( VOVworld )-สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลีกำลังร้อนระอุทุกขณะเนื่องจากคำขู่ของทางการสองภาคเกาหลีและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ทำให้เกิดความวิตกกังวลจากกระแสประชามติว่า จะเกิดสงครามระหว่างสองภาคเกาหลีอีกครั้งเหมือที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ๖๐ ปีหรือไม่ ซึ่งก็เป็นประเด็นที่สื่อต่างประเทศให้ความสนใจเสนอข่าวตลอดระยะไม่กี่วันที่ผ่านมา
|
นายกิม จอง อึนลงนามในคำสั่งให้กองทัพนำจรวดพร้อมโจมตีทุกเมื่อ( รอยเตอร์ ) |
ทั้งนี้เห็นได้ชัดจากปฏิบัติการยั่วยุของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีหรือเกาหลีเหนือในช่วงที่ผ่านมา โดยเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคมที่ผ่านมาทางการเปียงยางได้ประกาศภาวะสงครามกับสาธารณรัฐเกาหลีหรือเกาหลีใต้ อีกทั้งย้ำว่า ปัญหาต่างๆระหว่างสองภาคเกาหลีต้องแก้ไขตามเงื่อนไขของภาวะสงคราม หลังจากนั้น ๑ วัน นาย กิม จอง อึน ผู้นำของเกาหลีเหนือได้กล่าวปราศรัยต่อที่ประชุมคณะกรรมการกลางพรรคแรงงานเกาหลีเต็มคณะโดยยืนยันว่า เปียงยางจำต้องยกระดับคลังอาวุธนิวเคลียร์ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพพร้อมๆกับการพัฒนาหน่วยงานพลังงานนิวเคลียร์เพื่อเพิ่มปริมาณไฟฟ้และปล่อยดาวเทียมอีกจำนวนมาก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลียังขู่จะโจมตีฐานทัพสหรัฐอเมริกา ใน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีเป็นเป้าหมายแรกหากสงครามเกิดขึ้นบนคาบสมุทรนี้ และเพื่อเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่คำขู่ดังกล่าว นายกิม จอง อึน ได้สั่งให้หน่วยจรวดเตรียมโจมตีใส่ฐานทัพของสหรัฐอเมริกา ใน สาธารณรัฐเกาหลีและแปซิฟิกหลังจากที่เพนตาก้อนส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดล่องหนบี-๒พร้อมอาวุธนิวเคลียร์ยังไปคาบสมุทรเกาหลี ในขณะเดียวกัน แหล่งข่าวทหารสาธารณรัฐเกาหลีได้เผยว่า ณ สถานยิงจรวดของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีได้ปรากฎคนและรถทหารเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทั่วสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเต็มไปด้วยบรรยากาศพร้อมสู้รบด้วยรถทหารที่ได้รับการตบแต่งด้วยลายพราง และโพสเตอร์เรียกร้องปราบจักรวรรดินิยมอเมริกาและปลุกระดมประชาชนต่อสู้ด้วยอาวุธหากมิใช่วาจา ส่วนทำเนียบขาวได้แสดงความเห็นว่า คำขู่ล่าสุดของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีมีความรุนแรงอย่างยิ่งและวอชิงตันจะติดต่อกับพันธมิตรสาธารณรัฐเกาหลีอย่างใกล้ชิดเพื่อเฝ้าติดตามทุกปฏิบัติการของเปียงยาง อีกทั้งกล่าวหาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีว่า เป็นต้นเหตุของความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีที่นับวันรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้และทั้งนั้นได้สร้างความกังวลให้แก่หลายประเทศว่า สงครามกำลังใกล้เข้ามาทุกขณะ โดยประเทศไทยและฟิลินปปินส์ได้วางแผนอพยพประชาชนของตนออกจากสาธารณรัฐเกาหลีแล้ว
|
กองทัพสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีตั้งอยู่ในความพร้อม ( เคซีเอ็นเอ ) |
แม้จังหวะแห่งสงครามกำลังถี่ขึ้น แต่มีความคิดเห็นว่ายากที่จะเกิดสงครามเต็มรูปแบบได้ โดยให้เหตุผลว่า หากสงครามเกิดขึ้นจะส่งผลเสียหายอย่างหนักต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นให้ความสนใจต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อีกสาเหตุคือ เปียงยางกำลังเรียกความสนใจจากกระแสประชามติด้วยคำขู่ที่มีลักษณะยั่วยุต่างๆเพื่อก่อแรงกดดันให้สหรัฐกลับมานั่งเจรจา ก่อแรงกดดันต่อประธานาธิบดีคนใหม่ของสาธารณรัฐเกาหลีเพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายต่อเปียงยาง พร้อมทั้งเสริมสร้างความสามัคคีภายในประเทศโดยเฉพาะระดมประชาชนสนับสนุนผู้นำคนใหม่นาย กิม จอง อึน มีสาเหตุที่เห็นชัดว่า ไม่อาจเกิดสงครามเต็มรูปแบบคือ เปียงยางเพิ่งแต่งตั้งนาย ปาค ปอง-จู ซึ่งเป็นผู้ที่ถือว่ามีหัวก้าวหน้าดำรงตำแหน่งนายกฯ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บรรดาผู้นำของเกาหลีเหนือให้ความสนใจต่อการเปลี่ยนแปลงประเทศและปฏิรูปเศรษฐกิจ และเมื่อเร็วๆนี้นาย กิม จอง อึน ได้กล่าวต่อที่ประชุมพรรคแรงงานเกาหลีเต็มคณะเกี่ยวกับแนวทางยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อพัฒนาประเทศ โดยระบุชัดว่า จะสร้างสรรค์เศรษฐกิจพร้อมๆกับการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ อาจกล่าวได้ว่า ในอนาคตอันใกล้ๆนี้ เปียงยางยังไม่มีแผนการโจมตีทางทหารต่อสหรัฐและสาธารณรัฐเกาหลี ในช่วงนี้ ณ กรุงเปียงยางมีภาพที่ตรงข้ามกัน โดยในขณะที่จัตุรัสกิม อิง ซุง ทหาร นักศึกษาและกรรมกรนับร้อยคนชูกำปั้น แสดงความสนับสนุนต่อจอมพลกิม จอง อึน แต่ในอีกด้านร้านค้า นิคมอุตสาหกรรมและโรงงานยังคงดำเนินกิจการเป็นปกติและดูเหมือว่า ประชาชนเคยชินกับคำประกาศสงครามในลักษณะดังกล่าวแล้ว ชาวสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีคนหนึ่งที่อยู่ในบริเวณชายแดนเผยว่า ความตึงเครียดระหว่างสองภาคเกาหลีบานปลายทุกๆช่วงเวลาที่สหรัฐและสาธารณรัฐเกาหลีทำการซ้อมรบ แต่สถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติเมื่อการซ้อมรบเสร็จสิ้นลงและสถานการณ์จะกลายเป็นอดีตอย่างรวดเร็ว และเขาหวังว่าคราวนี้ก็คงจะเป็นไปในลักษณะนี้เช่นกัน
|
เตาปฏิกรนิวเคลียร์ยองบียอนเดินเครื่องต่อไป |
ข้อตกลงหยุดยิงระหว่างสองภาคเกาหลีจะครบรอบ ๖๐ ปีในเดือนกรกฏาคมนี้ ซึ่งเป็นการยุติสงครามนองเลือดมาเป็นเวลา ๓ ปีที่ได้คร่าชีวิตกว่า ๓ ล้านคน ภายหลัง ๖๐ ปี สาธารณรัฐเกาหลีได้พัฒนาจากประเทศเกษตรกรรมที่ยากจนเป็นเศรษฐกิจพัฒนาของโลก ในขณะที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลียังคงต้องดิ้นรนเพื่อแสวงหาลู่ทางพัฒนาประเทศหลังสงคราม โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรอยู่ในระดับต่ำเท่ากับเขตใกล้ซาฮาราในแอฟริกา ทั้งนี้และทั้งนั้น เปียงยางต้องการการปฏิรูปเปิดประเทศยิ่งกว่าเวลาใดทั้งหมด แต่จนถึงขณะนี้มาตรการปิดล้อมของสหรัฐและประเทศตะวันตกยังไม่สามารถกีดขวางเปียงยางพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ได้ และสันติภาพบนคาบสมุทรเกาหลียังอยู่ไกลเอื้อมหากฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องยังใช้มาตรการแสดงแสนยานุภาพทางทหารแทนการเจรจา ./.