ที่อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากฝั่งทะเลเม็กซิโกไปทางทิศตะวันตก๕๐๐ไมล์ทะเล ชาวเม็กซิโกมาเกาะแห่งนี้ตั้งแต่ปี๑๘๙๒แต่ไม่ได้ถือครองกรรมสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง หลังสงครามโลกครั้งที่๒ ฝรั่งเศสได้มาติดตั้งสถานีอุตุนิยมวิทยาและใช้เกาะแห่งนี้อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่า เกาะนี้ห่างจากฝรั่งเศสกว่า๑หมื่นไมล์ทะเลแต่เมื่อเกิดการพิพาท ศาลโลกได้ตัดสินว่า เกาะนี้เป็นของฝรั่งเศสเพราะฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกที่ได้กำหนดอธิปไตยเหนือเกาะนี้
ส่วนสำหรับเวียดนาม เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออกมีชายฝั่งทะเลทอดยาวพร้อมกับเกาะ หมู่เกาะทั้งใกล้และไกลฝั่งนับพันแห่ง รวมทั้ง หมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือเสปรตลีย์ซึ่งเวียดนามเป็นประเทศแรกที่ค้นพบเข้าครอบครองและกำหนดอธิไตยเหนือหมู่เกาะสองแห่งนี้อย่างสันติและต่อเนื่องตั้งแต่ศควรรษที่๑๗มาจนถึงปัจจุบัน และเวียดนามไม่เคยยกเลิกอธิไตยของตนแม้ว่าหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลถูกจีนใช้ความรุนแรงเพื่อยึดครองอย่างผิดกฎหมายตั้งแต่ปี๑๙๗๔มาจนถึงปัจจุบัน
หลักฐานที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และนิตินัยสูงสุด
เวียดนามได้ครอบครองอย่างจริงจัง สันติและปฏิบัติอธิปไตยของตนเหนือหมู่เกาะสองแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง กษัตริย์ในสมัยราชวงค์เหงวียนได้จัดตั้งกองเรือหว่างซา และกองเรือบั๊กหายเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกระบุในเอกสารประวัติศาสตร์พร้อมกับการปักป้ายศิลาอธิปไตยอย่างต่อเนื่องในปี๑๘๑๖ ๑๘๓๔ ๑๘๓๕และ๑๘๓๖
หลักฐานทางประวัติศาสร์ที่ยืนยันอธิปไตยของเวียดนามเหนือหมู่เกาะสองแห่งนี้เป็นหลักฐานในระดับรัฐซึ่งเป็นระดับสูงสุด เอกสารอย่างเป็นทางการของรัฐเวียดนามในยุคต่างๆ เช่น หนังสือĐại Nam thực lực chinh bien คือหนังสือบันทึกเหตุการณ์ประจำปีเวียดนาม
Đại Nam Hội điển sử lệ หรือหนังสือชุดเกี่ยวกับองค์การและภารกิจของราชวงค์เหงียนหรือหนังสือชุดChâu bản triều Nguyễn หรือหนังสือราชการของราชวงค์เหงวียนและหนัองสือĐại Nam nhất thống chí คือหนังสือภูมิศาสตร์เวียดนามล้วนระบุอย่างชัดเจนและยืนยันว่า หมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลเป็นของเวียดนาม และปัจจุบันมีเพียงเวียดนามที่มีเอกสารเหล่านี้เท่านั้น
|
นิทรรศการแผนที่และเอกสารเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือน่านน้ำและเกาะแก่งของเวียดนาม |
นอกจากเอกสารภายในประเทศแล้ว การกำหนดอธิปไตยของเวียดนามเหนือหมู่เกาะสองแห่งนี้ยังถูกระบุในเอกสารประวัติศาสตร์ของประเทศจีนและประเทศตะวันตก สำหรับจีน การอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือเสปรตลีย์ไม่ตอบสนองความต้องการถือกรรมสิทธิอย่างสันติ จริงจังในนามรัฐโดยในทางภูมิศาสตร์ของจีนนั้นที่ระบุสถานที่นั้นไม่อาศัยจากปัจจัยทางประวัติศาสตร์แต่สำหรับจีนนั้น จนถึงปี๑๙๐๙ เท่านั้นไม่มีเอกสารต้นฉบับจึงมีคำเรียกร้องอธิปไตยเหนือซานซาหรือหมู่เกาะหว่างซาของเวียดนามหลังจากที่เวียดนามครอบครองหมู่เกาะแห่งนี้มานานแล้ว ที่น่าสนใจคือในหนังสือประวัติศาสตร์กว่า๒๔เล่มและหนังสือตำราเรียนประวัติศาสตร์ของจีนกว่า๒๐๐เล่มเมื่อก่อนนี้ไม่มีแผนที่และข้อความใดที่ระบุว่าหว่างซาเป็นของจีน
นอกจากนี้ จีนยังมีความขัดแย้งในเอกสารของตน เอกสารภูมิศาสตร์โบราณของจีนระบุว่า จุดดินแดนใต้สุดของจีนคือเกาะไหหลำซึ่งถูกระบุในหนังสือภูมิศาสตร์มณฑลจู๋งโจว์และกวางโจว์เมื่อปี๑๗๓๑ แผนที่จีนปี๑๘๙๔ และหนังสือตำราเรียนภูมิศาสตร์ของจีนปี๑๙๐๖
เวียดนามใช้ทุกหลักฐานและมาตรการที่สันติภาพเพื่อปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า เมื่อเทียบเปรียบกับกฎหมายสากลและการแก้ไขการพิพาทด้านอาณาเขตในโลก หรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จีนก็ไม่มีเหตุผลใดๆเพื่อเรียกร้องอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือเสปรลีย์
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เวียดนามกำลังทำคือ การปฏิบัติตามกรอบกฎหมายสากลและขณะนี้ เวียดนามกำลังมีก้าวเดินแรกในการปฏิบัติตามกฎหมายสากลนั่นคือเจรจา ใช้ทุกหลักฐานและมาตรการที่สันติภาพ รวมทั้งข้อกำหนดของกฎหมายสากลเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ประชามติที่ก้าวหน้าในโลก เพื่อให้การสนับสนุนการต่อสู้อันชอบธรรมของเวียดนามเพื่อสันติภาพของภุมิภาคและโลก./.